| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 319 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 07-10-2557    อ่าน 1369
 สารพัดโปรเจ็กต์บูมทำเลบางซื่อ-พหลโยธิน ร.ฟ.ท.ดึงเอกชนลงขัน′คอมเพล็กซ์′ยักษ์

บอร์ดรถไฟชะลอพัฒนาที่ดิน "มักกะสัน-กม.11-แม่น้ำ" หลังติดรื้อย้ายโรงงาน-ผู้บุกรุก งัดที่ว่างรอบสถานีกลางบางซื่อ 218 ไร่ ขึ้นคอมเพล็กซ์ยักษ์ ศูนย์การค้า โรงแรม สำนักงาน ร้านค้า มูลค่ากว่า 1 แสนล้าน รับรถไฟสีแดง "บางซื่อ-รังสิต" ดึงเอกชนร่วมลงทุน 30-50 ปี



นายออมสิน ชีวะพฤกษ์ ประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ให้ ร.ฟ.ท.ศึกษารายละเอียดการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์รอบสถานีกลางบางซื่อ อยู่ในแนวรถไฟสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต ซึ่งย่านบางซื่อมีพื้นที่ 1,000 ไร่ แต่จะนำมาพัฒนา 218 ไร่ เพื่อเร่งเพิ่มรายได้ให้กับร.ฟ.ท.ได้มากขึ้น จากปัจจุบันมีรายได้จากการพัฒนาที่ดินเฉลี่ย 1,500 ล้านบาทต่อปี

หารือคลังดึงเอกชนลงทุน 30 ปี

"วันที่ 9 ต.ค.นี้จะหารือสำนักคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ หรือ สคร.ถึงรูปแบบการพัฒนาจะให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนรูปแบบไหน เช่น PPP หรือเช่าจัดหาประโยชน์ระยะยาว 30 ปี"

ทั้งนี้ การที่มีนโยบายให้ ร.ฟ.ท.เร่งนำพื้นที่ย่านบางซื่อมาพัฒนาก่อน เนื่องจากไม่มีการโยกย้ายชุมชน ขณะที่ที่ดินแปลงใหญ่ 3 ทำเล ซึ่งคาดว่าจะสร้างรายได้ให้ ร.ฟ.ท.ในระยะยาวร่วม 1 แสนล้านบาท การพัฒนาอาจจะเกิดได้ยาก เพราะพื้นที่ยังมีผู้บุกรุกอยู่จำนวนมาก ซึ่งย่านมักกะสัน พื้นที่ 497.1 ไร่ ติดเรื่องย้ายโรงงานช่างกล สถานีแม่น้ำ 277 ไร่ ติดชุมชนที่ยังไม่ยอมย้ายออก และบริเวณ กม.11 พื้นที่ 359 ไร่ จะติดรื้อย้ายบ้านพักพนักงาน ร.ฟ.ท.ซึ่งทั้ง 3 แปลงต้องใช้เวลากว่าจะเคลียร์พื้นที่และนำมาพัฒนาได้

"ย่านบางซื่อและพหลโยธินมีพื้นที่ 2,325 ไร่ ที่ผ่านมารถไฟนำมาพัฒนาแล้ว 39 แปลง แต่เก็บรายได้ค่าเช่ายังไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย จึงคิดว่าจะนำพื้นที่รอบสถานีกลางบางซื่อของสายสีแดงที่จะเสร็จในปีླྀ มาพัฒนาเหมือนกับโมเดลของประเทศญี่ปุ่น" นายออมสินกล่าวและว่า

แบ่งพัฒนา 3 โซน 218 ไร่

สำหรับพื้นที่ 218 ไร่ จะแยกการพัฒนาเป็น 3 โซน (ดูกราฟิก) คือ 1.โซนเอ พื้นที่ 35 ไร่ 2.โซนบี พื้นที่ 78 ไร่ และ 3.โซนซีพื้นที่ 105 ไร่ อยู่ด้านเหนือของสถานี ปัจจุบันเป็นที่ตั้งสถานีขนส่งหมอชิตที่ให้บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) และอู่รถเมล์ขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ซึ่งหมดสัญญาเช่าเแล้ว

"คอนเซ็ปต์การพัฒนาจะเป็นศูนย์กลางพาณิชยกรรมครบวงจร มีศูนย์การค้า ร้านค้า สำนักงาน และโรงแรม ที่เป็นจุดศูนย์รวมนัดพบของคน เพราะที่นี่เป็นชุมทางของการเดินทางของคนทุกภาค ไม่ว่าจะไปเหนือ ใต้ หรืออีสาน สถานีกลางบางซื่อในอนาคตจะเป็นศูนย์กลางของการเดินทาง มีทั้งรถไฟชานเมืองรถไฟ ทางไกล รถไฟฟ้า รถ บขส. รถเมล์ ทั้งโครงการจะใช้เงินลงทุนไม่น้อยกว่า 1 แสนบ้านบาท จะให้เอกชนร่วมลงทุนระยะยาว 30 ปี 40 ปี 50 ปี อยู่ที่ข้อเสนอของเอกชน ซึ่งรถไฟไม่ต้องลงทุนแค่นำที่ดินให้เอกชนลงทุน"

ขุดอุโมงค์-พลาซาใต้ดินแสนล.

