| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 64 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 05-08-2557    อ่าน 1372
 "EIA" เผือกร้อนในมือ สผ. ข้อเสนอเอกชนจัดระเบียบ "คชก."

ปฏิบัติ การย้ายฟ้าผ่าให้ "เกษมสันต์ จิณณวาโส" รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หวนกลับคืนถ้ำนั่งเก้าอี้ "เลขาธิการ สผ." หรือสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ชื่อยาว ๆ แต่อำนาจยาวไกลกว่าชื่อ เพราะเป็นผู้ดูแลอนุมัติรายงาน EIA (Environmental Impact Assessment) ที่ครอบคลุมทุกโครงการลงทุน ทั้งเมกะโปรเจ็กต์ภาครัฐและตึกสูงในภาคเอกชน ทำงานได้เพียง 10 วันแรก เลขาฯเกษมสันต์มีกำหนดนัดประชุมกับบริษัทที่ปรึกษาในการทำรายงาน EIA อย่างเป็นทางการ โดยมีตัวแทนภาคเอกชนเข้าร่วมคับคั่ง 50-60 บริษัท เมื่อปลายเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา

ทวงคู่มือหลักปฏิบัติ EIA

ก่อน อื่นต้องเข้าใจปมปัญหาของภาคเอกชนที่มีต่อการจัดทำรายงาน EIA พบว่าเป็นปัญหาหลักของผู้พัฒนาโครงการคอนโดฯ ทั้งนี้ ข้อกำหนด EIA โดยเนื้อแท้แล้วมีเจตนาดี เช่น กำหนดให้อาคารชุดเกิน 79 ยูนิต หรือมีพื้นที่อาคารเกิน 4 พันตารางเมตร โครงการจัดสรรตั้งแต่ 500 แปลง หรือ 100 ไร่ขึ้นไป ฯลฯ เข้าข่ายต้องจัดทำรายงาน EIA

แต่ปัญหาที่ผ่านมา คือ กรอบเวลาที่กฎหมายกำหนดใช้เวลาพิจารณาเต็มที่ภายใน 105 วัน แต่เมื่อปฏิบัติจริงปาเข้าไป 6 เดือนจนถึงเกิน 1 ปีก็มี นำไปสู่แนว คิดของผู้บริหาร สผ.ชุดเดิมที่มีนโยบายจัดให้มีคู่มือหลักปฏิบัติรายงาน EIA ขึ้นมา โดยตั้งใจจะให้เป็นทั้งคู่มือของผู้ประกอบการในการทำรายงานให้ครบทุกข้อที่ เขียนไว้ และเป็นคู่มือให้กับผู้พิจารณา ซึ่งก็คือ "คชก.-คณะผู้ชำนาญการ" ของ สผ. ถ้าหากเอกชนหรือผู้ขออนุมัติทำได้ครบถ้วนตามคู่มือแนะนำ การพิจารณาก็ควรจะเร็วขึ้น เพราะเหลือเพียงตรวจให้ครบตามข้อกำหนดคู่มือ ลดการใช้ดุลพินิจของ คชก.โดยปริยาย

"เมื่อ สผ.จัดทำคู่มือหลักปฏิบัติแล้ว คชก.ควรใช้ดุลพินิจในการพิจารณา EIA น้อยลง เพราะ คชก.ก็ต้องเป็นคนช่วยวางกฎในคู่มือนั้นด้วย สิ่งที่ภาคเอกชนมีความหวังและต้องการจะเห็นมากที่สุด คือ กฎหมายหรือระเบียบของหน่วยงานรัฐมีความชัดเจนในการปฏิบัติ เพื่อจะได้ลดการใช้ดุลพินิจลง" ข้อคิดเห็นจากแหล่งข่าวผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์

แจง คชก.ทำงานล้ำเส้น

ดู เหมือน "คชก." จะเป็นปมใหญ่อยู่พอสมควร เพราะผลงานชิ้นแรก ๆ "เกษมสันต์" คือ ลงนามคำสั่งโละบอร์ด คชก. ที่มีด้วยกัน 9 ชุด อาทิ ชุดพิจารณาด้านอาคาร การจัดสรรที่ดิน และบริการชุมชน โครงสร้างพื้นฐาน ฯลฯ

