| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 82 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 14-07-2557    อ่าน 1458
 คสช.สั่งปรับความเร็วรางคู่เท่าไฮสปีดเทรน ฟื้นโมเดลปชป.ผุดรถไฟ1.435ม.เชื่อมจีนผ่านเชียงของ-หนองคาย

"บิ๊กจิน" รื้อระบบราง สั่งคมนาคมศึกษาสร้างรถไฟทางคู่ 2 ระบบ ใช้ราง 1 เมตรกับ 1.435 เมตร เส้นทางยุทธศาสตร์ 2 สายจากภาชีไป "เชียงของ-หนองคาย" รับรถไฟจีนที่รอเชื่อมฝั่งลาว ดันไทยเป็นศูนย์กลางภูมิภาคอาเซียน การรถไฟฯถือโอกาสชงรื้อรางสายหลัก 2,516 กม. วงเงิน 1.1 ล้านล้านบาท จับตา คสช.ฟื้นโมเดลเก่าประชาธิปัตย์ สานต่อรถไฟไทย-จีน



แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบรางอาจมีการปรับเล็กน้อย หลังพล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ด้านเศรษฐกิจ มอบนโยบายใหม่ให้กระทรวงคมนาคมศึกษาความเป็นไปได้การก่อสร้างรถไฟทางคู่โดยใช้รางมาตรฐานขนาด 1.435 เมตร หรือสแตนดาร์ดเกจ จากปัจจุบันประเทศไทยจะเป็นรางขนาด 1 เมตรหรือมิเตอร์เกจเป็นหลัก เหมือนกับประเทศในอาเซียน เช่น มาเลเซีย กัมพูชา

สั่งศึกษารางคู่ 1.435 เมตร

"รอง คสช.อยากให้การรถไฟฯคิดดู ถ้าสร้างรถไฟทางคู่เป็นราง 1.435 เมตรจะใช้เงินเท่าไหร่ เน้นการรองรับกับเส้นทางที่จะเชื่อมจีนที่จะสร้างรถไฟรางสแตนดาร์ดเกจมาจ่อที่ด่านชายแดนประเทศลาว"

เนื่องจากมีนักวิชาการนักธุรกิจ หอการค้า และสภาอุตสาหกรรมฯ นำเสนอแนวคิดให้พิจารณาความเป็นไปได้เนื่องจากหากใช้ราง1.435 เมตร จะทำให้รถไฟวิ่งด้วยความเร็วสูงขึ้นมากกว่ารถไฟที่สร้างด้วยราง 1 เมตร จะรองรับได้ทั้งสินค้าและผู้โดยสารมากขึ้น เพราะกำลังจะเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ปี 2558 ที่เปิดเสรีการค้าและการท่องเที่ยว โดยเฉพาะจีนที่มีประชากร 1,000 ล้านคน บวกกับประเทศอาเซียนที่มีประชากรรวมกันประมาณ 600 ล้านคน

"มีคำแนะนำจากนักธุรกิจว่าตลาดประเทศจีนใหญ่มาก ดังนั้น ไทยซึ่งได้เปรียบที่ตั้งเป็นจุดศูนย์กลางน่าจะนำตรงนี้มาต่อยอดการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการค้า ปัจจุบันจีนมีแผนพัฒนารถไฟมายังประเทศลาว ไทยก็น่าจะมีโครงการต่อเชื่อมด้วยเพื่อเปิดตลาดให้กว้างมากขึ้น"

เชื่อมจีนที่เชียงของ-หนองคาย

ทั้งนี้เมื่อดูแนวที่จะเป็นเส้นยุทธศาสตร์เชื่อมต่อกับรถไฟจีนมี 2 เส้นทาง คือ สายอีสานจากภาชี-หนองคาย ไปเชื่อมที่นครเวียงจันทน์ และสายเหนือจากภาชีไปตามเส้นทางสายเหนือถึงเด่นชัย เชื่อมกับรถไฟสายใหม่เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ บริเวณด่านเชียงของ โดยทางประเทศจีนจะสร้างรถไฟมาถึงชายแดนลาวที่ห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว โดยใช้รางขนาด 1.435 เมตร ถ้าหากประเทศไทยสร้างรางขนาดเดียวกันไปเชื่อมกับประเทศจีน จะทำให้รถไฟวิ่งทะลุจากจีนมายังกรุงเทพฯได้

"รูปแบบการก่อสร้างยังไม่รู้จะเป็นแบบไหน สร้างราง 1.435 เมตรแยกต่างหาก วิ่งคู่ขนานไปกับแนวรถไฟเดิม หรือใช้ทางร่วมกัน แต่รองหัวหน้า คสช.ให้โจทย์ไปดูว่าถ้าสร้างรถไฟทางคู่ 2 สายนี้โดยใช้รางมาตรฐานจะใช้เงินลงทุนเท่าไหร่ ขอให้สรุปรายละเอียดโดยเร็วก่อนจะนำเสนอให้หัวหน้า คสช.พิจารณาต่อไป"

ที่ปรึกษาชี้ต้นทุนไม่ต่างกันมาก

แหล่งข่าวจากวงการบริษัทที่ปรึกษากล่าวเพิ่มเติมว่าค่าก่อสร้างรถไฟใช้ราง 1 เมตร และ 1.435 เมตรไม่ต่างกันมากขึ้นอยู่กับสภาพภูมิประเทศ โดยราง 1 เมตร เฉลี่ย 300 ล้านบาท/กม. ส่วนราง 1.435 เมตร ราคาเฉลี่ย 400-500 ล้านบาท/กม.

