| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 71 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 22-08-2557    อ่าน 1393
 บทเรียนตึกถล่มซ้ำซาก อย่าเป็นแค่ "วัวหายล้อมคอก"

กว่า 1 สัปดาห์นับจากเหตุการณ์ตึกคอนโดยูเพลส รังสิตคลอง 6 ถล่ม !ระหว่างก่อสร้างเมื่อ 11 สิงหาคมที่ผ่านมา กลายเป็นโศกนาฏกรรมฝังคนงานรวม 14 ชีวิต และมีผู้ได้รับบาดเจ็บอีกกว่า 20 ราย นำมาสู่คำถามว่าสังคมได้บทเรียนอะไร จากเหตุการณ์สูญเสียซ้ำซากที่ไม่ควรจะเกิดขึ้น

ย้อนรอยความสูญเสีย 7 เดือนเพราะนี่ไม่ใช่เหตุตึกถล่มครั้งแรกของปีนี้ เมื่อ 25 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา คนไทยช็อกกับเหตุการณ์ช่องบันไดอาคารสถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล จังหวัดสมุทรปราการ พังถล่มระหว่างก่อสร้างทับคนงานเสียชีวิต 10 ราย ทั้งที่มีรับเหมาบิ๊กเนม บมจ.อิตาเลียน-ไทย ดีเวล๊อปเมนต์ เป็นผู้ก่อสร้าง

ล่าสุดเคสนี้ เรื่องอยู่ที่คณะอนุกรรมการกลั่นกรอง สภาวิศวกร เพื่อพิจารณาว่าจะนำเรื่องเข้าสู่การไต่สวนนำไปสู่การพิจารณาบทลงโทษวิศวกร ผู้ควบคุมงานหรือไม่

จากนั้นถัดมาวันเดียว ก็เกิดเหตุแท็งก์น้ำยักษ์ของ บมจ.จัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก หรือ "อีสท์วอเตอร์" ระเบิดระหว่างทดสอบ เหตุเกิดที่ริมทางหลวงหมายเลข 7 อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี โชคดีที่ครั้งนี้ไม่มีผู้เสียชีวิต

สภาแจงไม่ได้นิ่งนอนใจสำหรับกรณีของ "คอนโดยูเพลส" ถล่ม สังคมกำลังจับตาเจ้าของโครงการ (บจ.โกลด์ พร้อพเพอร์ตี้) ผู้รับเหมาก่อสร้าง (บจ.ปลูกแปลง) และวิศวกรควบคุมงาน ซึ่งมีส่วนต้องรับผิดชอบ แม้ว่าสาเหตุการถล่มยังคลุมเครือว่าเกิดจากอะไรระหว่างกระบวนการก่อสร้างที่ มีจุดผิดพลาด หรือการใช้วัสดุที่ไม่ได้มาตรฐานโดยเฉพาะเหล็ก-ปูนจนเป็นเหตุให้ตึกถล่ม ซึ่งจากการตรวจสอบหาสาเหตุแท้จริงของตึกถล่ม จากที่ผ่านมายังเป็นเพียงข้อสันนิษฐานเบื้องต้นที่ออกมาหลากหลาย เช่น เร่งงานก่อสร้างทำให้การเชื่อมพื้นคอนกรีตกับเสายังไม่เซตตัวดี เมื่อเทคอนกรีตบนชั้น 6 และเกลี่ยคอนกรีตช้าเกินไป ทำให้รับน้ำหนักไม่ไหวพังถล่มลงมา, การใช้เหล็ก-ปูนที่ไม่ได้มาตรฐาน, การก่อสร้างไม่ตรงตามแบบ ฯลฯ ซึ่งต้องรอผลตรวจสอบ

จากเหตุการณ์นี้ "ดร.กมล ตรรกบุตร" นายกสภาวิศวกรระบุว่า สภาในฐานะผู้ควบคุมการประกอบวิชาชีพของวิศวกร 6.3 หมื่นรายที่ได้รับใบอนุญาต หลังจากนี้จะตั้งคณะกรรมการไต่สวนวิศวกรที่ควบคุมงาน โดยตั้งแต่วันแรกที่เกิดเหตุ สภาได้มอบหมายรองเลขาธิการสภา "รศ.ดร.อมร พิมานมาศ" ลงพื้นที่เก็บข้อมูลเพื่อหาสาเหตุการถล่ม

