| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 76 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 16-09-2557    อ่าน 1377
 สั่งบขส.ชะลอ4พันล.ซื้อที่ดินผุดหมอชิต2 ชง"บิ๊กจิน"เคาะย้ายกลับจตุจักร-ธนารักษ์เปิดพท.รับแสนตร.ม.

กรมธนารักษ์เร่งโปรเจ็กต์คอมเพล็กซ์ 2 หมื่นล้านย่านหมอชิตเก่า 63 ไร่ เปิดทางรายเดิม "ซันเอสเตท" รับสัมปทาน 30 ปี เตรียมเสนอรัฐมนตรีคลังคนใหม่เคาะ ร่อนหนังสือขอคำยืนยันคมนาคม ย้ายหรือไม่ย้ายสถานีขนส่งกลับที่เดิม หลังกันพื้นที่รอรับ 1 แสน ตร.ม. ด้าน "สร้อยทิพย์" ตอบรับทันควัน สั่ง บขส.ชะลอซื้อที่ดินใหม่และเร่งหาที่ชั่วคราวสำรองการเดินรถ หลัง ร.ฟ.ท.ยึดพื้นที่คืน ปักตอม่อรถไฟฟ้าสายสีแดง

นายชาญณัฏฐ์ แก้วมณี รองอธิบดีกรมธนารักษ์ เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ได้ทำหนังสือไปยังกระทรวงคมนาคม ขอความชัดเจนถึงข้อตกลงเดิมตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่กรมจะนำพื้นที่สถานีขนส่งผู้โดยสารหมอชิตเดิม เนื้อที่ 63 ไร่ มาพัฒนาเชิงพาณิชย์ และให้บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) ย้ายสถานีขนส่งไปอยู่ที่อื่นเป็นการชั่วคราว จนกว่าการพัฒนาโครงการจะแล้วเสร็จ จึงย้ายกลับมายังที่เดิม

ธนารักษ์ปัดฝุ่นคอมเพล็กซ์

โดย ตามข้อตกลง กรมจะกันพื้นที่ไว้ให้ 100,000 ตร.ม. บนอาคารศูนย์ซ่อมบำรุง (เดโป้) ของรถไฟฟ้าบีทีเอสเพื่อเป็นการชดเชยให้ ล่าสุดกรมจะเดินหน้าโครงการนี้หลังจากบริษัท บางกอกเทอร์มินอลจำกัด (BKT) หรือซันเอสเตท ผู้ชนะรายเดิมยืนยันจะขอพัฒนาที่ดินบริเวณนี้ต่อไป เป็นระยะเวลา 30 ปี ซึ่งทาง พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ฝ่ายเศรษฐกิจ ได้เห็นชอบให้ดำเนินการต่อไปแล้ว ซึ่งกรมจะเร่งจัดประชุมเพื่อสรุปโครงการนำเสนอปลัดกระทรวงการคลัง และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังพิจารณาต่อไป

"เราหารือไปยัง กระทรวงคมนาคม เพื่อให้ชัดเจนว่าจะยังมีความต้องการใช้พื้นที่นี้อยู่หรือไม่ หากยังต้องการจะได้ออกแบบให้สอดรับกับการพัฒนาโครงการที่เอกชนจะลงทุนต่อไป เพราะปัจจุบันสภาพพื้นที่เปลี่ยนแปลงไปมากแล้ว" รองอธิบดีกรมธนารักษ์กล่าวและว่า หาก บขส.ยืนยันจะใช้พื้นที่นี้ กรมจะกันพื้นที่ไว้เช่นเดิม ตามรูปแบบการพัฒนาเดิมจะให้สถานีขนส่งอยู่ด้านบนของเดโป้บริเวณชั้น 3 และ 4 ทั้งนี้เพื่อเป็นการไม่ให้เกิดความแออัดด้านการจราจร จะมีการสร้างทางยกระดับเชื่อมจากสถานีขนส่งหมอชิตไปยังถนนวิภาวดีรังสิต และฝั่งสวนจตุจักรที่ถนนพหลโยธินและถนนกำแพงเพชร

"การสร้างทางยก ระดับจะมีเวนคืนที่ดินหลังช่อง 7 โดยกรุงเทพมหานคร หรือ กทม. จะเป็นผู้เวนคืนและก่อสร้าง ส่วนการพัฒนาโครงการทั้งหมดจะเป็นเอกชนผู้ได้รับสัมปทานพัฒนาลงทุน รวมถึงสร้างสถานีขนส่งหมอชิตที่ให้ บขส.ใช้พื้นที่ฟรีด้วย"

เปิดพื้นที่พัฒนา 7 แสน ตร.ม.

นาย ชาญณัฏฐ์กล่าวว่า สำหรับรูปแบบการพัฒนาตามที่บริษัทที่ปรึกษาเสนอล่าสุด มีมูลค่าโครงการรวม 15,736 ล้านบาท จะไม่มีโรงแรมและพื้นที่สาธารณูปโภคส่วนกลาง ภายในโครงการจะมีพื้นที่รวม 711,421 ตร.ม. ประกอบด้วย 1.พื้นที่ชดเชย 110,000 ตร.ม. แยกเป็นสถานีขนส่ง 100,000 ตร.ม. และพื้นที่ใช้สอยอาคาร 10,000 ตร.ม.

