| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 283 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 08-10-2557    อ่าน 1418
 อสังหาเฮ"สผ."แก้โจทย์สิ่งแวดล้อม ปล่อยผี"อีไอเอ"500คอนโดโลว์ไรส์

สผ.ให้ อำนาจ กทม.-7 จังหวัดไฟเขียวอีไอเอคอนโดฯโลว์ไรส์ 8 ชั้น ไม่เกินหมื่นตร.ม.บ้านจัดสรร 500 แปลง หรือเกิน 100 ไร่ขึ้น หวังลดงานค้างได้ 50% จากปีละ 600 โครงการ "สมาคมอาคารชุดฯ-แอล.พี.เอ็น.ฯ" ขานรับ แต่ห่วงมาตรฐานพิจารณาไม่เหมือนกัน

ดร.เกษมสันต์ จิณณวาโส เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม (สผ.) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า จากนโยบาย สผ.ที่ต้องการกระจายอำนาจการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่ง แวดล้อม (รายงาอีไอเอ) ให้กับท้องถิ่น โดยปัจจุบัน สผ.มีรายงานอีไอเออีกประมาณ 200 โครงการ อยู่ในคิวรอการพิจารณา ส่งผลให้เกิดปัญหางานกระจุกตัวที่ส่วนกลาง ล่าสุดเมื่อ 25 กันยายนที่ผ่านมา ที่ประชุมคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติมีมติให้ สผ.กระจายอำนาจพิจารณารายงานอีไอเอ สำหรับโครงการอาคารชุดพักอาศัยแบบโลว์ไรส์ที่สูงไม่เกิน 8 ชั้น หรือ 23 เมตร และมีพื้นที่อาคารไม่เกิน 1 หมื่นตารางเมตร และโครงการจัดสรรตั้งแต่ 500 แปลง หรือเกินกว่า 100 ไร่ขึ้นไป

นำร่องกรุงเทพฯ-7 จังหวัด

โดย นำร่องพื้นที่กรุงเทพฯและภูมิภาคอีก 7 จังหวัด ได้แก่ ชลบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สุราษฎร์ธานี กระบี่ พังงา และภูเก็ต จะให้ทางจังหวัดเป็นผู้อนุมัติเอง ซึ่งคัดเลือกจากจังหวัดที่มีโครงการขออนุญาตก่อสร้างจำนวนมากและเป็นจังหวัด ที่มีความพร้อมก่อน

"ปีที่ผ่านมาเฉพาะโครงการคอนโดมิเนียมมีการ พิจารณารายงานอีไอเอจากทั่วประเทศทั้งปี 500-600 โครงการ มีเรื่องเข้าที่ประชุมต่อปีประมาณ 1 พันครั้ง เพราะผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์หันมาพัฒนาคอนโดฯแนวรถไฟฟ้าเพิ่มขึ้นตาม กระแสความนิยม บางโครงการไม่ผ่านรอบแรกก็ต้องกลับไปแก้ไขใหม่ และส่งเข้ามาพิจารณารอบที่ 2 ทำให้รายงานจากทั่วประเทศมากระจุกตัวเป็นคอขวดอยู่ที่ สผ."

ดร.เกษมสันต์ กล่าวต่อว่า เมื่อกระจายอำนาจปริมาณว่าจำนวนรายงานที่จะต้องพิจารณาต่อปีจะลดลงครึ่ง หนึ่งเหลือปีละ 250-300 โครงการ ต่อไปการพิจารณารายงานจะเร็วขึ้นไม่ต้องรอคิวนาน จากเดิมต้องรอคิวเอาเรื่องเข้าที่ประชุม 25-30 วัน น่าจะลดลงเหลือ 7-10 วัน โดยเฉพาะโครงการใน 7 จังหวัดนำร่อง จะไม่ต้องมาต่อคิวรอพิจารณาร่วมกับโครงการในกรุงเทพฯ เพราะต่อไป สผ.จะทำหน้าที่เฉพาะตรวจรายงานและให้ความเห็นเบื้องต้นเท่านั้น ส่วนขั้นตอนการพิจารณารายงานอีไอเอว่าจะอนุมัติหรือไม่จะส่งให้จังหวัดเป็นผู้ดำเนินการ คาดว่าจะเริ่มได้ภายในเดือนตุลาคม-พฤศจิกายนนี้ โดยขอให้ทางทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมจังหวัดเป็นผู้ประสานงานกับผู้ว่าราชการ จังหวัด ซึ่งมีสถานะเป็นประธาน คชก. จากนั้น สผ.จะนัดหมายเชิญผู้แทนแต่ละจังหวัดมารับฟังสรุปเพื่อชี้แจงทำความเข้าใจ ขั้นตอนและแนวทางการพิจารณารายงานอีไอเอ

