| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 46 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 17-09-2557    อ่าน 1436
 เอกชนแห่ค้าน"กรมที่ดิน-บังคับคดี" ประมูลคอนโดมือ2เว้นหนี้ส่วนกลาง

วงการนิติบุคคลอาคารชุดป่วนหนัก ค้านแหลกนโยบายแก้กฎหมายประมูลซื้อคอนโดฯมือ 2 จากกรมบังคับคดีไม่ต้องจ่ายหนี้ค่าส่วนกลาง หวั่นสร้างวัฒนธรรมเบี้ยวหนี้-ก่อปัญหาหนี้สูญ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากกรณีที่กรมบังคับคดีมีนโยบายผลักดันให้มีการแก้ไขกฎหมายการโอนทรัพย์สินประเภทคอนโดมิเนียมที่เป็นทรัพย์รอขายทอดตลาดของกรม ขอให้ยกเว้นไม่ต้องใช้ใบปลอดภาระหนี้ค่าส่วนกลางมาใช้ประกอบการโอนกรรมสิทธิ์ ซึ่งทางกรมที่ดินมีแนวโน้มว่าไม่ขัดข้องกับข้อเสนอดังกล่าว ปรากฏว่าได้รับความสนใจอย่างกว้างขวางจากผู้ประกอบการวงการนิติบุคคลอาคารชุด ส่วนใหญ่มีความเห็นคัดค้าน เนื่องจากประเมินว่าอาจจะมีผลเสียมากกว่าผลดีต่อผู้อยู่อาศัยในอาคารชุดในอนาคต รวมทั้งมองว่าเป็นการแก้ไขปัญหาเพื่อจะให้หน่วยงานรัฐขายทอดตลาดทรัพย์ได้ แต่ปัญหาไม่จบเพราะจะไปสร้างปัญหาใหม่ และเป็นปัญหาใหญ่มากให้กับนิติบุคคลอาคารชุดซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงกำไร



ทั้งนี้ วัตถุประสงค์ข้อเสนอแก้ไขกฎหมายดังกล่าว สืบเนื่องจากกรมบังคับคดีมีทรัพย์รอการขาย หรือ NPA ประเภทคอนโดฯค้างอยู่ในพอร์ตมูลค่าสูงถึง 6.2 หมื่นล้านบาท อุปสรรคสำคัญข้อหนึ่งที่ทำให้ประชาชนไม่สนใจประมูลซื้อเป็นเพราะมีหนี้ค่าส่วนกลางติดมากับตัวห้องชุดด้วย แนวทางของกรมบังคับคดีจึงอยากให้ลดข้อจำกัดดังกล่าว โดยค่าส่วนกลางที่ค้างชำระเสนอให้ทางนิติบุคคลเป็นผู้ไปดำเนินคดีฟ้องเรียกค่าเสียหายทางแพ่งจากเจ้าของเก่าแทน

ผู้บริหารอาคารชุดค้านแหลก

นายสามภพ บุนนาค กรรมการผู้จัดการ บริษัท เซ็นจูรี่ 21 พร็อพเพอร์ตี้ เอมส์ จำกัด ผู้รับบริหารนิติบุคคลอาคารชุดกว่า 40 โครงการ เปิดเผยว่า ไม่เห็นด้วยเพราะจะทำให้หนี้ค่าส่วนกลางที่ค้างชำระกับนิติบุคคลถูกลดความสำคัญลง จากวิธีปฏิบัติเมื่อขายทอดตลาดห้องชุดได้ หนี้ค่าส่วนกลางเป็นหนี้บุริมสิทธิ์ที่กำหนดให้นิติบุคคลฯ ต้องได้รับชำระก่อนเป็นลำดับที่ 1

ส่วนกรณีจะให้นิติบุคคลฯไปตามทวงกับเจ้าของห้องเดิม ในทางปฏิบัติค่อนข้างยาก เนื่องจากไม่สามารถติดตามตัวได้แล้ว และเจ้าของห้องบางรายอาจถูกฟ้องล้มละลาย ไม่สามารถรับประกันได้ว่าจะมีเงินหรือทรัพย์สินมาใช้หนี้หรือไม่

"การโอนห้องชุดต้องมีใบปลอดภาระหนี้ถือว่าเหมาะสมแล้ว เพราะเป็นสิทธิหน้าที่ของผู้ซื้อจะต้องทราบว่าห้องชุดที่จะประมูลค้างค่าส่วนกลางเท่าไหร่ และนำไปคำนวณเป็นต้นทุนด้วย แต่ถ้าแก้ไขกฎหมายยกเว้นเฉพาะกรณีผู้ซื้อห้องชุดจากการขายทอดตลาดของกรมบังคับคดีจะเป็นการตัดตอนปัญหาให้กับกรม แต่หนี้ค่าส่วนกลางยังอยู่และกลายเป็นภาระนิติบุคคลฯแทน" นายสามภพกล่าว

หวั่นปัญหาหนี้สูญทะลัก

นายธำรง ปัญญาสกุลวงศ์ นายกสมาคมกิตติมศักดิ์และที่ปรึกษาสมาคมอาคารชุดไทย เปิดเผยว่า ไม่เห็นด้วยที่กรมบังคับคดีเสนอแก้ไขกฎหมาย เพราะตามหลักเมื่อโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดหนี้ค่าส่วนกลางจะต้องได้รับชำระทั้งหมด หากตัดตอนให้เป็นหน้าที่นิติบุคคลฯไปตามทวงเองอาจกลายเป็นหนี้สูญได้ และเป็นการเอาเปรียบเจ้าของห้องชุดรายอื่นที่จ่ายตรงเวลา