สิ่งที่พบคือ อาคารใช้การก่อสร้างแบบ...พื้นไร้คาน ซึ่งขั้นตอนการทำงานจะต้องเทพื้นให้เสร็จทีละชั้น แต่สันนิษฐานอาจเร่งงานไปเทคอนกรีตที่ชั้น 6 ในขณะที่การเชื่อมพื้นกับเสายังไม่เซตตัวแข็งแรงเพียงพอ

จี้ปมจรรยาบรรณวิศวกร

เพื่อ ไม่ให้เกิดโศกนาฏกรรมซ้ำรอย นายกสภาวิศวกรระบุว่าเรื่องจรรยาบรรณส่วนบุคคลของวิศวกรเป็นสิ่งสำคัญ เพราะก่อนได้รับใบอนุญาตก็ต้องผ่านการอบรมเรื่องจรรยาบรรณ ทั้งเรื่องการทำงาน สิ่งแวดล้อม และเรื่องอื่น ๆ ในระหว่างปฏิบัติหน้าที่ต้องมี "จิตสำนึก" เพื่อไม่ให้เกิดความสูญเสียกับชีวิตและทรัพย์สิน และการสอบเพื่อเลื่อนระดับใบอนุญาตก็จะต้องร่วมฝึกอบรมเรื่องจรรยาบรรณ ประกอบวิชาชีพ เพื่อเก็บคะแนนให้ถึงเกณฑ์สอบเลื่อนระดับได้

อย่างไร ก็ตาม กรณีควบคุมงานและมีทรัพย์สินเสียหายหรือมีผู้เสียชีวิต สภาจะตั้งคณะกรรมการไต่สวนหากผิดจริง กรณีให้การเป็นประโยชน์จะให้พักใช้อนุญาตสูงสุด 5 ปี ส่วนกรณีปฏิเสธแต่สอบสวนพบว่ามีความผิดจริงจะเพิกถอนใบอนุญาตตลอดชีวิต หรือกรณีรับงานโดยที่ยังไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ จะมีโทษปรับไม่เกิน 3 หมื่นบาท และจำคุกอีกไม่เกิน 6 เดือน

"การจะขันนอตเรื่องจรรยาบรรณ วิศวกร ต้องอาศัยความร่วมมือจากพันธมิตรคือสมาคมวิชาชีพต่าง ๆ ช่วยสอดส่อง และสิ่งสำคัญอยู่ที่ตัววิศวกร จิตสำนึกต้องมาจากภายใน เพราะกฎหมายบังคับได้แต่บทลงโทษภายนอก"

ส่วนการยกเครื่องกระบวนการ ออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ "ดร.กมล" มองว่าปัจจุบันมีความเข้มงวดอยู่แล้ว สิ่งที่ทำได้คือสภาจะทำหน้าที่กระตุ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดความตื่นตัว เพื่อไม่เกิดความเผอเรอซ้ำซาก

เร่ง กม.ลูกกำกับวิศวกร

"ประสงค์ ธาราไชย" อุปนายกสภาวิศวกร ให้ข้อมูลว่า ปัจจุบันกฎหมายยังไม่ได้กำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของวิศวกรที่ชัดเจน ดังนั้น สภาจะเร่งผลักดันกฎกระทรวง ซึ่งเป็นกฎหมายลูก พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 8 (13) เรื่องหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ออกแบบ ผู้ควบคุมงาน ผู้ดำเนินการ ผู้ครอบครอง และเจ้าของอาคาร

โดยจะ กำหนดหน้าที่วิศวกรควบคุมงานให้ชัดเจน แยกระหว่างวิศวกรควบคุมงานชั่วคราว และวิศวกรควบคุมงานถาวร (จนจบโครงการ) และกำหนดให้ผู้ออกแบบ วิศวกรควบคุมงาน วิศวกรก่อสร้าง เป็นคนละคนกัน จากปัจจุบันบางไซต์ใช้วิศวกรคนเดียวทำหลายหน้าที่ นอกจากนี้ ผู้ออกแบบต้องทำรายงานการออกแบบระบุชัดเจนว่าพื้นที่ออกแบบรองรับน้ำหนักได้ เท่าไหร่ และภาครัฐต้องเป็นผู้ตรวจคุณภาพงาน ส่วนผู้ก่อสร้างต้องทำแผนความปลอดภัยระหว่างก่อสร้างด้วย โดยความคืบหน้าปัจจุบันกรมโยธาธิการและผังเมืองพิจารณาร่างกฎกระทรวงแล้ว เสร็จ เตรียมเสนอคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณา จากนั้นจะส่งให้คณะรัฐมนตรีชุดใหม่อนุมัติ
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 22-08-2557 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.