| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 45 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 09-08-2557    อ่าน 1395
 ปลดแอก"หนี้รถไฟ"แสนล้าน เจรจาคลังเช่าที่ดินทำเลทอง-วัดใจคสช.พลิกโฉมระบบรางไทย

บอร์ด ร.ฟ.ท.ไฟเขียวแผนฟื้นฟูกิจการ ปลดแอกหนี้กว่า 1 แสนล้านใน 10 ปี ชง คสช.พิจารณา 4 แนวทางเสนอคลังตัดหนี้เป็นศูนย์ ควบคู่รัฐรับภาระ "โครงสร้างพื้นฐาน-หนี้เก่า-บำนาญ-ค่าซ่อมบำรุง" ขอยกเลิกมติ ครม.ให้รับคนเพิ่ม จับตายกที่ดินทำเลทอง "มักกะสัน-แม่น้ำ" เซ็งลี้หนี้ให้คลัง ตั้งพร็อพเพอร์ตี้ฟันด์มาบริหาร พ่วงขอบริหารรถไฟฟ้าสายสีแดงเองหวังเพิ่มรายได้

นายออมสิน ชีวะพฤกษ์ ประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมบอร์ดเมื่อ 1 สิงหาคมที่ผ่านมา เห็นชอบแผนฟื้นฟูกิจการเพื่อนำเสนอต่อนางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม และคณะอนุกรรมการกลั่นกรองแผนการแก้ไขปัญหารัฐวิสาหกิจพิจารณา



4 ทางเลือกปลดแอกหนี้

ทั้งนี้ ร.ฟ.ท.เป็นหนึ่งในรัฐวิสาหกิจที่ต้องแก้ไขปัญหาเร่งด่วนตามนโยบายคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เพราะมีภาระหนี้สูง ข้อมูล ณ 30 กันยายน 2556 อยู่ที่ 109,317 ล้านบาท (ดูกราฟิก) แนวทางจะแก้ปัญหาหนี้สินโดยบูรณาการไปตาม 4 สถานการณ์ ซึ่งไม่รวมหนี้แอร์พอร์ตลิงก์ เป็นแผน 10 ปีนับจากปี 2558-2567

สำหรับ 4 สถานการณ์ ได้แก่ สถานการณ์ที่ 1 ภายในปี 2563 จะมีอีบิตด้า (กำไรก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี และค่าเสื่อม) เป็นบวก แต่กำไรสุทธิไม่มี สถานการณ์ที่ 2 คาดว่าจะทำให้อีบิตด้าเป็นบวกภายในปี 2563 แต่กำไรสุทธิติดลบ 2,400 ล้านบาทในปี 2567

สถานการณ์ที่ 3 กำหนดราคาให้บริการสะท้อนต้นทุนแท้จริง โดยปรับต้นทุนรถบริการสาธารณะ เชิงพาณิชย์และขนส่ง โดยปรับค่าโดยสารและค่าระวางเพิ่ม 10% หลังจากรถไฟทางคู่สร้างเสร็จคาดว่าจะทำให้ภายในปี 2563 มีอีบิตด้าเป็นบวก 163 ล้านบาท แต่กำไรสุทธิเกือบบวก

ในปี 2567 และสถานการณ์ที่ 4 รัฐบาลรับภาระให้ทั้งหมด คาดว่าจะทำให้อีบิตด้าเป็นบวกในปี 2562 จำนวน 663 ล้านบาท มีกำไรภายในปี 2563 จำนวน 2,668 ล้านบาทขอคลังเห็นใจตัดหนี้เป็นศูนย์

"บอร์ดอยากได้แนวทางที่ 4 คือ ตัดหนี้เป็นศูนย์ ให้รัฐบาลรับภาระหนี้แสนกว่าล้านไปเลย จะต้องหารือกับคมนาคม คลัง และสภาพัฒน์ ยอมรับว่าแนวทางต่าง ๆ จะแฟร์สำหรับการรถไฟฯเพราะเอาเข้าจริงเรื่องชดเชยค่ารถไฟฟรี 164 ขบวนได้รับเงินชดเชยแค่ 50% ขณะที่การลงทุนต่าง ๆ เป็นนโยบายของรัฐ เช่น แอร์พอร์ตลิงก์ที่ให้การรถไฟฯกู้ทำให้รับภาระมาก คาดว่าแผนฟื้นฟูนี้จะได้รับความเห็นชอบจาก คสช.เพราะมีนโยบายให้ความสำคัญกับระบบรางมาก" นายออมสินกล่าวและว่า

สำหรับการบริหารทรัพย์สินหรือที่ดินยังไม่ลงรายละเอียดมากนัก เพียงแต่รายงานเป็นหลักการว่ามีที่ดินบริเวณไหนและเท่าไหร่ ส่วนแนวคิดนำที่ดินสถานีมักกะสันและแม่น้ำไปแลกหนี้กับกระทรวงการคลังเป็นอีกทางเลือกหนึ่งจะต้องหารือร่วมกันรวมถึงการตีมูลค่าทรัพย์สินและรายได้