"การก่อสร้างราง 1.435 เมตรจะใช้รถทั้งดีเซลและรถไฟฟ้ามาวิ่งร่วมกันได้ และหาซื้อง่ายเพราะทั่วโลกใช้ราง 1.435 เมตรกว่า 60% ขนได้ทั้งสินค้าและคน"

โดยรถไฟขนส่งสินค้าจะเป็นแบบวิ่งทางไกลไม่หยุดพัก มีความเร็ว 120-160 กม./ชม. และรถไฟโดยสารวิ่งความเร็ว 200-250 กม./ชม. ใกล้เคียงกับรถไฟความเร็วสูงที่ทำความเร็วสูงสุด 300-350 กม./ชม. แต่การลงทุนทางคู่จะถูกกว่าเพราะไม่ต้องใช้รถไฟหัวจรวด ส่วนราง 1 เมตร ความเร็วสูงสุด 160 กม./ชม. เพราะต้องใช้เส้นทางร่วมกับรถขนส่งสินค้าที่วิ่งด้วยความเร็ว 80-120 กม./ชม.

งบฯอู้ฟู้ 1 ล้านล.รื้อราง 1 เมตร

แหล่งข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่าได้ประเมินค่าก่อสร้างรถไฟทางคู่ราง 1.435 เมตร ในสายหลักระยะทาง 2,516 กม. จากหนองคาย-ปาดังเบซาร์ และเชียงของ-ท่าเรือแหลมฉบัง ใช้เงินลงทุน1,156,519 ล้านบาท เช่น สายแหลมฉบัง-เชียงของอยุ่ที่ 490,000 ล้านบาท

"ยังไม่รู้ว่านโยบายจะยกเลิกรถไฟทางคู่เดิมที่ใช้ราง 1 เมตรเลยหรือไม่ ถ้าแบบนั้นเท่ากับต้องนับหนึ่งใหม่ เพราะทางคู่เฟสแรก 5 สายอยู่ในขั้นการพิจารณาอีไอเอแล้ว จะก่อสร้างได้ก่อน คือ สายจิระ-ขอนแก่น กับสายประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร ถ้าหากเลือกวิธีการสร้างทางคู่ 2 ระบบโดยมีทั้งราง 1.435 เมตรวิ่งคู่กับราง 1 เมตร จะทำให้โครงการเดินหน้าต่อไปได้ ขึ้นอยู่กับนโยบาย คสช."

ฟื้นโมเดลประชาธิปัตย์

"จริง ๆ แล้วแนวคิดรื้อราง 1 เมตรเป็นราง 1.435 เมตรมีหลายรัฐบาลที่คิดจะทำ แต่ทำไม่ได้ ต้องรื้อรางรถไฟเดิมทั้งประเทศและเสียเงินลงทุนมาก ต้องเปลี่ยนทั้งรางและขบวนรถไฟ โดยไม่ได้รางรถไฟเพิ่ม เพราะยังคงเป็นทางเดี่ยวอยู่ แค่ทำความเร็วเพิ่มขึ้นเท่านั้น ที่สำคัญประเทศไทยจะต้องมีระบบรถไฟเชื่อมกับเพื่อนบ้านที่ใช้ราง 1 เมตรเช่น มาเลเซีย"

แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า ยุครัฐบาลประชาธิปัตย์เมื่อปี 2553 เคยผลักดันเรื่องนี้มาอย่างต่อเนื่อง เพื่อจะเชื่อมต่อกับรถไฟของจีนที่สร้างมารอที่ชายแดน สปป.ลาว ที่นครเวียงจันทน์และห้วยทราย มีความคืบหน้าถึงขั้นตอนจะลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ร่วมกับรัฐบาลจีนเพื่อจัดตั้งบริษัทร่วมทุนรูปแบบรัฐวิสาหกิจ สัดส่วน 51 : 49 มีทุนจดทะเบียน 1 แสนล้านบาท โดยบริษัทนี้จะขอสัมปทานเช่าใช้เส้นทางจากการรถไฟฯเป็นเวลา 50 ปี แต่มีการยุบรัฐบาลไปก่อน ทำให้โครงการสะดุดลง

"ไม่รู้ว่าแนวคิดของรองหัวหน้า คสช.นี้ จะเป็นโมเดลเดียวกับที่รัฐบาลประชาธิปัตย์เคยคิดไว้หรือไม่ ตอนนั้นจีนสนใจสายกรุงเทพฯ-หนองคายที่เชื่อมจากคุนหมิงผ่านเวียงจันทน์มากรุงเทพฯ ทะลุไปมาเลเซียและสิงคโปร์ ระยะแรกเริ่มสร้างจากหนองคายมากรุงเทพฯก่อน ค่าก่อสร้าง 180,000 ล้านบาท จากนั้นจึงต่อขยายไปถึงภาคใต้เชื่อมกับมาเลเซีย" แหล่งข่าวกล่าว
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 14-07-2557 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.