| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 54 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 19-08-2557    อ่าน 1375
 ปฏิวัติ "ผังเมือง" ขยายอายุ 20 ปี จัดระเบียบ "ทำเลรับน้ำ" ห้ามก่อสร้าง

สัมภาษณ์พิเศษ

"ผังเมือง" เป็นเครื่องมือหนึ่งที่ช่วยสนับสนุนให้ภาครัฐและเอกชนสามารถกำหนดทิศทางการพัฒนาเมืองร่วมกันได้อย่างยั่งยืนและสวยงาม

แต่ในความเป็นจริงขั้นตอนก็ไม่ได้ราบรื่นเสมอไป เพราะการวางผังเมืองมีความสลับซับซ้อน ต้องใช้เวลานานตั้งแต่ต้นจนจบ ในตัวบทกฎหมายจึงกำหนดให้ประชาชนมีส่วนร่วม เพื่อให้เมืองหรือชุมชนเจริญเติบโตอย่างมีระเบียบและถูกสุขลักษณะ สามารถวางแนวทางการพัฒนาให้ล้อไปกับโครงการคมนาคมและขนส่งในอนาคตได้

การใช้ประโยชน์ที่ดินแต่ละแปลงแต่ละทำเลในทั่วทุกจังหวัดจึงต้องสมดุลระหว่าง "เศรษฐกิจ" และ "สิ่งแวดล้อม"

คสช.สั่งทบทวนเรื่องผังเมือง

ล่าสุด อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง "มณฑล สุดประเสริฐ" มีนโยบายชัดเจน ต้องการจะยกเครื่องกรอบความคิดเดิม ๆ หรือแก้ปัญหาค้างคาให้เดินหน้าต่อไปได้ อาทิ การแก้กฎหมายผังเมืองให้มีผลบังคับใช้นานถึง 20 ปี จากเดิมจะหมดอายุคราวละ 5 ปี ซึ่งกลับกลายเป็นอุปสรรคต่อการวางแผนและพัฒนา เพราะเกิดความไม่ต่อเนื่อง

ในที่สุดการสั่งรื้อ "ผังเมือง" ทุกจังหวัด พร้อมปรับปรุงรายละเอียดเรื่องการใช้ "ที่ดิน" ในทำเลใหม่ ๆ อาจเป็นทางออกของรัฐ ในการดักความเจริญล่วงหน้า ไม่ใช่ถูกความเจริญไล่ล่าอย่างที่เห็นกันในปัจจุบัน


มณฑล สุดประเสริฐ

ยิ่งในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา การลงทุนของภาครัฐในด้านโครงสร้างพื้นฐานมีการก่อสร้างเป็นรูปธรรมมากขึ้น โดยเฉพาะเมกะโปรเจ็กต์ ทั้งรถไฟฟ้า รถไฟทางคู่ มอเตอร์เวย์และทางด่วน ผังเมืองจึงต้องตามให้ทัน ไม่ควรซ้ำรอยจาก "บทเรียน" ในอดีตเมื่อปี 2554 จากมหาอุทกภัยที่สร้างความเสียหายมหาศาลในเชิงเศรษฐกิจและสังคม

"โมเดลใหม่" ของผังเมืองประเทศไทยจึงต้องสัมพันธ์และสอดคล้องกับแผนบริหารจัดการน้ำ โดยระบุพิกัดชัดเจน พื้นที่ไหนสร้างได้ สร้างไม่ได้ พร้อมตรึงจังหวัดใกล้แม่น้ำเจ้าพระยาให้เป็นพื้นที่รับน้ำ เริ่มตั้งแต่จังหวัดนครสวรรค์-นนทบุรี ที่ในอนาคตอันใกล้ทางกรมโยธาฯ จะออกกฎเข้มห้ามสร้างที่อยู่อาศัยและสิ่งกีดขวางทางน้ำ