และส่วนที่ 2 พื้นที่เชิงพาณิชย์ 601,421 ตร.ม. ได้แก่ อาคารสำนักงาน 206,398 ตร.ม. พื้นที่พาณิชย์ 107,333 ตร.ม. เช่น ค้าปลีก โรงภาพยนตร์ โรงละคร ศูนย์ประชุม เป็นต้น นอกจากนี้มีที่จอดรถยนต์ 235,008 ตร.ม. และที่พักอาศัยเป็นเซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ 52,682 ตร.ม.

ด้านข้อเสนอของ บริษัทบางกอกเทอร์มินอล มูลค่าโครงการรวม 25,000 ล้านบาท มีพื้นที่ใช้สอยรวม 712,350 ตร.ม. แยกเป็น 1.พื้นที่ชดเชย 89,600 ตร.ม. เช่น สถานีขนส่ง 80,000 ตร.ม. พื้นที่ใช้สอยอาคารราชการ 8,000 ตร.ม. และที่จอดรถราชการ 1,000 ตร.ม.และส่วนที่ 2 พื้นที่เชิงพาณิชย์ 662,750 ตร.ม. ประกอบด้วย อาคารสำนักงาน 68,400 ตร.ม. โรงแรม 27,000 ตร.ม. พื้นที่พาณิชย์ 145,333 ตร.ม. ที่จอดรถยนต์ 291,400 ตร.ม. ที่พักอาศัย (เซอร์วิสอพาร์ตเมนต์) 55,000 ตร.ม. และพื้นที่สาธารณูปโภคส่วนกลาง 35,617 ตร.ม.

ย้ายขนส่งหมอชิตกลับที่เดิม

นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า จะตอบยืนยันไปยังกรมธนารักษ์จะขอใช้พื้นที่ดังกล่าวตามที่มีข้อตกลงเดิมไว้ จะย้ายสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) กลับมายังที่หมอชิตเก่าเดิม ขณะเดียวกันให้ บขส.ไปพิจารณาจะนำรถที่วิ่งระยะสั้นหรือระยะยาวมาไว้ที่นี่ และสถานีขนส่งปัจจุบันจะอยู่ที่เดิมหรือไม่ เนื่องจากสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ศึกษาไว้เดิมสถานีขนส่งจะต้องอยู่กลางเมือง และทั้งย่านบางซื่อและหมอชิตเก่าจะถูกต้องตามหลักการ เพราะมีทั้งรถไฟฟ้าใต้ดิน บีทีเอส รถไฟฟ้าสายสีแดง และรถเมล์ที่จะเชื่อมการเดินทางออกไปยังชานเมืองได้ ซึ่งพื้นที่สถานีกลางบางซื่อจะมีพื้นที่เป็นศูนย์รถบขส.ด้วย แต่เป็นรถวิ่งสายสั้น ๆ

ส่วนการที่การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) จะขอพื้นที่คืนเพื่อนำมาก่อสร้างสถานีกลางบางซื่อของรถไฟชานเมืองสายสีแดง (บางซื่อ-รังสิต) นั้น ทาง บขส.จะต้องไปบริหารจัดการ เช่น ย้ายไปอยู่รังสิตเป็นการชั่วคราว เพราะต่อไปย่านนี้จะเกิดปัญหารถติดมาก เนื่องจากการรถไฟฯจะต้องส่งมอบพื้นที่ให้ผู้รับเหมาก่อสร้างให้เสร็จในปี 2560 ล่าสุดการรถไฟฯให้ บขส.อยู่ได้แค่ชั่วคราวระหว่างหาพื้นที่ใหม่รองรับ โดย บขส.ต้องย้ายออกจากพื้นที่ให้หมดก่อนเดือนกันยายนปี 2560

"เมื่อ มีทางเลือกใหม่ บขส.ก็ต้องไปดู หากใช้พื้นที่ของกรมธนารักษ์ไม่ต้องเสียเงินไปซื้อที่ดินใหม่มาก่อสร้าง ให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องไปทำผลสรุปมาให้พิจารณาใน 2 สัปดาห์นี้ ก่อนเสนอให้ พล.อ.อ.ประจินพิจารณาเพื่อกำหนดเป็นนโยบายต่อไป" ปลัดกระทรวงคมนาคมกล่าว

นาย วุฒิชาติ กัลยาณมิตร กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บขส. จำกัด กล่าวว่า ปัจจุบัน บขส.ได้จ้างมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ศึกษาหาพื้นที่ในการย้ายสถานีขนส่งผู้โดยสารหมอชิตแห่งใหม่ มี 3 พื้นที่ให้เลือก คือ เมืองทองธานี ดอนเมือง และรังสิต จะใช้พื้นที่ก่อสร้าง 100 ไร่ขึ้นไป ใช้เงินลงทุน 4,000 ล้านบาท แยกเป็นค่าที่ดิน 1,500 ล้านบาท และค่าก่อสร้าง 2,500 ล้านบาท แต่ยังไม่สรุปพื้นที่จะเป็นที่ไหน แต่หากมีนโยบายไม่ให้ซื้อที่ใหม่ บขส.พร้อมดำเนินการตาม
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 16-09-2557 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.