| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 321 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 03-10-2557    อ่าน 1379
 "ประจิน"จัดทัพโปรเจ็กต์ด่วนรถไฟฟ้า-ทางคู่ กระตุ้นศก.ปี"58กดปุ่ม6.5หมื่นล.ชง"ครม.ตู่"เปิดประมูล

คมนาคมลุยลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนส่ง 10 ปีกว่า 1.8 ล้านล้านบาท เปิดโผโปรเจ็กต์ด่วนปี"58 กดปุ่มทันที 6.5 หมื่นล้าน ทั้งถนน ซ่อมราง ปรับปรุงแม่น้ำ ซื้อรถเมล์ใหม่ "บิ๊กจิน" เร่งเครื่องระบบรางเต็มสูบ จี้เวนคืน เคลียร์พื้นที่ทับซ้อน กทม. สั่ง รฟม.เจรจาเดินรถสายสีม่วง-น้ำเงิน-เขียว คัดรถไฟฟ้าหลากสี-รถไฟทางคู่ ชง "ครม.บิ๊กตู่" ให้ทันสิ้นปีนี้ หวังกระตุ้นเศรษฐกิจ


แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า การประชุมแผนปฏิบัติการ (Action Plan) ยุทธศาสตร์พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทยปี 2558-2565 ใน 4 ยุทธศาสตร์ 5 แผนงาน เบื้องต้นสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เสนอกรอบวงเงินลงทุนรวมไว้ทั้งทางบก อากาศและทางน้ำ 1.829 ล้านล้านบาท แยกเป็นกรอบลงทุนระยะเร่งด่วนปี 2558 วงเงิน 65,782 ล้านบาทและผูกพันระยะยาว 10 ปี (2559-2568) วงเงิน 1.763 ล้านล้านบาท




ตัดซื้อเครื่องบิน-ทางคู่ 1.435 ม.

ยังไม่รวมแผนซื้อเครื่องบินของ บมจ.การบินไทย โครงการรถไฟทางคู่รางมาตรฐาน 1.435 เมตร 2 สายทางของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ได้แก่ สายหนองคาย-โคราช-แหลมฉบัง-มาบตาพุด 737 กม. และสายเชียงของ-เด่นชัย-บ้านภาชี 655 กม. เงินลงทุนรวม 741,460 ล้านบาท แต่ได้มีการเสนอโครงการพัฒนาศูนย์คมนาคมย่านพหลโยธินและพื้นที่โดยรอบเข้ามาแทน เงินลงทุน 49,034 ล้านบาทเพื่อรองรับการเชื่อมต่อสถานีกลางบางซื่อของรถไฟสายสีแดง (บางซื่อ-รังสิต)

"วงเงินที่ สนข.รวบรวมมา จะเป็นโครงการได้รับงบฯปี 2558 จะปรับให้เข้ากับยุทธศาสตร์ที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช.อนุมัติเมื่อวันที่ 29 ก.ค.รวมถึงนโยบายของรัฐบาลเน้นโครงการทำก่อน ทำจริง ทำทันที และปรับแผนใช้เงินสอดคล้องกับสำนักงบประมาณที่ให้ขยายการลงทุนจาก 8 ปี เป็น 10 ปี"


โปรเจ็กต์ด่วนลงทุน 8.7 แสนล้าน

พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า แผนปฏิบัติการด้านคมนาคมขนส่งจะมีเงินลงทุนปี 2558 จำนวน 65,782 ล้านบาท จากนั้นผูกพันปี 2559-2568 รวม 10 ปี จะใช้เงินลงทุน 872,641 ล้านบาท ยังไม่รวมเงินกู้ เอกชนร่วมลงทุนและโครงการอินฟราสตรักเจอร์บางส่วน ซึ่งเม็ดเงินลงทุนภาพรวมยังไม่นิ่ง ต้องรอผลสรุปทางอากาศและทางน้ำก่อนหลังเวิร์กช็อปเสร็จในวันที่ 11 ต.ค.นี้

