| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 62 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 04-10-2557    อ่าน 1403
 ผุดห้องชุดราคาถูก 2 หมื่นยูนิต เกาะรถไฟฟ้า 3 สาย 3 สถานี

อีกหนึ่งภารกิจเร่งด่วนของ "บิ๊กจิน-พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง" รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กำลังให้ "คมนาคม" เร่งสรุปถึงความเป็นไปได้ โครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อยในแนวรถไฟฟ้า ต่อยอดการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าหลากสีให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ล่าสุด สั่ง "สร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์" ปลัดกระทรวงคมนาคม ระดมสมองสแกนโปรเจ็กต์ศึกษาของ "กคช.-การเคหะแห่งชาติ" ที่ต้องการจะเช่าที่ดินย่านสถานีรถไฟฟ้ายาว 30 ปี จาก "รฟม.-การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย" ใน 3 สายทาง เพื่อลงทุนก่อสร้างที่อยู่อาศัยให้กับผู้มีรายได้น้อย รวม 22,983 ยูนิต

ประกอบ ด้วย 1.สถานีคลองบางไผ่ในสายสีม่วง ช่วงบางซื่อ-บางใหญ่ พื้นที่จังหวัดนนทบุรี 2.สถานีบางปิ้งในสายสีเขียวช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ พื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ และ 3.สถานีมีนบุรีในแนวสายสีชมพูช่วงแคราย-มีนบุรี พื้นที่กรุงเทพฯ

หลัง "กคช." ได้ว่าจ้างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการเสร็จ เรียบร้อยแล้ว โดยมีรูปแบบการพัฒนาผสมผสาน (มิกซ์ยูส) ภายในจะมีทั้งที่อยู่อาศัยและอาคารพาณิชยกรรม โดย "สถานีบางปิ้ง" ด้วยสภาพแวดล้อมที่เป็นย่านอุตสาหกรรมและที่อยู่อาศัย เสนอ แนะให้พัฒนาได้ทั้งศูนย์การค้า สำนักงาน อาคารชุด อพาร์ตเมนต์ มีเนื้อที่ 18.31 ไร่ พื้นที่ก่อสร้าง 293,000 ตร.ม. เงินลงทุน 9,628 ล้านบาท แบ่งพัฒนาเป็น 3 ระยะ โดยระยะแรกพัฒนาศูนย์การค้า สูง 5 ชั้น พื้นที่ 38,676 ตร.ม. ระยะที่ 2 สำนักงาน พื้นที่ 90,244 ตร.ม. และระยะที่ 3 ที่พักอาศัยสูง 30 ชั้น 3 อาคาร 2,589 ยูนิต พื้นที่ 128,920 ตร.ม. และส่วนจอดรถ 35,160 ตร.ม.

ส่วน "สถานีคลองบางไผ่" จากศักยภาพของทำเลที่ตั้งในปัจจุบันที่เจริญมาก จึงเหมาะสมที่จะพัฒนาเป็นโครงการที่อยู่อาศัยระดับกลาง-สูง ในรูปแบบอาคารที่อยู่อาศัยสูงไม่เกิน 8 ชั้น และให้ขายสิทธิ 30 ปี ราคาตั้งแต่ 1-3 ล้านบาท
โดยมีพื้นที่พัฒนา 14 ไร่เศษ พื้นที่ก่อสร้าง 225,150 ตร.ม. แยกเป็นพื้นที่เช่าเพื่อการพาณิชย์ 60,790 ตร.ม. อาคารชุดพักอาศัย จำนวน 2,394 ยูนิต พื้นที่ 141,845 ตร.ม. และส่วนจอดรถ 22,515 ตร.ม. เงินลงทุน 7,079 ล้านบาท

ขณะที่ "สถานีมีนบุรี" ในแนวสายสีชมพู มีพื้นที่พัฒนา 200 กว่าไร่ พื้นที่ก่อสร้าง 4.19 ล้าน ตร.ม. การพัฒนาประกอบด้วย ที่อยู่อาศัย จำนวน 18,000 ยูนิต พื้นที่กว่า 2.1 ล้าน ตร.ม. ที่จอดรถ 8,821 คัน พื้นที่ 4.27 แสน ตร.ม. เซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ พื้นที่ 4.7 แสน ตร.ม. โรงแรมพื้นที่ 2.35 แสน ตร.ม. ศูนย์การค้าพื้นที่ 4.7 แสน ตร.ม. และอาคารสำนักงาน พื้นที่ 4.7 แสน ตร.ม.

ทั้ง 3 โครงการจะมีห้องให้เลือก 3 แบบ ได้แก่ ขนาด 1 ห้องนอน พื้นที่ 28 ตร.ม. และพื้นที่ 42 ตร.ม. และขนาด 2 ห้องนอน พื้นที่ 56 ตร.ม. ส่วนราคาขายยังไม่ได้เคาะสรุปจะถูกหรือแพงแค่ไหน ขึ้นอยู่กับรูปแบบการลงทุน

โดยการลงทุนมี 5 ทางเลือก คือ 1.กคช.ลงทุนทั้งหมด 2.ให้เอกชนเช่าทรัพย์สินของรัฐไปดำเนินการ 3.การบริหารงานตามสัญญา โดย กคช.ลงทุนเอง แต่ให้เอกชนมาบริหารโครงการด้านการหารายได้และดูแลการบริหารจัดการ 4.ตั้งบริษัทร่วมทุน และ 5.เอกชนลงทุนทั้งหมด โดยจ่ายค่าผลตอบแทนให้ กคช. ซึ่งผลการศึกษาระบุว่า กคช.ลงทุนเองจะได้ผลตอบแทนสูงที่สุด

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคมกล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า กระทรวงจะพิจารณาเรื่องข้อกฎหมายจะสามารถนำพื้นที่ย่านสถานีที่เวนคืนมา ก่อสร้างรถไฟฟ้าสามารถพัฒนาเชิงพาณิชย์ได้หรือไม่ หากดำเนินการได้ รฟม.จะพัฒนาเองและใช้เงินลงทุนจากที่ไหน หรือให้เอกชนมาพัฒนานอกจากจะพิจารณาข้อเสนอโครงการของ กคช.แล้ว เพราะมองว่าหาก กคช.ดำเนินการเองอาจจะทำให้เกิดซ้ำรอยโครงการบ้านเอื้ออาทร

อย่างไร ก็ตามในหลักการคมนาคมเห็นด้วย ที่ย่านสถานีรถไฟฟ้าจะต้องพัฒนาพื้นที่เพื่อเป็นการต่อยอด ไม่ว่าที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรมเหมือนที่ต่างประเทศทั่วโลกดำเนินการมาแล้วแต่สิ่งที่ "บิ๊กคมนาคม" กำลังติดใจ ใครจะเป็นผู้พัฒนาทำเลทองแห่งอนาคตนี้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ระหว่าง "กคช." หน่วยงานรัฐวิสาหกิจด้วยกันเอง หรือเอกชนที่มากฝีมือ ถึงจะประสบความสำเร็จได้มากกว่ากัน เพื่อเป็นโมเดลนำร่องขยาย
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 04-10-2557 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.