"การบริหารจัดการมีหลายแนวทางอาจตั้งเป็นพร็อพเพอร์ตี้ฟันด์ให้เอกชนร่วมลงทุนหรือให้เอกชนลงทุนทั้งหมดแต่ที่ดินยังคงเป็นของการรถไฟฯ"ปูด 4 สาเหตุต้นตอหนี้ท่วมหัว

แหล่งข่าวจาก ร.ฟ.ท. เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ภาระหนี้และสถานะการเงินของ ร.ฟ.ท.เกิดจากปัญหา 4 ด้านหลัก คือ 1.การดำเนินการเกิดจากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่ไม่มีการลงทุนใหม่ 2.การบริหารจัดการ เช่น บริหารทรัพย์สิน 234,976 ไร่ยังไม่เกิดประโยชน์สูงสุด มีปัญหาข้อมูลกรรมสิทธิ์ไม่สามารถตรวจสอบได้ชัดเจน ขาดความชำนาญในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ และไม่สามารถจัดเก็บค่าเช่าได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย โดยปี 2556 มีรายได้เพียง 1,665 ล้านบาท

3.การขาดแคลนบุคลากร เนื่องจากมีมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ปี 2541 ให้รับพนักงานใหม่ได้ไม่เกิน 5% ของจำนวนพนักงานเกษียณอายุ แต่ละปีมีผู้เกษียณประมาณ 450 คน คาดว่าในปี 2557-2566 จะมีผู้เกษียณ 4,458 คน ร.ฟ.ท.จะต้องเตรียมความพร้อมเรื่องอัตรากำลังเพื่อรองรับโครงการลงทุนใหม่ เช่น รถไฟทางคู่ รถไฟฟ้าสายสีแดง

4.ด้านการเงิน ปัจจุบัน ร.ฟ.ท.มีค่าใช้จ่ายบำรุงรักษาโครงสร้างพื้นฐานล่าสุดปี 2556 อยู่ที่ 3,775 ล้านบาท อีกทั้งได้รับเงินอุดหนุนบริการสาธารณะ เช่น รถไฟฟรี แต่ไม่ครอบคลุมต้นทุนแท้จริง รวมถึงได้รับชดเชยผลการขาดทุนล่าช้า มีดอกเบี้ยจ่ายปีละ 3,000 ล้านบาท อีกทั้งยังมีภาระบำนาญที่ต้องจ่ายให้พนักงานรายสุดท้ายในปี 2605 คิดเป็นมูลค่า 65,860 ล้านบาทจับตายกที่ดินแลกหนี้

"การแก้ปัญหาจาก 4 สถานการณ์ตามมติบอร์ด เป็นไปได้มากที่สุดคือแนวทางที่ 2 รัฐรับภาระหนี้เก่าไปทั้งหมดกว่า 7 หมื่นล้านบาท กับแนวทางที่ 4 ยกหนี้แสนล้านทั้งหมดให้รัฐรับภาระ จะเหมือนกรมทางหลวง คือ รัฐลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ส่วน ร.ฟ.ท.มีหน้าที่บริหาร"

อย่างไรก็ตาม ในที่ประชุมมีกรรมการบางรายเสนอแนะว่า ข้อเสนอยกภาระหนี้ทั้งหมดทางกระทรวงการคลังคงไม่ยอมรับทั้งหมด อาจจะต้องมีอะไรแลกเปลี่ยนหรือไม่ เช่น ที่ดิน มาตัดหนี้ให้เป็นศูนย์ เนื่องจากมองว่าถ้าคลังจะรับภาระหนี้ให้ตั้งแต่แรกคงไม่ปล่อยค้างคามาจนถึงทุกวันนี้

งัดสารพัด "ลดรายจ่าย" รื้อเดินรถ-ตัดโอที-ขึ้นค่าเช่า

นอก จาก 4 ทางเลือกที่จะเสนอให้ คสช.เห็นชอบแล้ว "ร.ฟ.ท." ยังพ่วงมาตรการระยะสั้น(6 เดือน-1 ปี) ระยะกลาง (1-2 ปี) ระยะยาว (3 ปีขึ้นไป) สำหรับการ"ลดรายจ่าย-เพิ่มรายได้" ที่ผ่านมติบอร์ดแล้ว และเป็นส่วนหนึ่งที่ปิดผนึกไปกับ 4 ทางเลือกเพื่อความอยู่รอดขององค์กรโดยมาตรการเพิ่มรายได้-ลด

รายจ่าย ตั้งอยู่บนฐานงบฯกำไรขาดทุนปี 2556 ที่มีผลขาดทุนสุทธิ 10,457 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นค่าใช้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงและบุคลากร เริ่มจาก"การดำเนินงาน" อาทิ ปรับปรุงจัดเดินขบวนรถโดยสารและสินค้าทั้งระบบ เพื่อยุบรวม-ยกเลิกขบวนที่มีรายได้ไม่คุ้มค่าใช้จ่าย