จากเรื่องนี้ อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ทางกรมจะนำร่าง พ.ร.บ.การผังเมือง พ.ศ. 2518 ที่ปรับปรุงใหม่ให้ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ในเร็ว ๆ นี้ เพื่อพิจารณาอนุมัติ กำหนดอายุผังเมืองรวมให้มีผลบังคับใช้ 20 ปี จากเดิมบังคับใช้ 5 ปี ต่ออายุได้ 2 ครั้ง ครั้งละ 1 ปี รวม 7 ปี แต่ที่ผ่านมามีปัญหาหลังกระจายอำนาจให้หน่วยงานท้องถิ่นดำเนินการเอง ทำให้ผังเมืองที่ปรับปรุงไม่ทัน ขาดอายุจำนวนมากและเกิดสุญญากาศด้านการพัฒนาเมือง

"เดิมกรมโยธาฯ เสนอให้ผังเมืองรวมไม่มีวันหมดอายุ เพื่อให้ผังเมืองรวมที่ขาดอายุไปแล้วให้นำกลับมาบังคับใช้ได้ แต่ทางฝ่ายกฎหมายของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) มองว่า จะเป็นการรอนสิทธิ เพราะพัฒนาไม่ได้เต็มที่ จึงเสนอให้กรมมาทบทวนใหม่"

โดยเฉพาะประเด็นให้มีการกำหนดอายุการบังคับใช้ไว้ด้วย ในที่สุดทางกรมโยธาฯ เห็นว่าจะเสนอให้บังคับใช้ 20 ปี เพราะเหมาะสมที่สุดกับการวางผังพัฒนาเมือง แต่ให้สามารถขอได้ตลอดในระหว่างปีที่ 1-20

"หากพื้นที่นั้น ๆ มีการเปลี่ยนแปลง คาดว่ากฎหมายผังเมืองจะถูกหยิบมาพิจารณาโดยเร็ว เพราะเป็นเรื่องสำคัญเร่งด่วนที่เกี่ยวกับการพัฒนาเมืองที่เติบโตเร็วมาก"

วางแผนคู่กับเมกะโปรเจ็กต์

นายมณฑลกล่าวอีกว่า ปัจจุบันผังเมืองรวมจังหวัดประกาศใช้แล้ว 20 จังหวัด อยู่ระหว่างดำเนินการปรับปรุงใหม่ 53 จังหวัด (ยกเว้นกรุงเทพฯ นนทบุรี สมุทรปราการ และภูเก็ต อยู่ในกลุ่มผังเมืองรวมเมือง) ส่วนผังเมืองรวมเมืองและผังเมืองรวมชุมชนมี 201 ผัง ประกาศบังคับใช้แล้ว 191 ผัง และหมดอายุแล้ว 80 ผัง

"ผังที่ขาดอายุกรมจะให้ท้องถิ่นออกข้อบัญญัติควบคุมอาคารมาคุมการขออนุญาตก่อสร้าง แต่ก็มีบางท้องถิ่นที่ยังล่าช้า ทำให้เกิดการพัฒนาแบบไร้ระเบียบในบางพื้นที่"

ดังนั้นสิ่งที่จะดำเนินการควบคู่ไปด้วย กรมโยธาฯจะให้ทุกจังหวัดเร่งปรับปรุงผังเมืองรวมให้สอดรับกับสถานการณ์ปัจจุบัน เช่น โครงการลงทุนเมกะโปรเจ็กต์ตามยุทธศาสตร์โครงสร้างพื้นฐานและการคมนาคมขนส่งของไทย ทั้งรถไฟทางคู่ รถไฟฟ้า มอเตอร์เวย์ เป็นต้น

"กรมจะดูผังเมืองว่าตรงไหนจะต้องปรับปรุงรอบ ๆ สถานีรถไฟทางคู่ เพราะทางคู่จะเน้นการขนส่งสินค้าและการเดินทางระยะไกลให้ใช้เวลาน้อยลงกว่าเดิม จะปรับอะไรที่จะให้สอดคล้องกับสิ่งที่จะเกิดขึ้น เช่น บริเวณศูนย์กระจายสินค้า (CY) กระจายตามแนวเส้นทางรถไฟทางคู่ จะส่งเสริมการพัฒนายังไง"