"ช่วง 3 เดือนนี้ (ต.ค.-ธ.ค.) คงเร่งโครงการใหญ่ได้ไม่มาก จะพยายามผลักดันออกมาโดยเร็วเรื่องประมูล และเสนอให้คณะรัฐมนตรีอนุมัติโครงการ แต่ต้นปี"58 จะเห็นชัดมากขึ้น เช่น รถไฟฟ้า 10 สาย รถไฟทางคู่"

รวมถึงรูปแบบการลงทุนของมอเตอร์เวย์ใหม่ 2 สายทางที่อยู่ในยุทธศาสตร์และยังไม่มีเงินลงทุน คือ สายบางปะอิน-นครราชสีมา และสายบางใหญ่-บ้านโป่ง ว่าจะใช้เงินกู้ หรือให้เอกชนร่วมลงทุน จะสรุปทั้งหมดปี 2558 เพื่อเพิ่มทางเลือกการเดินทางให้ประชาชนมากขึ้นในช่วงวันหยุดที่จะประสบปัญหารถติด เพราะที่ผ่านมาไม่ได้ก่อสร้างถนนใหม่เพิ่ม จะเน้นซ่อมและขยาย 4 ช่องจราจรเป็นหลัก ซึ่งมอเตอร์เวย์สายใหม่ จะปรับแบบก่อสร้างจาก 4-6 ช่องจราจร เหลือ 2 ช่องจราจร


เร่งสปีดรถไฟฟ้า-รถไฟทางคู่

ส่วนรถไฟทางคู่จะเร่งก่อสร้าง 6 สายทาง เพื่อเชื่อมการขนส่งสินค้าชายแดน 6 แห่งในปี 2558 รวม 903 กม. เงินลงทุน 129,393 ล้านบาท คือ 1.ฉะเชิงเทรา-คลอง 19-แก่งคอย 106 กม. 11,348 ล้านบาท 2.จิระ-ขอนแก่น 185 กม. 26,007 ล้านบาท 3.มาบกะเบา-จิระ 132 กม. 29,855 ล้านบาท 4.ลพบุรี-ปากน้ำโพ 148 กม. 24,842 ล้านบาท 5.นครปฐม-หัวหิน 165 กม. 20,038 ล้านบาท และ 6.ประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร 167 กม. 17,293 ล้านบาท

"ปี"58 พร้อมสร้าง 2 เส้นทางคือ ฉะเชิงเทรา-คลอง 19-แก่งคอยที่กำลังประมูล และจิระ-ขอนแก่น จะเสนอ ครม.อนุมัติให้ทันปีนี้ ที่เหลือรออนุมัติรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมหรืออีไอเอ ปีนี้จะเร่งให้ผ่านทั้งหมด และจะเริ่มประมูลปี"58 ส่วนปี"59 จะก่อสร้างเพิ่ม 6 สายทาง หลังปีหน้าศึกษาโครงการจบ เช่น หัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์"

ด้านรถไฟฟ้าจะเร่งการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และการรถไฟฯ ให้ทำแผนงานโครงการชัดเจนในปี 2558 ทั้งประมูลและขออนุมัติโครงการจาก ครม. โดยเฉพาะเร่งรัดการก่อสร้างและการเดินรถ 4 สายทางเพื่อเปิดบริการตามกำหนดปี 2559-2560 คือ สีม่วง (บางซื่อ-บางใหญ่) 23 กม. สีน้ำเงิน (บางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแค) 27 กม. สีเขียว (แบริ่ง-สมุทรปราการ) 12.8 กม.และสีแดง (บางซื่อ-รังสิต) 26 กม.


