| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 157 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 17-10-2557    อ่าน 1335
 คมนาคมหาทางลัดผุดเมกะโปรเจ็กต์2แสนล. ประมูลเทิร์นคีย์เร่งมอเตอร์เวย์ไปโคราช-รถไฟฟ้า2สี

คมนาคม เร่งเครื่องลงทุนเมกะโปรเจ็กต์ เล็งดึงเอกชนประมูลเทิร์นคีย์เฉียด 2 แสนล้านบาท นำร่องมอเตอร์เวย์ "บางปะอิน-โคราช" 84,600 ล้านบาท รถไฟฟ้าโมโนเรล 2 สี "ชมพู-เหลือง" ร่วม 1.14 แสนล้าน ลัดคิวเปิดเคาะราคาเร็วขึ้นหลังงบประมาณมีจำกัด แหล่งเงินก่อสร้างยังไม่ชัดเจน

นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ขณะนี้ให้กรมทางหลวง (ทล.) ไปพิจารณารูปแบบลงทุนก่อสร้างโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหรือมอเตอร์ เวย์สายที่พร้อมดำเนินการด้วยวิธีการจ้างเหมาเบ็ดเสร็จหรือเทิร์นคีย์ โดยให้เอกชนก่อสร้างก่อนแล้วรัฐบาลผ่อนชำระคืนภายหลังพร้อมดอกเบี้ย

"มอเตอร์ เวย์ใช้เงินลงทุนค่อนข้างสูงจะต้องให้เอกชนเข้ามาช่วยลงทุนเพื่อให้โครงการ เกิดขึ้นได้เร็วขึ้น เนื่องจากงบประมาณภาครัฐมีจำกัด ต้องหารูปแบบวิธีการอื่น ๆ มาเป็นทางเลือกเพิ่ม" นางสร้อยทิพย์กล่าว

ประมูลเทิร์นคีย์มอเตอร์เวย์

นาย ชูศักดิ์ เกวี อธิบดีกรมทางหลวง กล่าวเพิ่มเติมว่า แนวคิดปลัดกระทรวงคมนาคมตรงกับแนวคิดของตนที่จะนำระบบเทิร์นคีย์มาลงทุนก่อ สร้างมอเตอร์เวย์ โดยนำร่องสายบางปะอิน-สระบุรี-นครราชสีมา ระยะทาง 196 กิโลเมตร เงินลงทุน 84,600 ล้านบาท แยกเป็นค่าเวนคืนที่ดิน 6,600 ล้านบาท ค่าก่อสร้าง 77,000 ล้านบาท เนื่องจากมีความพร้อมทั้งแบบรายละเอียดโครงการและ พ.ร.ฎ.เวนคืนที่ดินที่ได้มีการออกประกาศบังคับใช้และเริ่มสำรวจพื้นที่จริง เพื่อสรุปยอดผู้ที่ถูกเวนคืนแล้ว

ทั้งนี้ หากได้รับการอนุมัติจากกระทรวงคมนาคมและคณะรัฐมนตรี (ครม.) สามารถเปิดประมูลก่อสร้างได้ทันที คาดว่าใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 4 ปี ส่วนการเก็บค่าผ่านทาง กรมทางหลวงจะเป็นผู้จัดเก็บเองเหมือนกับมอเตอร์เวย์สายกรุงเทพฯ-ชลบุรี และถนนวงแหวนรอบนอก ซึ่งก่อนหน้านี้กรมเคยดำเนินการรูปแบบนี้มาแล้วกับโครงการวงแหวนด้านใต้ เมื่อหลายปีก่อน

"รูปแบบเทิร์นคีย์ที่กรมเสนอจะไม่ใช่เทิร์น คีย์ 100% ซึ่งเป็นรูปแบบที่เอกชนจะต้องออกแบบและก่อสร้างไปพร้อมกัน โดยกรมใช้แบบก่อสร้างที่ออกแบบเสร็จแล้วแต่จัดจ้างเอกชนก่อสร้าง โดยเอกชนเป็นผู้หาแหล่งเงินมาลงทุนก่อสร้างให้ จากนั้นกรมจะชำระคืนภายหลัง วิธีนี้ทำให้การก่อสร้างโครงการรวดเร็วขึ้นเมื่อเทียบกับการให้เอกชนเข้ามา ร่วมลงทุนตาม พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ ในรูปแบบ PPP เพราะต้องใช้เวลาอย่างน้อย 1 ปีกว่าจะได้ตัวเอกชนมาดำเนินการก่อสร้าง"

นายชูศักดิ์กล่าว อีกว่า สำหรับการประมูลก่อสร้างเพื่อให้รวดเร็วขึ้น จึงมีความเป็นไปได้สูงที่จะแบ่งการก่อสร้างออกเป็นหลายสัญญา อีกทั้งเป็นการกระจายงานก่อสร้างให้มีผู้รับเหมาหลายสัญญา ทำให้เกิดการแข่งขันมากขึ้นบิ๊กจินแบไต๋ใช้กับรถไฟฟ้า