กันพื้นที่ต้องห้ามเพื่อรับน้ำ

นอกจากนี้กรมโยธาฯ ยังได้นำแผนบริหารจัดการน้ำตามที่ คสช.มีนโยบายให้เร่งรัดดำเนินการ โดยให้บรรจุเข้าไปไว้ในผังเมืองรวมด้วย เพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาในอนาคต เช่น บริเวณไหนกำหนดให้เป็นพื้นที่รับน้ำจะไม่มีการส่งเสริมให้ทำกิจกรรมก่อสร้างที่อยู่อาศัย หรือสิ่งปลูกสร้างที่เป็นสิ่งกีดขวางทางน้ำเป็นอันขาด

"ผังเมืองรวมที่ให้ปรับปรุงนี้จะเป็นโมเดลใหม่ จะกำหนดรายละเอียดให้เห็นเลย จากเดิมจะกำหนดแค่รายละเอียดการใช้ประโยชน์ที่ดินที่จะกำหนดเป็นสีต่าง ๆ และโครงข่ายคมนาคม แต่โมเดลใหม่จะมีทั้งการกำหนดสีผัง โครงข่ายคมนาคม พื้นที่โล่ง พื้นที่เสี่ยงอุทกภัย สวนสาธารณะ ชาวบ้านหรือคนที่เป็นเจ้าของที่ดินจะได้รู้ว่าตรงไหนทำอะไรได้บ้าง"

อธิบดีกรมโยธาฯ ขยายความว่า โดยมาตรการควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดินให้เป็นไปตามกฎกระทรวงผังเมืองรวม ที่จะนำมาประกอบการทำผังใน "โมเดลใหม่" นั้นจะประกอบด้วย

1.การกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินให้เป็นพื้นที่โล่งและพื้นที่แหล่งน้ำ เพื่อควบคุมกิจกรรมการใช้ประโยชน์ที่ดินให้สอดคล้องกับภูมิประเทศ แนวน้ำท่วมหลาก พื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วม และพื้นที่รับน้ำ ซึ่งในผังจะกำหนดเป็นที่ดินประเภทที่โล่งเพื่อนันทนาการและการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ที่ดินประเภทที่โล่งเพื่อการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมและพื้นที่ชุ่มน้ำและที่ดินประเภทที่โล่งเพื่อการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม

2.การควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดินให้มีความหนาแน่นน้อยที่สุด เพื่อให้มีการอยู่อาศัยและกิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างเบาบาง รักษาพื้นที่ชนบทและเกษตรกรรมและเป็นพื้นที่รับน้ำ จะกำหนดเป็นที่ดินประเภทสีเขียวชนบทและเกษตรกรรม (สีเขียว) และที่ดินประเภทอนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรม (สีเขียวทแยงขาว)

3.กำหนดระยะถอยร่นจากริมแม่น้ำ คูคลอง และแหล่งน้ำสาธารณะ เพื่อเป็นพื้นที่รับน้ำ ป้องกันสิ่งปลูกสร้างรุกล้ำลำน้ำและกีดขวางทางระบายน้ำ เช่น อาคารที่อยู่อาศัย พาณิชยกรรม โรงงานอุตสาหกรรม จะกำหนดเป็นที่ดินประเภทที่โล่งเพื่อนันทนาการและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม (สีเขียวอ่อน) เช่น อยู่ติดแม่น้ำน้อยกว่า 10 เมตร ถอยร่นไม่น้อยกว่า 3 เมตร มากกว่า 10 เมตร ไม่น้อยกว่า 6 เมตร และไม่น้อยกว่า 12 เมตร ถ้าติดแม่น้ำขนาดใหญ่

อย่างไรก็ตาม แหล่งข่าวในกรมโยธาธิการและผังเมืองคาดการณ์ว่า แนวโน้มพื้นที่ที่จะกำหนดเป็น "พื้นที่รับน้ำ" น่าจะเป็นจังหวัดที่เกิดน้ำท่วมทุกปี โดยเฉพาะพื้นที่ที่อยู่ทางตอนต้นของแม่น้ำเจ้าพระยาลงมาจนถึงอ่าวไทย ตั้งแต่นครสวรรค์ ชัยนาท อุทัยธานี จนถึงนนทบุรี
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 19-08-2557 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.