เตรียมเพิ่มพื้นที่กระจายอำนาจ

ทั้ง นี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดจะต้องแต่งตั้ง คชก.ประจำจังหวัดสาขาต่าง ๆ รวม 8 คน เช่น ด้านผังเมือง ที่ดิน สถาปัตย์ ฯลฯ เพื่อทำหน้าที่พิจารณารายงานอีไอเอ ซึ่งอาจมาจากหน่วยงานราชการและนักวิชาการ โดยให้เสนอรายชื่อมาที่ สผ.เพื่อนำเสนอคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติเป็นผู้แต่งตั้ง ส่วนหลักเกณฑ์การพิจารณารายงานเชื่อว่าจะไม่เป็นปัญหา เนื่องจากได้จัดทำเป็นคู่มือหลักปฏิบัติ (Code of Practice) ให้ทางจังหวัดยึดเป็นแนวทางพิจารณา

"สผ.มีนโยบายขยายผลการกระจาย อำนาจให้กับจังหวัดอื่น ๆ เพิ่มเติม โดยขณะนี้มีจังหวัดที่มีความพร้อมได้หารือเข้ามาและอยู่ระหว่างพิจารณา โดยเฉพาะจังหวัดที่เป็นศูนย์กลางการค้าการลงทุนในแต่ละภูมิภาค อาทิจังหวัดเชียงใหม่ นครราชสีมา ขอนแก่น อุดรธานีสงขลา ฯลฯ ส่วนการอนุมัติจะขึ้นอยู่กับคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติที่มีนายก รัฐมนตรีเป็นประธาน หรืออาจมอบหมายให้รองนายกฯทำหน้าที่แทน"

ดร.เกษมสันต์ กล่าวด้วยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมยังมีมติต่ออายุประกาศพื้นที่คุ้มครองสิ่ง แวดล้อมในจังหวัดพังงา และกระบี่ออกไปอีก 5 ปีนับจากปัจจุบัน ซึ่งจะมีผลต่อการควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อรักษาสภาพแวดล้อมทาง ธรรมชาติ และไม่ให้กระทบกระเทือนต่อระบบนิเวศทางธรรมชาติ การกำหนดประเภทและขนาดโครงการที่เข้าข่ายต้องทำรายงานอีไอเอ การกำหนดมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ ตามที่เห็นสมควร

อสังหาฯห่วงมาตรฐานพิจารณา

นาย ประเสริฐ แต่ดุลยสาธิต นายกสมาคมอาคารชุดไทย เปิดเผยว่า เป็นเรื่องดีที่ สผ.กระจายอำนาจการพิจารณารายงานอีไอเอให้ กทม.และอีก 7 จังหวัด ซึ่งเป็นสิ่งที่สมาคมเคยเสนอเพื่อแก้ไขปัญหา สผ.มีงานล้นมือ

ทั้ง นี้หลังจาก ดร.เกษมสันต์กลับมาเป็นเลขาฯ สผ.อีกครั้ง พบว่าช่วง 1-2 เดือนที่ผ่านมา การพิจารณารายงานอีไอเอเร็วขึ้น อย่างไรก็ตามมีข้อเสนอว่าให้ปรับเกณฑ์การพิจารณาบางเรื่องที่อาจจะไม่มี ประโยชน์ในทางปฏิบัติ เช่น การกำหนดตำแหน่งบันไดหนีไฟต้องอยู่ข้างลิฟต์, การกำหนดตำแหน่งบ่อบำบัดน้ำเสียต้องอยู่ใต้อาคาร ฯลฯ

นายโอภาส ศรีพยัคฆ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า หาก สผ.กระจายอำนาจการพิจารณารายงานอีไอเอ น่าจะทำให้การอนุมัติรายงานเร็วขึ้น จากปัจจุบันหากรวมกับเวลาที่บริษัทที่ปรึกษาทำรายงานด้วย จะใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 6-8 เดือน หากลดลงเหลือ 3-4 เดือนได้จะเป็นผลดี

อย่าง ไรก็ตามเป็นห่วงเรื่องเกณฑ์การพิจารณารายงานของ คชก.ที่จะจัดตั้งขึ้นใหม่ เพราะสิ่งที่ผู้ประกอบการเรียกร้องมาตลอดคือลดการใช้ดุลยพินิจในการพิจารณา และมีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจน โดยปัญหาอุปสรรคอย่างหนึ่งที่ทำให้รายงานไม่ได้รับการอนุมัติคือ คชก.มีเกณฑ์การพิจารณาใหม่ ๆ ออกมาเพิ่มเติม

แหล่งข่าวจากบริษัท พัฒนาที่ดินรายหนึ่งเปิดเผยเพิ่มเติมว่า ความเสี่ยงของโครงการที่ขอรายงานอีไอเอคือมีกฎเกณฑ์ใหม่เพิ่มขึ้นมาเรื่อย ๆ ล่าสุดโครงการของบริษัทไม่ผ่านอีไอเอเพราะให้กลับมาทำแผนติดตั้งสัญญาณดิจิ ทัลที่ช่องจอดรถในอาคารทุกช่อง เพื่อเป็นสัญลักษณ์ว่าที่จอดรถว่างหรือเต็ม ซึ่งสงสัยว่าเกี่ยวข้องกับเรื่องผลกระทบสิ่งแวดล้อมอย่างไร
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 08-10-2557 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.