สำหรับข้อเสนอกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา ประกอบด้วย 1.คชก.ถูกคัดเลือกมาจากผู้ชำนาญการในแต่ละด้าน ดังนั้นขอให้พิจารณาและแสดงข้อคิดเห็นเฉพาะประเด็นในสายงานที่มีความเชี่ยว ชาญเฉพาะด้านเท่านั้น เช่น ถนัดเรื่องน้ำก็ไม่ควรข้ามไปคอมเมนต์เรื่องโยธา เป็นต้น 2.ขั้นตอนการพิจารณารอบที่ 2 คชก.ไม่ควรจะมีข้อคิดเห็น หรือเรียกดูข้อมูลเพิ่มเติมจากรอบแรกอีกแล้ว เพราะถือเป็นการทำงานซ้ำซ้อน รวม
ทั้งพ่วงข้อเสนอเวลาในการพิจารณา ข้อกำหนดคือโครงการปกติทั่วไป ใช้เวลาภายใน 75 วัน กรณีโครงการที่มีที่ตั้งอยู่ใกล้บริเวณลุ่มน้ำชั้น 1 A ซึ่งเป็นเขตหวงห้ามตามกฎหมายป่าไม้ จะต้องใช้เวลาเพิ่มอีก 30 วัน รวมเป็น 105 วัน เอกชนเสนอขอให้ลดเหลือ 75 วันเท่ากันหมด

"แนวโน้มไม่น่าจะ เปลี่ยนแปลงได้ เพราะเกิดจากปริมาณงานโอเวอร์โหลดมากกว่า โดยสถิติ สผ.ช่วง 6 เดือนแรกปี"57 มีโครงการที่พักอาศัยยื่นขออีไอเอ 208 โครงการ ลดลงจากปีที่ผ่านมา 22 โครงการ ในจำนวนนี้ 70% เป็นคอนโดฯ" คำกล่าวของเลขาธิการ สผ.

รอสางปม "โบนัสพื้นที่อาคาร"

ขณะ ที่ประเด็นการได้รับ "โบนัสพื้นที่อาคาร" (เพิ่มค่า FAR : Floor Area Ratio) เพิ่มขึ้น 5-20% หากออกแบบอาคารให้เข้าข่ายตามเกณฑ์ผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร คำตอบคือขณะนี้ คชก.ยังไม่สามารถพิจารณาได้ แม้ว่ามีเกณฑ์การคำนวณจากสำนักผังเมือง เช่น ที่ดินทุก ๆ 50 ตารางเมตรจะต้องมีพื้นที่กักเก็บน้ำไม่ต่ำกว่า 1 ลูกบาศก์เมตร ฯลฯ

เนื่องจากต้องรอสำนักผังเมือง กทม.ร่างรายละเอียดหลักเกณฑ์อื่นเพิ่มเติม โดยเฉพาะในมิติของการพิจารณาจำนวนห้องชุด และพื้นที่อาคารโดยรวม ที่มีต่อขนาดของพื้นที่รับน้ำ ตำแหน่งพื้นที่หน่วงน้ำ รวมถึงรายละเอียดระบบระบายน้ำ ซึ่งควรจะต้องนำมาคำนวณด้วย

ปัจจุบัน มีโครงการที่ออกแบบตามเกณฑ์ได้โบนัสพื้นที่อาคารเพิ่ม และ สผ.ยังไม่สามารถพิจารณา 5-6 โครงการ อาทิ คอนโดฯไอดีโอ ของ บมจ.อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์, โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เป็นต้น

ตึกสูงใกล้สถานทูต...เหนื่อย

หนึ่ง ในประเด็นปัญหา ยังรวมถึงกรณีรายงาน EIA คอนโดฯทำเลใกล้สถานทูตที่เป็นตึกสูงเกิน 8 ชั้น ซึ่ง สผ.เคยถูกสถานทูตมีข้อคิดเห็นเรื่องความปลอดภัย ทำให้คณะผู้พิจารณาคือ คชก. สั่งให้สอบถามสถานทูตถึงผลกระทบด้านความปลอดภัย และให้เจ้าของโครงการนำหลักฐานมาชี้แจงด้วย

ปัญหาคือในทางปฏิบัติ สถานทูตบางแห่งไม่ประสงค์จะชี้แจง จึงไม่สามารถนำหลักฐานมายืนยัน และอาจจะทำให้รายงาน EIA ไม่ผ่านการอนุมัติก็ได้ ทาง "เลขาฯเกษมสันต์" ได้สรุปเบื้องต้นให้พิจารณาเป็นรายโครงการ ขึ้นกับระดับความกังวลเรื่องความปลอดภัยของสถานทูตแต่ละประเทศเป็นหลัก
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 05-08-2557 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.