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า นอกจากกระทรวงมีนโยบายจะใช้รูปแบบเทิร์นคีย์มาก่อสร้างมอเตอร์เวย์แล้ว ล่าสุด พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้เปรยในที่ประชุมเชิงปฏิบัติการ (เวิร์กช็อป) ด้านคมนาคมขนส่งทางบก ให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) พิจารณาถึงความเป็นไปได้นำรูปแบบวิธีก่อสร้างแบบเทิร์นคีย์มาใช้กับรถไฟฟ้า 2 สายทาง เงินลงทุนรวม 114,250 ล้านบาท ได้แก่ สายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) 36 กิโลเมตร ลงทุน 58,264 ล้านบาท สายสีเหลือง (ลาดพร้าว-พัฒนาการ-สำโรง) 30.4 กิโลเมตร 55,986 ล้านบาท

โดยผู้รับเหมาก่อสร้าง คนออกแบบ และผู้ผลิตรถไฟฟ้าเป็นกลุ่มเดียวกัน เพื่อให้การก่อสร้างรวดเร็วขึ้น เนื่องจากทั้ง 2 โครงการนี้เป็นระบบโมโนเรลหรือรถไฟฟ้าขนาดเบา โดยงานโยธากับจัดหาระบบรถจะต้องสอดรับกัน

"รถไฟฟ้า 2 สายนี้รัฐบาลพยายามเร่งรัดการลงทุน แต่งบประมาณปี 2558 ได้แค่ค่าสำรวจอสังหาริมทรัพย์เพื่อเวนคืนที่ดินเท่านั้น ยังไม่มีวงเงินมาให้ จำเป็นต้องหาวิธีการที่จะทำให้การก่อสร้างเกิดขึ้นได้เร็วขึ้น รูปแบบเทิร์นคีย์ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งเพราะเอกชนที่เข้าประมูลจะต้องหา เงินมาก่อสร้างให้ จะทำให้โครงการเดินหน้าได้เร็วขึ้น ซึ่งทั้ง 2 สายนี้ได้ปรับแผนเปิดให้บริการจากเดิมในปี 2562 เป็นปี 2563"

นายรณ ชิต แย้มสอาด รองผู้ว่าการฝ่ายปฎิบัติการและรักษาการผู้ว่าการ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กล่าวว่า เรื่องนี้เป็นเพียงแนวคิด ยังไม่ได้มีนโยบายชัดเจน ก่อนหน้านี้คณะกรรมการ (บอร์ด) รฟม.ให้ดำเนินการในรูปแบบที่รัฐดำเนินการเองหรือ PSC (Public Sector Comparator) คือให้ รฟม.ลงทุนงานโยธา ระบบรถไฟฟ้า จัดหาขบวนรถไฟฟ้าเองทั้งหมด โดยระบบรถไฟฟ้าทั้งสายสีชมพู และสีเหลืองให้เป็นระบบเดียวกัน และให้ รฟม.บูรณาการบริหารจัดการก่อสร้างทั้งโครงสร้างงานโยธา งานระบบรถไฟฟ้า งานเดินรถและบำรุงรักษาทั้งระบบไส้ในรถไฟฟ้าเหลือง-ชมพู

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า สำหรับเงินลงทุนรถไฟฟ้าสายสีชมพู 58,264 ล้านบาท แยกเป็น ค่าเวนคืนที่ดิน 6,847 ล้านบาท ค่างานโยธา 16,772 ล้านบาท ศูนย์ซ่อมบำรุงและอาคารจอดแล้วจร 3,310 ล้านบาท งานลิฟต์และบันไดเลื่อน 1,306 ล้านบาท ระบบตรวจตั๋วอัตโนมัติ 1,448 ล้านบาท ระบบรถไฟฟ้า 13,830 ล้านบาท ค่าขบวนรถไฟฟ้า 6,568 ล้านบาท ค่าที่ปรึกษาโครงการ 1,566 ล้านบาท และค่าเผื่อเหลือเผื่อขาด 6,617 ล้านบาท

ส่วนสายสีเหลือง เงินลงทุน 55,986 ล้านบาท แยกเป็น ค่าเวนคืนที่ดิน 6,013 ล้านบาท ออกแบบรายละเอียดงานโยธา 286 ล้านบาท ก่อสร้างงานโยธา 16,496 ล้านบาท ศูนย์ซ่อมบำรุง 4,561 ล้านบาท ระบบรถไฟฟ้า 12,552 ล้านบาท ขบวนรถไฟฟ้า 6,439 ล้านบาท งานลิฟต์และบันไดเลื่อน 1,258 ล้านบาท ระบบตรวจตั๋วอัตโนมัติ 738 ล้านบาท ค่าที่ปรึกษาโครงการ 1,479 ล้านบาท และค่าเผื่อเหลือเผื่อขาด 6,164 ล้านบาท
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 17-10-2557 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.