| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 34 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 30-06-2557    อ่าน 1483
 เปิดแหล่งเงินลงทุน "คมนาคม" ปี 2558 ตีกรอบ 1.02 แสนล้าน

จากที่สำนักงบประมาณและกระทรวงการคลังได้หารือกำหนดกรอบการจัดหาแหล่งเงินลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งไว้ในเบื้องต้น โดยเฉพาะเม็ดเงินที่คาดว่าจะลงทุนได้อย่างแท้จริงภายในปี 2558 ซึ่งตามแผนการลงทุนภายใต้ยุทธศาสตร์คมนาคมและโลจิสติกส์ที่กระทรวงคมนาคมเสนอจะมีวงเงินลงทุนทั้งสิ้นประมาณ 2.469 ล้านล้านบาท ระยะเวลา 8 ปี (2558-2566) ซึ่งในระยะที่ 1 กระทรวงคมนาคมเสนอว่ามีโครงการที่มีความพร้อมสามารถลงทุนได้มีวงเงินราว 7.3 แสนล้านบาท

ทั้งนี้ในการพิจารณาจัดสรรเม็ดเงินลงทุนในปีงบประมาณ 2558 ซึ่งทางสำนักงบฯและกระทรวงการคลังหารือกันล่าสุดมีความเห็นว่า ในปี 2558 จะมีเม็ดเงินที่ลงทุนได้จริงราว 1.02 แสนล้านบาท แบ่งเป็น 1) ส่วนของการใช้งบประมาณปี 2558 จะมีวงเงินที่เริ่มต้นโครงการราว 1.33 หมื่นล้านบาท และผูกพันไปในปีงบประมาณ 2559-2560 อีกประมาณ 4.65 หมื่นล้านบาท 2) เงินกู้ในปีงบประมาณ 2558 ราว 6.2-7 หมื่นล้านบาท

3) เงินรายได้ของรัฐวิสาหกิจ หรือรัฐวิสาหกิจกู้ลงทุนราว 1.9 หมื่นล้านบาท และ 4) การให้เอกชนร่วมลงทุนแบบ PPPs หรือระดมทุนผ่านกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (อินฟราสตรักเจอร์ฟันด์) ประมาณ 7,000 ล้านบาท



ประเดิมพีพีพี โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง

โครงการที่สามารถลงทุนแบบ PPPs หรืออินฟราสตรักเจอร์ฟันด์ น่าจะเริ่มในปี 2558 ได้ เป็นโครงการด้านระบบรถไฟฟ้าของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) 2 โครงการ คือ โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง บางใหญ่-บางซื่อ และโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน บางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแค

ขณะที่โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ จะใช้เงินกู้จากรัฐบาล ส่วนโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต จะใช้แหล่งเงินทั้งจากงบประมาณในการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน และเงินกู้ในการก่อสร้าง สำหรับ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี, โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี และสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง จะมีการจัดสรรเงินงบประมาณเพื่อจ้างที่ปรึกษา

ส่วนโครงการลงทุนของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ทั้งรถไฟชานเมืองสายสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิต, สายสีแดงช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน รวมถึงการจัดซื้อขบวนรถไฟฟ้า City Line 7 ขบวน และโครงการแอร์พอร์ตลิงก์ช่วงพญาไท-ดอนเมือง จะใช้เงินกู้เป็นหลัก

จัดงบฯปี"58 เดินหน้า "ทางคู่"

ขณะที่การลงทุน "รถไฟทางคู่" มีการพิจารณาแหล่งเงินสำหรับการลงทุน 12 เส้นทาง โดยมีการจัดสรรงบประมาณปี 2558 ไว้ราว 860 ล้านบาท ส่วนใหญ่จะใช้งบประมาณจ้างที่ปรึกษา รวมถึงศึกษา สำรวจโครงการ ส่วนเส้นทางถนนจิระ-ขอนแก่น และประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร มีการหาแหล่งเงินกู้ไว้แล้วกว่า 4,000 ล้านบาท

กรมทางหลวง (ทล.) จะได้รับงบฯปี 2558 ประมาณ 1,380 ล้านบาท และผูกพันในปีงบประมาณ 2559-2560 อีกกว่า 1 หมื่นล้านบาท สำหรับโครงการบูรณะทางหลวงสายหลักระหว่างภาค และสร้างสะพานข้ามทางรถไฟ, ขยาย 4 ช่องจราจร 27 โครงการ

ส่วนของกรมทางหลวงชนบท (ทช.) จะได้รับจัดสรรประมาณ 7,700 ล้านบาท กับเงินกู้อีกราว 1,000 ล้านบาท และงบฯผูกพันปี 2559-2560 อีกกว่า 2.1 หมื่นล้านบาท ซึ่งจะเน้นเส้นทางที่สนับสนุนการเกษตร การท่องเที่ยว และการค้าการลงทุนเป็นหลัก

ขณะที่โครงการจัดซื้อรถเมล์เอ็นจีวีขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ 3,183 คัน จะให้ ขสมก.ดำเนินการกู้จำนวนกว่า 8,000 ล้านบาท ด้านกรมเจ้าท่าจะได้รับงบประมาณกว่า 340 ล้านบาท และอีกประมาณกว่า 1,000 ล้านบาทจะเป็นงบฯผูกพัน