ทั้งนี้เมื่อ 4-5 ปีก่อน เรื่องนี้เคยถูกนำเสนอต่อที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว และมีการแสดงความเห็นถึงข้อดี-ข้อเสียในการแก้ไขกฎหมาย สุดท้ายก็ไม่ได้รับความเห็นชอบจากสภา หากเสนอเรื่องนี้เข้าสู่สภาอีกรอบก็ไม่ขัดข้อง แต่ต้องมาถกเถียงกันว่ามีผลดี-ผลเสียคืออะไร

ฟันธงสร้างวัฒนธรรมเบี้ยวหนี้

แหล่งข่าวจากบริษัท คอลลิเออร์ส (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า ถ้าแก้ไขกฎหมายนี้จะซ้ำเติมปัญหาการเบี้ยวหนี้ค่าส่วนกลาง เพราะประสบการณ์บริหารนิติบุคคลอาคารชุดราคาตารางเมตรแพงกว่า 1 แสนบาทบนถนนสุขุมวิทมา 3 ปี มีปัญหาผู้อยู่อาศัยค้างชำระค่าส่วนกลางเฉลี่ย 3-4% ต่อโครงการ

ทั้งนี้ถ้าค้างค่าส่วนกลางเกิน 1 เดือน บริษัทใช้วิธีส่งหนังสือแจ้งเตือน หากยังเพิกเฉยก็จะยื่นคำขาดฟ้องร้องดำเนินคดี ปัญหาคือไม่สามารถตามตัวเจ้าของห้องได้ ซึ่งบริษัทเตรียมยุบธุรกิจรับบริหารนิติบุคคลฯ หลังจากลูกค้ารายปัจจุบันหมดสัญญาแล้ว เพราะทำไปก็ไม่คุ้ม

นางสุพินท์ มีชูชีพ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โจนส์แลง ลาซาลล์ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า กรมบังคับคดีควรทบทวนผลดี-ผลเสียการแก้ไขกฎหมายให้รอบคอบ เพราะช่วยแก้ปัญหาให้กรมบังคับคดีขายทอดตลาดห้องชุดได้คล่องตัวขึ้นจริง แต่ปัญหาการติดตามทวงหนี้จะไปตกอยู่กับนิติบุคคลฯ ดังนั้นเป็นไปได้ว่าโครงการอาจต้องเรียกเก็บเงินกองทุนนิติบุคคลฯแรกเข้าในวันโอนกรรมสิทธิ์เพิ่มขึ้น เพื่อสำรองไว้ใช้จ่ายเป็นค่าบริหารความเสี่ยงกรณีที่นิติบุคคลฯไม่สามารถทวงหนี้ค่าส่วนกลางได้

เตรียมขอเข้าพบ 2 อธิบดี

นางสาวสมศรี เตชะไกรศรี กรรมการผู้จัดการ บริษัท ลุมพินี พรอพเพอร์ตี้ มาเนจเมนท์ จำกัด ผู้บริหารนิติบุคคลอาคารชุดแบรนด์ลุมพินีเกือบ 100 โครงการ เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ถ้ามีการแก้ไขกฎหมายได้จริง เรื่องนี้จะเป็นผลดีกับกรมบังคับคดีทำให้การขายทอดตลาดห้องชุดน่าสนใจมากขึ้น แต่ผลกระทบตามมาคือหนี้ค่าส่วนกลางจะตกเป็นหน้าที่ของนิติบุคคลฯ ต้องติดตามทวงหรือจ้างทนายไปฟ้องร้องดำเนินคดีเอง คาดว่าใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 6 เดือน ศาลจึงจะมีคำตัดสิน

สิ่งที่เป็นห่วงคือ 1)อาจจะตามตัวเจ้าของห้องไม่ได้ 2)ถ้าตามเจอก็อาจจะไม่มีเงินจ่ายหนี้ เท่ากับว่าโอกาสที่จะได้หนี้ค่าส่วนกลางคืนมีน้อยมาก เพราะตามหลักเจ้าของห้องชุดที่ถูกยึดทรัพย์ย่อมต้องมีปัญหาการเงิน 3)ไม่เป็นธรรมกับเจ้าของห้องชุดที่จ่ายค่าส่วนกลางครบถ้วน เพราะกลายเป็นผู้เสียประโยชน์จากการที่มีคนค้างค่าส่วนกลาง

"ขณะนี้มอบหมายให้ฝ่ายกฎหมายของบริษัทศึกษาผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ถ้าจำเป็นอาจจะมีการหารือและเคลื่อนไหวผ่านทางสมาคมบริหารทรัพย์สินแห่งประเทศไทย หรือผ่านสมาคมอาคารชุดไทย เพื่อชี้แจงถึงผลกระทบให้ภาครัฐได้รับทราบปัญหา"

ขณะที่นายวิวัธน์ ศรีเจริญวงศ์ นายกสมาคมบริหารทรัพย์สินแห่งประเทศไทย กล่าวเพิ่มเติมว่า สมาคมมีสมาชิกบริหารนิติบุคคล 200-300 ราย จะได้นำเรื่องนี้เข้าหารือในที่ประชุมเพื่อหาข้อสรุปแนวทางที่จะเคลื่อนไหวต่อไป เบื้องต้นอาจทำหนังสือชี้แจงผลกระทบถึง 2 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องคือ อธิบดีกรมบังคับคดีและกรมที่ดิน รวมทั้งจะนัดหมายขอเข้าพบเป็นทางการเพื่อหาทางออกร่วมกัน
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 17-09-2557 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.