ขณะเดียวกัน เพิ่มรถโดยสารและสินค้าในขบวนรถอีก 20% ให้เต็มความสามารถในการลากจูงของรถจักรในปัจจุบัน พ่วงขบวนสินค้าในขบวนรถโดยสารเชิงสังคม เพื่อรักษาตลาดขนส่งสินค้าไว้ระหว่างรอหัวรถจักรใหม่ เร่งรัดเสริมความมั่นคงทางโดยเปลี่ยนไม้หมอนเป็นคอนกรีต เปลี่ยนรางเป็นขนาด 100 ปอนด์ เปลี่ยนประแจขนาดใหญ่ขึ้น และเปลี่ยนทางผ่านเสมอระดับทางเป็นคอนกรีตใน 2-3 ปี

นอกจากนี้ เปลี่ยนวิธีบำรุงรักษาทาง หลักจากแรงงานคนเป็นเครื่องจักร จะลดค่าใช้จ่าย 50% ต่อกิโลเมตร เร่งรัดสร้างรถไฟทางคู่สายใหม่เพื่อความตรงต่อเวลา ปลอดภัย ลดเวลาการเดินทาง ช่วยลดค่าใช้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง และสร้างรายได้เพิ่มได้ เปลี่ยนรูปแบบการซ่อมบำรุงโครงสร้างพื้นฐานเดิมทำเองให้เป็นจ้างเหมาจากภาย นอก เร่งรัดจำหน่ายรถจักรและล้อเลื่อนที่เหลือใช้

ด้าน "การบริหารทรัพย์สิน" ปรับปรุงโครงสร้างใหม่ แบ่งชั้นทำเลตามศักยภาพพื้นที่ ได้แก่ 1.โครงการพัฒนาขนาดใหญ่ที่มีศักยภาพสูง ให้เอกชนร่วมลงทุนตาม พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ มีที่ดินย่านมักกะสัน แม่น้ำ กม.11 หัวลำโพง (สถานีกรุงเทพฯ)

2.พัฒนาพื้นที่ตามเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีแดง เช่น สถานีศาลายา ศาลาธรรมสพน์ เชียงราก 3.พัฒนาพื้นที่แนวถนนรัชดาภิเษก 4.หารายได้จากการเช่าที่ดินเพื่อปลูกสร้างอาคาร การเปิดทางเข้า-ออกในที่ดิน และการเช่าตามศักยภาพเป็นการชั่วคราว

"หากดำเนินการได้ตามนี้ จะทำให้มีรายได้จากทรัพย์สิน เพิ่มขึ้นจากปี 2557 อยู่ที่ 2,724 ล้านบาท เป็น 4,106 ล้านบาทในปี 2562 ยังไม่รวมรายได้ที่ดินแปลงใหญ่ ๆ ส่วนการพัฒนาที่ดินแปลงใหม่ในภูมิภาคคาดว่าจะมีรายได้อีกปีละ 99-495 ล้านบาทในช่วงปี 2558-2562" แหล่งข่าวจาก ร.ฟ.ท.กล่าว

"การบริหาร จัดการ" เช่น ปรับปรุงจัดซื้อให้มีประสิทธิภาพ เพิ่มระบบจำหน่ายตั๋วสมัยใหม่ ให้เช่าพาดเสาบนเสาโทรเลข เพิ่มปริมาณขนส่งโดยร่วมทุนกับเอกชนเพื่อลดภาระการกู้ยืมเงิน ปรับปรุงภาพลักษณ์ความปลอดภัยและความสะอาด ติดตั้งกล้องซีซีทีวี

"ด้าน บุคลากร" ขอยกเว้นมติ ครม.ให้รับคนเพิ่ม ลดค่าใช้จ่ายล่วงเวลา และการทำงานวันหยุดของพนักงานทุกฝ่าย เพราะเมื่อได้รับการบรรจุพนักงานใหม่ 2,438 คนแล้วจะทำให้ลดค่าใช้จ่ายใน 3 ปี (2558-2560) 355 ล้านบาท จากปัจจุบันมีค่าล่วงเวลาปีละ 25 ล้านบาท ส่วนด้านการเงินและบัญชี ปรับปรุงใหม่ให้รายงานทางการเงินได้ถูกต้องและทันเวลา

ส่วนระยะยาวจะ มีรายได้จากการบริหารโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงหลังจากที่ ร.ฟ.ท.นำมาบริหารเอง ในเบื้องต้นรถไฟสายสีแดงที่จะแล้วเสร็จช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน และบางซื่อ-รังสิต ระยะทางรวม 41 กิโลเมตร มี 15 สถานี คาดว่าจะสร้างผลกำไร 2-3 ปีแรก (2561-2563) ประมาณ 1,000-2,000 ล้านบาท

ทั้งหมดนี้เป็นแผนงานและมาตรการที่ "ร.ฟ.ท." ตั้งต้นไว้ ส่วนจะไปได้ไกลแค่ไหน...ต้องรอดูกันต่อไป
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 09-08-2557 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.