| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 383 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 24-09-2557    อ่าน 1366
 หลากมุมมอง "พร็อพเพอร์ตี้แท็กซ์" ดีเวลอปเปอร์ขานรับลดปัญหาที่ดินกระจุกตัว

กำลัง เป็นจุดสนใจของวงการอสังหาฯ สำหรับร่าง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง หรือ "พร็อพเพอร์ตี้แท็กซ์" ที่จะนำมาใช้ทดแทนกฎหมายภาษี 2 ฉบับ คือ ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ซึ่งจัดเก็บ 12.5% ของรายได้จากค่าเช่าต่อปี กับภาษีบำรุงท้องที่ จัดเก็บจากที่ดินที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัย แต่ยกเว้นให้กับที่ดินไม่เกิน 50 ตารางวา- 5 ไร่ แน่นอนว่าภาษีทั้ง 2 ฉบับบังคับใช้มานานและค่อนข้างล้าสมัย

ก่อนอื่นต้องทบทวนความจำ "พร็อพเพอร์ตี้แท็กซ์" แบ่งภาษีที่จัดเก็บเป็น 3 อัตรา 1)ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างใช้เป็นที่อยู่อาศัยเท่านั้น จัดเก็บไม่เกิน 0.1% ของราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ใช้เป็นฐานภาษี 2)ที่ดินทำเกษตรกรรม ไม่เกิน 0.05% ของฐานภาษี และ 3)ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเชิงพาณิชย์-อุตสาหกรรม ไม่เกิน 0.5% ของฐานภาษี

หมัดเด็ดคือหากยังปล่อยรกร้าง ทุก 3 ปีจะปรับขึ้นอัตราค่าภาษีอีก 1 เท่า แต่สูงสุดไม่เกิน 2%

อุดปัญหาที่ดินกระจุกตัว

อย่าง ไรก็ตาม ทุกครั้งที่จะมีการเปลี่ยนแปลงย่อมมีความเห็นเหมือนเหรียญ 2 ด้าน "ประชาชาติธุรกิจ" สอบถามความเห็นดีเวลอปเปอร์ "ปิยะ ซอโสตถิกุล" กรรมการบริหารกลุ่มบริษัทซีคอนระบุว่า ตระกูลซอโสตถิกุลน่าจะมีที่ดินรวมกันไม่ต่ำกว่า 5 พันไร่ ส่วนใหญ่ทำการเกษตร แต่ไม่คัดค้านการใช้พร็อพเพอร์ตี้แท็กซ์ เพราะจะทำให้เจ้าของที่ดินนำที่ดินรกร้างมาทำประโยชน์หรือตัดขายออกไป ลดปัญหาการมีที่ดินกระจุกตัวในคนบางกลุ่ม

แม้ในทางปฏิบัติอาจมีคนนำ ที่ดินมาใช้ประโยชน์เล็ก ๆ น้อย ๆ เพื่อจะไม่ต้องเสียภาษีสูง จึงควรนิยามการใช้ประโยชน์ที่ดินให้ชัดเจนว่าแบบไหนเข้าข่าย ต้องใช้ประโยชน์คิดเป็นสัดส่วนกี่เปอร์เซ็นต์ของทั้งแปลง เป็นต้น

อสังหาฯขานรับถ้วนหน้า

ขณะ ที่ "อนันต์ อัศวโภคิน" บอสใหญ่แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ บอกว่า เห็นด้วยกับการจัดเก็บภาษีตัวนี้เพราะจะช่วยให้ท้องถิ่นมีรายได้ ขณะที่ธุรกิจพัฒนาที่ดินน่าจะได้รับผลดีมากกว่า เพราะเจ้าของที่ดินที่ไม่ได้ถูกใช้ประโยชน์ หากมองว่าที่ดินบางแปลงราคาไม่ได้ขึ้นมาก แต่ต้องเสียภาษีสูงก็ไม่คุ้มที่จะเก็บไว้รวมทั้งประเมินด้วยว่า จะไม่ทำให้ดีเวลอปเปอร์มีต้นทุนเพิ่มขึ้นจากการจ่ายภาษี เพราะส่วนใหญ่ซื้อไม่เกิน 1 ปีก็เปิดพรีเซลโครงการ

สอดคล้องกับบิ๊ก ดีเวลอปเปอร์อีก 2 ราย"ประทีป ตั้งมติธรรม" ค่ายศุภาลัย กับ "ทองมา วิจิตรพงศ์พันธุ์" ค่ายพฤกษา เรียลเอสเตท ที่มีมุมมองทิศทางเดียวกันว่าไม่คัดค้านแน่นอน เพราะจะทำให้ที่ดินรกร้างถูกนำมาใช้ประโยชน์ หรือขายเปลี่ยนมือเพราะเจ้าของที่ดินคงไม่อยากเสียภาษี

ลดภาษีธุรกิจเฉพาะ-ค่าโอน

ส่วน "ธำรง ปัญญาสกุลวงศ์" อดีตนายกสมาคมคอนโดฯ เห็นด้วยกับการบังคับเก็บพร็อพเพอร์ตี้แท็กซ์ แต่เมื่อเก็บแล้วรัฐบาลควรหันมาพิจารณาปรับลดอัตราภาษีและค่าธรรมเนียมที่ เกี่ยวข้องกับอสังหาฯในปัจจุบัน ได้แก่ ภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3% ค่าธรรมเนียมโอน 2% ค่าจดจำนอง 1% และค่าอากรแสตมป์ 0.5% รวมทั้งหมด 6.8% ถือว่าสูงเกินไป

ข้อเสนอคือ รัฐควรปรับลดภาษีธุรกิจเฉพาะเหลือ 1% ค่าธรรมเนียมการโอนให้จัดเก็บเป็นรายครั้ง ครั้งละ 1 พันบาท ค่าอากรแสตมป์ครั้งละ 500 บาท เพื่อลดภาระให้ประชาชน

มองต่างมุม จนท.รัฐมีน้อย

ส่วน "รัตนชัย ผาตินาวิน" เอ็มดีค่ายอีสเทอร์นสตาร์ เรียลเอสเตท มองอย่างเป็นห่วงว่า หากบังคับใช้พร็อพเพอร์ตี้แท็กซ์ ในทางปฏิบัติอาจไม่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง เพราะภาครัฐมีเจ้าหน้าที่เพียงพอตรวจสอบที่ดินทุกแปลงว่าใช้ประโยชน์หรือไม่

ขณะ เดียวกันที่ดินบางแปลงอาจไม่เหมาะกับการนำมาใช้ประโยชน์ หรือเจ้าของอาจไม่มีรายได้มากพอจะนำมาใช้ประโยชน์ทุกแปลงได้ การบังคับเสียภาษีที่ดินรกร้างสูงกว่าที่ดินประเภทอื่น ๆ จึงอาจจะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 24-09-2557 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.