นายวิจิตต์ นิมิตรวานิช ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาระบบขนส่งและจราจร (สพร.) สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยว่า สนข.ได้ศึกษาความเหมาะสมโครงการเชื่อมโยงการเดินทางศูนย์คมนาคมย่านพหลโยธินเสร็จเรียบร้อยแล้ว เพื่อให้การเชื่อมต่อการเดินทางบริเวณย่านพหลโยธิน พื้นที่ 2,325 ไร่ มีการเชื่อมโยงและรองรับกับการเปิดใช้รถไฟฟ้า 4 สายทาง ได้แก่ สายสีแดง (บางซื่อ-รังสิต) ในปี 2560 สายสีน้ำเงิน (บางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแค) ในปี 2560 สายสีม่วง (บางซื่อ-บางใหญ่) ในปี 2559 และสายต่อขยายแอร์พอร์ตลิงก์ (พญาไท-ดอนเมือง) คาดว่าจะมีคนเดินทางเข้า-ออกย่านบางซื่อ 297,844 เที่ยวคน/วัน จากปัจจุบันอยู่ที่ 2 แสนเที่ยวคน/วัน

โดยจะให้เอกชนมาลงทุน 30 ปี ทั้งระบบโครงข่ายคมนาคมที่จะเชื่อมการเดินทางภายในโครงการ คือระบบรถโดยสารด่วนพิเศษ (บีอาร์ที) และอุโมงค์ทางเดินใต้ดิน เชื่อมการเดินทางภายในพื้นที่กับสถานีกลางบางซื่อ เป็นรูปแบบทางเดินอุโมงค์ใต้ดิน 3 ชั้น ระยะทาง 1.5 กิโลเมตร บนพื้นที่ 127 ไร่ เชื่อม 3 สถานี คือสถานีกลางบางซื่อ รถไฟฟ้าใต้ดินที่สถานีกำแพงเพชร รถไฟฟ้าบีทีเอสและรถไฟฟ้าใต้ดินสถานีจตุจักร พร้อมพัฒนาเป็นพื้นที่พลาซาจะพัฒนาเป็นแหล่งช็อปปิ้ง เอ็นเตอร์เทนเมนต์และที่จอดรถใต้ดิน

"ทั้งโครงการ 30 ปี มีมูลค่าการลงทุน 169,400 ล้านบาท ปีแรกจะใช้เงินลงทุน 6.3 หมื่นล้านบาท เป็นค่าลงทุนระบบบีอาร์ที 10.3 กิโลเมตร ประมาณ 8,297 ล้านบาท และค่าก่อสร้างอุโมงค์ทางเดิน วงเงิน 55,000 ล้านบาท ล่าสุดกำลังจะส่งผลการศึกษาให้กระทรวงคมนาคมพิจารณา และปีྲྀ สนข.จะออกแบบรายละเอียด คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ตั้งแต่ปี 2559 ใช้เวลา 3 ปี จะทันกับการเปิดใช้รถไฟฟ้าสายสีแดงพอดี"

นายวิจิตต์กล่าวอีกว่า สำหรับพื้นที่ส่วนพลาซา มีพื้นที่ 127.5 ไร่ ประกอบด้วย 1.พื้นที่สวนสาธารณะและมีอาคารพาณิชยกรรมขนาดเล็กอยู่รอบนอก ขนาด 204,000 ตารางเมตร และ 2.พื้นที่พัฒนาใต้ดินเป็นทางเดินเชื่อมสถานีกลางบางซื่อ-สถานีรถไฟฟ้าใต้ดินและบีทีเอสที่หมอชิต 63.6 ไร่ มีพื้นที่เช่า 118,102.5 ตารางเมตร จะแบ่งพื้นที่เชิงพาณิชย์เป็น 9 โซน โดยรายได้จะแบ่งบางส่วนให้ ร.ฟ.ท.ในฐานะเจ้าของที่ดิน คาดว่าจะมีรายได้ตลอดสัญญาเช่า 30 ปี และรายได้อื่น ๆ จำนวน 487,830 ล้านบาท

โทลล์เวย์-ทางด่วนสร้างทางเชื่อม

นายวิจิตต์กล่าวอีกว่า นอกจากนี้บมจ.ทางด่วนกรุงเทพ หรือบีอีซีแอล ผู้รับสัมปทานทางด่วน และบมจ.ทางยกระดับดอนเมือง ผู้รับสัมปทานโทลล์เวย์ ได้เสนอแผนลงทุนสร้างทางยกระดับเชื่อม (แลมป์) ระหว่างโทลล์เวย์กับทางด่วนบริเวณจตุจักร เงินลงทุน 7,000 ล้านบาท เพื่อเชื่อมโยงการเดินทางโดยรอบให้ครอบคลุมมากขึ้น จะเป็นการดำเนินการตามพ.ร.บ.ร่วมทุนฯ
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 07-10-2557 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.