ด้านการลงทุนมอเตอร์เวย์นั้น จะจัดสรรงบประมาณปี 2558 ให้ 500 ล้านบาท สำหรับโครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองสายพัทยา-มาบตาพุด เฉพาะค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินและงบฯผูกพันปี 2559-2560 อีกกว่า 1,000 ล้านบาท ส่วนสายบางปะอิน-สระบุรี-นครราชสีมา และสายบางใหญ่-บ้านโป่ง-กาญจนบุรี จะได้รับงบฯปี 2559-2560 รวมกันประมาณ 3,000 ล้านบาท

ส่วนกรมศุลกากรจะได้รับงบฯปี 2558 ราว 221 ล้านบาท และเงินกู้อีกกว่า 1,300 ล้านบาทเพื่อลงทุนเกี่ยวกับระบบโลจิสติกส์ รวมถึงจะได้งบฯผูกพันปี 2559-2560 อีกราว 1,800 ล้านบาท

เล็งดึงกองทุนมอเตอร์เวย์ 1.4 หมื่น ล.เวนคืนที่

ทั้งนี้ในการพิจารณาแหล่งเงินที่จะใช้สำหรับโครงการลงทุนด้านคมนาคม ซึ่งจะมีทั้งงบประมาณปี 2558 เงินกู้ การให้เอกชนร่วมลงทุนแบบ PPPs หรือระดมทุนผ่านกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (อินฟราสตรักเจอร์ฟันด์) แล้ว แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ขณะนี้ยังมีการมองหาแหล่งเงินอื่นเพิ่มเติม เช่น กองทุนค่าธรรมเนียมผ่านทางของกรมทางหลวงสำหรับทางพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) ที่มีเงินสะสมอยู่ประมาณ 1.4 หมื่นล้านบาท โดยมีการพิจารณาว่าจะสามารถขยายขอบเขตการใช้เงินได้แค่ไหน

"ปกติกองทุนมอเตอร์เวย์จะเก็บเงินสะสมไว้เพื่อนำไปลงทุนสร้างเส้นทางใหม่ ซึ่งจะมีกฎหมายเขียนไว้ชัดเจนว่าจะใช้ทำอะไรได้บ้าง ก็กำลังดูว่าจะสามารถขยายขอบเขตของกองทุนได้ขนาดไหน ครอบคลุมถึงเรื่องค่าจัดกรรมสิทธิ์ ค่าจัดหาที่ดินได้หรือไม่ หากทำได้ก็จะช่วยลดภาระของรัฐบาลได้ โดยส่วนนี้กระทรวงคมนาคมที่เป็นต้นสังกัดต้องไปดู" แหล่งข่าวกล่าว

รอ "ประยุทธ์" เคาะต้นเดือน ก.ค.

อย่างไรก็ดี ทั้งหมดนี้ต้องรอให้ พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ในฐานะหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ เสนอให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช. อนุมัติแผนการลงทุนของกระทรวงคมนาคมอย่างชัดเจนก่อนในสัปดาห์นี้ และจะมีข้อสรุปเรื่องแหล่งเงินที่ชัดเจนในช่วงต้นเดือน ก.ค.นี้

นายสมศักดิ์ โชติรัตนะศิริ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ กล่าวว่า วงเงินที่ชัดเจนสำหรับงบฯลงทุนด้านคมนาคมที่จะได้รับการจัดสรรในปีงบประมาณ 2558 ต้องรอให้ได้รับอนุมัติจากหัวหน้า คสช.ก่อน จากนั้นสำนักงบประมาณและสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) จึงจะมาพิจารณาร่วมกันว่า จะจัดสรรให้อยู่ในงบประมาณเท่าใด และเป็นเงินกู้เท่าใด ส่วนที่ทางกระทรวงคมนาคมได้สรุปตัวเลขออกมาที่ 1.4-1.5 แสนล้านบาทนั้น คิดว่าเป็นโครงการที่กระทรวงคมนาคมมองว่ามีความพร้อม อย่างไรก็ดี ต้องให้หัวหน้า คสช.เห็นชอบก่อน จากนั้นถึงจะขอจัดสรรงบประมาณปี 2558 หรือจะใช้เงินกู้เท่าไหร่

นางสาวจุฬารัตน์ สุธีธร ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) กล่าวว่า โครงการที่จะได้รับจัดสรรเงินลงทุนในปี 2558 จะต้องจัดลำดับความสำคัญ โดยเน้นโครงการที่มีความพร้อม และสมควรที่จะเร่งดำเนินการจริง ๆ คือทำแล้วเกิดประโยชน์ต่อประชาชนอย่างชัดเจน อาทิ การซ่อมบำรุง

เส้นทางสายหลักที่ใช้มา 10-20 ปี หรือการตัดถนนเส้นทางใหม่ที่เชื่อมต่อกับประเทศในภูมิภาค เป็นต้น เนื่องจากแหล่งเงินแต่ละแหล่งก็จะมีข้อจำกัด ทำให้ไม่สามารถจัดสรรได้ทั้งหมดตามที่หน่วยงานเสนอ

"การจัดสรรเงินลงทุน ต้องแน่ใจว่าโครงการมีความพร้อมจะใช้เงินภายในปี 2558 เพราะอย่างรถไฟรางคู่ก็ไม่ใช่ว่าจะสร้างได้เสร็จในปีเดียว ก็ต้องดูว่าในปี 2558 จะทำได้เท่าไหร่ นอกจากนี้ ต้องเป็นโครงการที่มีประโยชน์ สอดคล้องกับนโยบายของ คสช. และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11" นางสาวจุฬารัตน์กล่าว
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 30-06-2557 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.