| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 97 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 18-08-2557    อ่าน 1364
 สภาวิศวกรล้อมคอกตึกถล่ม รื้อระบบ-เข้มต่อใบอนุญาต

ตึกถล่มที่คลอง 6 กระทบภาพลักษณ์วิชาชีพวิศวกร อุปนายกสภาวิศวกรเล็งขอแก้กฎหมายระบบต่ออายุใบอนุญาตฯ วิศวกร 6.3 หมื่นราย ต้องติวเข้ม-ฝึกอบรมเก็บคะแนนฟื้นความเชื่อมั่น เปิดสถิติ 15 ปีเพิ่งถูกเพิกถอนใบอนุญาต 6 ราย สวนทางเหตุตึกถล่มซ้ำซาก

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากเหตุการณ์ตึกยูเพลสคอนโด ความสูง 6 ชั้น ใกล้กับมหาวิทยาลัยราชมงคลธัญบุรี บนถนนเลียบคลองหก อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี ของบริษัท โกลด์พร้อพเพอร์ตี้ จำกัด เกิดพังถล่มลงมาทั้งหลังระหว่างการก่อสร้างถึงชั้น 6 และมีผู้เสียชีวิตกว่า 10 ราย บาดเจ็บกว่า 20 ราย นำมาสู่การตั้งสมมติฐานถึงการทำงานของวิศวกรควบคุมงานและผู้รับเหมาก่อสร้าง ว่ามีความประมาทหรือไม่ ซึ่งจำเป็นจะต้องมีการตรวจสอบเพื่อหาผู้รับผิดชอบเหตุการณ์ดังกล่าว

ขันนอตใบอนุญาตวิศวะ

นายการุญ จันทรางศุ อุปนายกสภาวิศวกรคนที่ 1 กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า จากเหตุการณ์ตึกยูเพลสคอนโด จ.ปทุมธานี ถล่มระหว่างก่อสร้าง ยอมรับว่ามีผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในตัววิศวกรผู้ควบคุมงานและผลกระทบต่อวิชาชีพวิศวกร คงจะต้องมีการดูแลเข้มงวดมากขึ้น เพื่อพิสูจน์ว่าวิศวกรมีความรู้ความสามารถสมกับที่ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพอย่างแท้จริง

ปัจจุบันมีวิศวกรที่ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพรวม 6.3 หมื่นคน แบ่งเป็น 3 ระดับ คือ 1.ใบอนุญาตระดับภาคีวิศวกร เป็นใบอนุญาตขั้นต้นสำหรับวิศวกรใหม่ 2.ระดับสามัญวิศวกร เมื่อทำงานมาครบ 3 ปี เก็บคะแนนฝึกอบรมได้ตามเกณฑ์จึงมีสิทธิ์สอบเลื่อนระดับ 3.ระดับวุฒิวิศวกร ต้องเป็นสามัญวิศวกรครบ 5 ปี เก็บคะแนนฝึกอบรมถึงเกณฑ์จึงมีสิทธิ์สอบเลื่อนระดับ ซึ่งกระบวนการจัดสอบทำอย่างเข้มงวด

อย่างไรก็ตาม การป้องกันปัญหาเพื่อไม่ให้เกิดเหตุแบบวัวหายล้อมคอก สภาวิศวกรมองว่าคงต้องขึ้นอยู่กับจรรยาบรรณของวิศวกรเป็นหลัก จะต้องมีการปลูกฝังเรื่องนี้อย่างเข้มข้นตั้งแต่เป็นนิสิต สิ่งที่สภาวิศวกรทำได้คือเพิ่มความเข้มข้นเกี่ยวกับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ แนวทางปฏิบัติในขั้นตอนการออกใบอนุญาตหรือสอบเลื่อนระดับได้นำระบบฝึกอบรมเก็บคะแนนมาใช้เพื่อให้วิศวกรพัฒนาตนเองอยู่เสมอ

"สำหรับการต่ออายุใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรทั้ง 6.3 หมื่นรายทุก ๆ 5 ปี ยังไม่ได้นำระบบฝึกอบรมเก็บคะแนนมาใช้ ถือเป็นหนึ่งในมาตรการที่ควรนำมาใช้เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือในการต่อใบอนุญาต เพราะวิศวกรบางคนอาจจะทำงานเพียงเล็กน้อยแต่ก็สามารถต่อใบอนุญาตได้ แต่เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ หากจะเปลี่ยนระเบียบจำเป็นจะต้องแก้ไข พ.ร.บ.สภาวิศวกร พ.ศ. 2542 ด้วย" นายการุญกล่าว

15 ปีเพิกถอนใบแค่ 6 ราย

แหล่งข่าวจากสภาวิศวกรเปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า สถิติของสภาวิศวกรช่วง 15 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ก่อตั้งเมื่อปี 2542 จนถึงปัจจุบัน มีวิศวกรถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพจำนวน 6 ราย ได้แก่ 1.ปี 2545 ถูกเพิกถอนจากกรณีปล่อยให้ก่อสร้างอาคารพาณิชย์ย่านถนนจรัญสนิทวงศ์ผิดแบบ จงใจหลีกเลี่ยงกฎหมาย 2.ปี 2545 กรณีละทิ้งงานก่อสร้างชั้นวางเครื่องปรับอากาศโดยไม่มีเหตุอันควร เป็นเหตุให้งานก่อสร้างไม่ตรงตามแบบเกิดพังทลาย มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจำนวนมาก

3.ปี 2545 กรณีออกแบบและคำนวณฐานรากป้ายโฆษณาบริเวณ อ.บางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา ไม่ถูกต้องตามหลักปฏิบัติ เป็นเหตุให้ป้ายโฆษณาล้มทับบ้านมีผู้เสียชีวิต 4.กรณีออกแบบและควบคุมงานก่อสร้างตึกแถว 3 ชั้น ย่านบางขุนเทียนไม่ถูกต้อง ทำให้อาคารทรุดแตกร้าวและหลีกเลี่ยงการนัดไต่สวน 5.ปี 2548 กรณีออกแบบอาคารเรียนสูงเกิน 3 ชั้น ย่านถนนร่มเกล้า ซึ่งวิศวกรที่ถือใบอนุญาตระดับภาคีวิศวกรไม่สามารถออกแบบได้ มีการติดสินบนเจ้าพนักงานเพื่อออกใบอนุญาตอาคาร และ 6.กรณีเลือกใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าไม่มีประสิทธิภาพในงานออกแบบและควบคุมงานก่อสร้างสถานีไฟฟ้าใน จ.ปทุมธานี พร้อมติดตั้งแบบเทิร์นคีย์ที่ไม่มีประสิทธิภาพ โดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยจนเกิดระเบิดที่ห้องควบคุม มีผู้เสียชีวิตและทรัพย์สินเสียหายจำนวนมาก

ส่วนกรณีพักใช้ใบอนุญาต ตั้งแต่ 6 เดือน-5 ปี เกิดจากกรณีทำความผิดจริงแต่ไม่ได้เกิดจากความประมาท หรือยินดีให้การที่เป็นประโยชน์ นับจากปี 2542-ปัจจุบัน มีจำนวน 88 ราย

แหล่งข่าวกล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันมีกรณีที่สภาอยู่ระหว่างการตรวจสอบวิศวกรในชั้นต้น เพื่อพิจารณาบทลงโทษโดยอนุกรรมการกลั่นกรองอีก 70 เรื่อง มีวิศวกรที่เกี่ยวข้อง 80 ราย อยู่ระหว่างไต่สวนโดยอนุกรรมการไต่สวนอีก 15 เรื่อง รวม 20 ราย ใช้เวลาไต่สวนครั้งละ 60 วัน และให้ขยายอายุได้อีก 3 ครั้ง ครั้งละไม่เกิน 60 วัน รวมสูงสุดไม่เกิน 240 วัน

ก่อนหน้านี้ เหตุตึกถล่มเกิดขึ้นที่ไซต์ก่อสร้างโรงพยาบาลรามาธิบดี อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ โดยปล่องบันไดอาคารถล่มระหว่างก่อสร้างเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา มีผู้เสียชีวิตร่วม 10 ราย ซึ่งปรากฏรายชื่อกลุ่มบริษัท ACSE100 Consortium เป็นผู้ควบคุมงาน ปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนการตรวจสอบในชั้นต้นโดยอนุกรรมการกลั่นกรอง หากพบว่ามีมูลจะส่งเรื่องให้อนุกรรมการไต่สวนต่อไป ทั้งนี้ กรณีควบคุมโดยความประมาทจนเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต จะได้รับโทษสูงสุดคือเพิกถอนใบอนุญาต

วสท.รุดตรวจสอบพื้นที่

รศ.เอนก ศิริพานิชกร ประธานสาขาวิศวกรรมโยธา สมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ (ว.ส.ท.) เปิดเผยว่า จากการร่วมคณะลงพื้นที่ตรวจสอบจุดเกิดเหตุตึกยูเพลส คอนโด ได้ดูแบบอาคารเบื้องต้นไม่พบจุดผิดปกติ แต่หลังจากสำรวจโครงสร้างเสาอาคารที่อยู่ข้างเคียงแต่ยังไม่ถล่มลงมาบริเวณชั้น 5-6 มีข้อสันนิษฐานเบื้องต้นว่า ตำแหน่งของพื้นอาคารที่วางบนเสาอาจปรับตำแหน่งจากแบบเล็กน้อย ทำให้การรับน้ำหนักไม่ดีพอ อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ต้องรอผลตรวจสอบที่ชัดเจนอีกครั้ง

ขณะเดียวกันตั้งข้อสันนิษฐานว่า ช่วงที่เทพื้นคอนกรีตชั้น 6 คนงานอาจเกลี่ยคอนกรีตให้กระจายช้าเกินไป อาจส่งผลให้พื้นที่บริเวณที่เทคอนกรีตรับน้ำหนักมากเกินไป ณ จุดจุดเดียวและพังถล่มลงมา ซึ่งตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคารกำหนดให้อาคารชุดพักอาศัยจะต้องรับน้ำหนักได้ 400 กิโลกรัมต่อตารางเมตร แต่ถ้ามีกรณีเทคอนกรีตกองสูง 25 เซนติเมตร เท่ากับพื้นบริเวณนั้นจะต้องรับน้ำหนักถึง 600 กิโลกรัม และอาจเป็นหนึ่งในสาเหตุอาคารถล่มได้
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 18-08-2557 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.