| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 73 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 12-08-2557    อ่าน 1410
 โมเดลรถญี่ปุ่นรุกเมกะโปรเจ็กต์ โหมโรงสายสีม่วง "บางซื่อ-บางใหญ่"

ในที่สุด "รฟม.-การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย" เผยโฉมหน้าโมเดลรถไฟฟ้าต้นแบบ (Mockup) ที่ "BMCL-บมจ.รถไฟฟ้ากรุงเทพ" ผู้รับสัมปทานเดินรถสายสีม่วง (บางซื่อ-บางใหญ่) จะนำมาวิ่งบริการหลังกลางปี 2559



หลังปล่อยให้ลุ้นงานโครงสร้างโยธาแบบใจหายใจคว่ำ ที่ผู้รับเหมาสร้างผลงานดีเลย์ซ้ำซากจนต้องเลื่อนการเปิดให้บริการมาแล้ว 2 ครั้ง 2 ครา จากเดิมมีกำหนดเปิดปี 2557 เลื่อนเป็นปี 2558 ล่าสุดเป็นปี 2559 หลังมีสารพัดปัญหามากระทบชิ่งแผนงานก่อสร้างรถไฟฟ้าสายนี้ยาวนานกว่าเดิม นับจากปี 2553 ถึงขณะนี้นับว่าเข้าสู่ปีที่ 5 แล้ว

เปิดสถิติก่อสร้างล่าสุด ภาพรวมคืบหน้า 92% ล่าช้าอยู่ 0.82% โดยสัญญาที่ 1 ทางยกระดับช่วงบางซื่อ-เตาปูน-สะพานพระนั่งเกล้า คืบหน้า 99.69% ช้ากว่าแผน 0.04% สัญญาที่ 2 ทางยกระดับช่วงสะพานพระนั่งเกล้า-คลองบางไผ่ คืบหน้า 95.62% เร็วกว่าแผน 1.67%

สัญญาที่ 3 งานศูนย์ซ่อมบำรุงและอาคารจอดรถ คืบหน้า 75.12% ช้ากว่าแผน 10.37% ซึ่งไซต์นี้มีอาการน่าเป็นห่วง และมีทีท่าจะฉุดสัญญาที่ 4 และ 6 ล่าช้าตามไปด้วย ปัญหาหลักมาจากการผลิตและติดตั้งโครงสร้างเหล็กและหลังคา รวมถึงขาดแคลนแรงงานมีฝีมือ ล่าสุด "รฟม." เร่งรัดผู้รับเหมาให้ก่อสร้างแล้วเสร็จวันที่ 18 มกราคม 2558 ตามที่ขยายเวลาให้

ส่วนสัญญาที่ 4 จัดหาระบบรถไฟฟ้า คืบหน้า 25.71% เร็วกว่าแผน 5.40% สัญญาที่ 5 งานเดินรถ 1 สถานี จากบางซื่อ-เตาปูน รอการอนุมัติจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จ้าง "BMCL" เดินรถ 16 ปี เท่ากับสัมปทานของรถใต้ดินสายปัจจุบันที่ยังเหลืออยู่ เพื่อรับ-ส่งคนจากสถานีบางซื่อมาที่สถานีเตาปูน เนื่องจากระบบรถไฟฟ้ามาวิ่งสายสีม่วงจะไม่เชื่อมต่อกับระบบเดิม และสุดท้ายสัญญาที่ 6 งานระบบราง คืบหน้า 68.38% เร็วกว่าแผน 0.48%

โดยงานโยธาจะแล้วเสร็จภายในปีนี้ ขณะที่การเปิดบริการ "BMCL" ประเมินไว้...เร็วสุดปลายไตรมาสที่ 3 หรือประมาณเดือนกันยายน-ตุลาคม 2559 อย่างช้าเดือนธันวาคม ตามที่กำหนดไว้ในสัญญา เพราะระบบมีกว่า 15,000 รายการ ต้องทดสอบให้มั่นใจจนเนี้ยบก่อน ถึงจะเปิดหวูดได้

ซึ่งตามแผนงาน ขบวนรถเริ่มทยอยมาต้นปี 2558 จะครบ 63 ตู้ หรือ 21 ขบวนในเดือนมิถุนายน จะใช้เวลาทดสอบระบบ 9 เดือน ใน 3 เดือนแรกเป็นการทดสอบแยกระบบ จากนั้นทดสอบเต็มระบบ 3 เดือน และอีก 3 เดือนสุดท้ายจะเป็นการทดสอบเสมือนจริง จะให้ผู้โดยสารมาใช้บริการได้แบบไม่เสียเงิน จะพร้อมบริการแบบเต็มในวันที่ 5 ธันวาคม 2559

ดังนั้น เป้าหมายที่ทั้ง "สร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์" ปลัดกระทรวงคมนาคม และบิ๊ก รฟม. "ยงสิทธิ์ โรจน์ศรีกุล" หมายมั่นจะทดสอบได้ปลายปีหน้าดูท่าจะริบหรี่เต็มที่