รฟม. เคลียร์ กทม.-เวนคืนที่ดิน

"ปัญหาความล่าช้าช่วงนี้ ไม่ว่าการสำรวจพื้นที่ เวนคืน เจรจาจุดทับซ้อนระหว่าง รฟม. กทม.หรือจุดที่ทับซ้อนกันเองในกระทรวง จะให้คลี่คลายในเดือนพ.ย.นี้และออกเป็นแผนงานชัดเจน รวมถึงการต่อเชื่อมกับรถไฟฟ้าบีทีเอสเดิม คือ สายสีเขียวจากแบริ่ง-สมุทรปราการและหมอชิต-คูคต จะสรุปเดือนพ.ย.นี้เช่นกัน"

พล.อ.อ.ประจินกล่าวอีกว่า พร้อมกันนี้จะเร่งประมูลและเสนอขออนุมัติ ครม.สายใหม่ ได้แก่ สีเขียว (หมอชิต-คูคต) 18.4 กม. 58,861 ล้านบาท จะยื่นซองราคาวันที่ 30 ก.ย. สีชมพู (แคราย-มีนบุรี) 36 กม. 58,264 ล้านบาท สีส้ม (ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี) 20 กม. 100,523 ล้านบาท สีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) 30.4 กม. 55,986 ล้านบาท สีแดง (บางซื่อ-พญาไท-หัวหมาก) 25.5 กม. 38,469 ล้านบาท และต่อขยายแอร์พอร์ตลิงก์ (พญาไท-ดอนเมือง) 21.8 กม. 31,102 ล้านบาท

"3 เดือนนี้จะเสนอ ครม.ได้ 1 สาย ที่เหลือจะเสนอปีหน้า เช่น สีชมพู เพราะจะต้องดูแหล่งเงินลงทุนจะนำมาจากไหนก่อสร้าง และให้เอกชนลงทุนอะไร อยากจะให้แหล่งเงินไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อเสนอรัฐบาลเลือกว่าจะได้รูปแบบไหน หากชัดเจนก็เดินหน้าพร้อมกัน"

มี.ค.ได้ใช้แน่รถเมล์ใหม่ 489 คัน

อีกเรื่องที่เร่งด่วน คือ การจัดซื้อรถเมล์ NGV จำนวน 3,183 คัน 13,416 ล้านบาท จะให้เดินหน้าเปิดประมูลโดยเร็วหลังจากคณะกรรมการ (บอร์ด) องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) อนุมัติร่างทีโออาร์วันที่ 15 ต.ค.นี้ เพื่อนำรถลอตแรก 489 คันมาวิ่งบริการเดือนมี.ค.- เม.ย. 2558 นี้ ส่วนที่เหลือทยอยส่งมอบให้เสร็จสิ้นปี 2559

"เป้าหมายการขนส่งคมนาคมทางบกจะให้เห็นภาพว่าจะเชื่อมต่อทั่วประเทศกันได้อย่างไรให้สะดวก ปลอดภัย มีการบริการที่ดี ไม่ว่าจะเป็นทางถนนและรถไฟ จะเป็นการเชื่อมโครงข่ายระหว่างเมืองใหญ่มาสู่กรุงเทพฯและจากกรุงเทพฯไปเมืองใหญ่และชนบท รวมถึงชายแดน ให้เข้าถึงง่ายและพัฒนามากขึ้น จะเน้นการเชื่อมโยงในประเทศก่อน"

โดยผลตอบรับที่จะได้กลับคืนมาจากการลงทุนในปี 2558-2559 คือ 1.ลดต้นทุนโลจิสติกส์ต่อจีดีพีไม่น้อยกว่า 2% จาก 15.2% เหลือ 12% 2.ลดการเดินทางระหว่างจังหวัดโดยรถส่วนบุคคลลง จาก 59% เหลือ 40% 3.เพิ่มความเร็วของรถไฟด้านขนสินค้าจาก 39 กม./ชม. เป็น 60 กม./ชม. รถโดยสารจาก 60 กม./ชม. เป็น 100 กม./ชม. หลังซ่อมทางรถไฟให้เป็นมาตรฐานและสร้างทางรถไฟใหม่เป็นทางคู่ 4.เพิ่มสัดส่วนขนส่งสินค้าทางราง จาก 2.5% เป็น 5% 5.เพิ่มการเดินทางรถไฟฟ้าจาก 5% เป็น 30% 6.เพิ่มขนส่งสินค้าผ่านชายแดนที่สำคัญอีก 5% และ 6.เพิ่มผู้โดยสารทางรถไฟจาก 45 ล้านคน/ปี เป็น 75 ล้านคน/ปี
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 03-10-2557 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.