"การเปิดบริการต้องพร้อม เพราะฝ่ายเดินรถต้องเทรนพนักงานกว่า 1,000 คนให้ได้มาตรฐานเดียวกัน งานระบบเป็นปัจจัยสำคัญ ต้องแม่นยำ เราอยากจะเปิดเร็วที่สุด ยิ่งเร็วเราก็ได้ค่าจ้างและผู้โดยสารเพิ่มขึ้น คาดว่าปลายปี"59 มีรายได้ค่าจ้างเข้ามา 700 ล้านบาท จากทั้งปี 1,700 ล้านบาท มีผู้โดยสารมาเติมรถไฟฟ้าใต้ดินที่เราได้สัมปทานอีกวันละ 7-8 หมื่นคน" นายสมบัติ กิจจาลักษณ์ เอ็มดี BMCL กล่าวย้ำ

แต่ระหว่างรอความชัดเจน...จะเปิดปีไหน ตอนนี้ก็ยลโฉมโมเดลรถไฟฟ้าไปพลาง ๆ ก่อน ถึงจะไม่ใช่ของจริง แต่ผู้ผลิตหลักจากแดนปลาดิบ "J-TREC-บจ.เจแปน ทรานส์ปอร์ต เอ็นจิเนียริ่ง" ที่กิจการร่วมค้ามารุเบนิ-โตชิบา ผู้จัดหาระบบรถไฟฟ้าคัดเลือกมาผลิตรถให้ "BMCL" ตั้งใจนำรถต้นแบบมาโชว์ให้คนไทยได้เห็นฝีไม้ลายมือไม่แพ้ผู้ผลิตจากยุโรป

เพราะเป็นครั้งแรกที่ผู้ผลิตจากญี่ปุ่นสามารถเปิดตลาดในประเทศไทยได้สำเร็จ หลังเมื่อกว่า 10 ปีที่ผ่านมาแพ้ทางให้ "บริษัท ซีเมนส์ จำกัด" ยักษ์ใหญ่จากประเทศเยอรมนีที่คว้าสัญญารถไฟใต้ดินสายแรกไปครอง และกินรวบไปถึงสายแอร์พอร์ตเรลลิงก์

ส่วน "รถไฟฟ้าเมดอินเจแปน" จะตีตลาดไทยแลนด์จนคว้าเค้กสายสี "เขียว-แดง-น้ำเงิน-ชมพู-ส้ม-เหลือง" ที่ รฟม.จ่อซื้ออีกกว่า 753 ตู้ได้อีกหรือไม่ ยังต้องลุ้น เพราะเวลานี้ประเทศไทยไม่ใช่มีแค่รถไฟฟ้าเมดอินเยอรมนี ยังมีจากประเทศจีน ที่ "เจ้าพ่อบีทีเอส-คีรี กาญจนพาสน์" นำมาบุกตลาด หลังไม่ค่อยปลื้มเจ้าเดิม

สำหรับรูปโฉมภายนอกของรถไฟฟ้าญี่ปุ่นรุ่นนี้ออกแบบโดย "GKLD" ซึ่งทาง "บิ๊ก BMCL" ยอมรับว่า รูปลักษณ์ภายนอกอาจจะไม่เฉี่ยวมากนัก เพราะเน้นฟังก์ชั่นเป็นหลัก และเป็นรถไฟฟ้าที่วิ่งในเมือง ความเร็วสูงสุด 80 กม./ชม. ไม่จำเป็นตองใช้รถไฟแบบหัวจรวดมาวิ่งบริการ แต่สิ่งที่น่าสนใจคือความรู้สึกที่เมื่อเข้าไปในตัวรถแล้วมากกว่า เพราะมีหลายอย่างที่ออกแบบมาให้ดีขึ้น ไม่ว่าที่นั่ง ราวมือจับ พื้นที่รถเข็น ทุกชิ้นผลิตมาจากญี่ปุ่นทั้งหมด สนนราคาอยู่ที่ 200 ล้านบาท/ขบวน

"ยังไม่ตัดสินใจจะเลือกรูปแบบไหน จากผู้ผลิตนำมาให้เลือก 3 แบบ 3 สี (แถบข้างตัวรถ) มีสีแดง น้ำเงิน และม่วง ขณะที่ตัวบอดี้จะเท่ากับซีเมนส์ ส่วนความจุผู้โดยสารพอ ๆ กัน อยู่ที่ขบวนละ 900 คน"

ถึงไม่ใช่โฉมหน้าสมบูรณ์แบบ แต่เป็นการโหมโรงเรียกกำลังใจให้คน "เมืองนนท์" ที่เฝ้ารอมาหลายปี เร่งนับวันให้วันนั้นมาถึงโดยเร็ว
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 12-08-2557 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.