| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 39 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 20-06-2557    อ่าน 1482
 จริงหรือหลอก "คสช." ตัดไฮสปีดเทรน หรือแค่ชะลอ รอ "รัฐบาลใหม่"

กลาย เป็นประเด็นฮอต เมื่อ "บิ๊กจิน-พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง" รองหัวหน้า "คสช.-คณะรักษาความสงบแห่งชาติ" ผ่านพิมพ์เขียวยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทย 2558-2566 มีกรอบวงเงินลงทุน 3.1 ล้านล้านบาท ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ

ที่ฮือฮาเพราะคนนำไปเทียบ "โครงการ 2 ล้านล้าน" ยุคเพื่อไทย พร้อมตั้งคำถามตามมาว่า...อีก 1 ล้านล้านงอกมาจากไหน ?

ทำไมถึงโป่ง 3 ล้านล้าน

เมื่อ พลิกดูแผนงานมีเพิ่มใหม่การลงทุน "ทางอากาศ" ยังไม่ตัดรถไฟความเร็วสูง 2 สาย คือ กทม.-หนองคาย และ กทม.-พิษณุโลก ที่ "สนข.-สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร" ใส่ไว้ในระยะที่ 2 และระยะที่ 3 ใช้เงินลงทุน 598,443 ล้านบาท

อีกทั้งเพิ่มโครงการใหม่สารพัดที่ ไม่อยู่ใน 2 ล้านล้าน อาทิ มอเตอร์เวย์อีก 3 สาย ทางด่วน 5 สาย ถนนวงแหวนรอบที่ 3 รถไฟทางคู่เพิ่มจาก 14 สาย เป็น 17 สาย โครงการศึกษารถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (บางแค-พุทธมณฑลสาย 4) สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา จ.สมุทรปราการ เป็นต้น

แต่ยังเป็นแค่กรอบ ลงทุนภาพรวมที่แต่ละหน่วยเสนอเข้ามา ต้องรอกระทรวงการคลังและสำนักงบประมาณจัดสรรเม็ดเงินให้ ยังไม่รู้จะได้ตามที่ขอหรือไม่

เบื้องหลังแยกไฮสปีดเทรน

ขณะที่กรอบเงินลง ทุน เมื่อตัด "ไฮสปีดเทรน" ออกจากบัญชี จะลดลงทันทีเหลือประมาณ 2.469 ล้านล้านบาท ถือว่าเกินจากยุค "เพื่อไทย" ไม่มาก เพราะถ้าจะให้เดินตามรอยนโยบายเดิม เท่ากับจะไม่เห็นการเปลี่ยนแปลง หากจะประกาศโรดแมปออกมา

จึงเป็นที่มาว่า ทำไม "คสช." แยกไฮสปีดเทรนออกมาพักไว้นอกบัญชี เป้าหมายไม่มีเจตนาจะล้มเลิก แค่ชะลอชั่วคราว รอดูผลศึกษาอย่างละเอียด ระหว่างรอจัดตั้งรัฐบาลใหม่จะเห็นโฉมหน้า 3 เดือนนี้ จะพอดีที่ผลศึกษาแล้วเสร็จ

เมื่อวันนั้นมาถึง คาดว่าจะคงไว้แค่บางสายทาง จะไม่สร้าง 4 สายรวด อย่างที่ "เพื่อไทย" คิด เพราะหากทำแบบนั้น นอกจากจะผิดท่าทีของ คสช.ที่มุ่งแก้ปัญหาปากท้องและความเดือดร้อนของประชาชนเป็นหลัก การจะใช้เงินลงทุนมากมายขนาดนั้นคงไม่ใช่ภารกิจสำคัญ จึงต้องหยิบสายทางที่คุ้มค่าจริง ๆ มาเดินหน้า

รอชงรัฐบาลใหม่

ว่า กันว่า แม้แต่ "หม่อมอุ๋ย-ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล" ที่ปรึกษา คสช.ที่เชียร์ให้ลงทุนรถไฟทางคู่ก่อน ยัง อยากให้ "คมนาคม" คงไฮสปีดเทรนไว้ ไม่ให้ตัดทิ้งเสียทีเดียว เพราะเมื่อเทียบระหว่าง "รถไฟทางคู่-รถไฟความเร็วสูง" การพัฒนาเมือง "รถไฟความเร็วสูง" ภาพจะชัดเจนกว่า

ขณะที่ "รถไฟทางคู่" ช่วยเรื่องโลจิสติกส์เป็นหลัก สามารถทำความเร็วการเดินรถไฟเร็วขึ้นจากเดิมรถขนสินค้าและผู้โดยสารวิ่ง เฉลี่ย 20-50 กม./ชม. เป็น 60-100 กม./ชม. ยกเว้นจะปรับระบบเดินรถจาก "รถดีเซล" เป็น "รถไฟฟ้า" เหมือนประเทศมาเลเซีย จะได้ประโยชน์สมบูรณ์ แต่นั่นหมายความว่าจะต้องยกเครื่องระบบเดินรถทั้งประเทศให้เป็นระบบไฟฟ้า ทั้งหมด

สรุป...นโยบาย คสช.ให้ชะลอ "ไฮสปีดเทรน" เพราะไม่เหมาะมาพูดถึงโครงการเวลานี้ ยุคที่ "คสช." มีอำนาจบริหารประเทศเพียงช่วงสั้น ๆ ต้องรอมีรัฐบาลตัวจริงมาบริหารยาว ๆ

จึง ไม่แปลกที่ "บิ๊กจิน" สั่งคมนาคมตั้งคณะทำงานมาดูรายละเอียดให้ถี่ถ้วนใน 3 เดือนนี้ เพราะมีเป้าหมายใหญ่ ว่ากันว่าเตรียมจะนำโครงการนี้ประกาศเป็นนโยบายทันทีที่มีรัฐบาลใหม่เดือน กันยายนนี้

มีลุ้น 2 สาย "หนองคาย-ระยอง"

มีแนวโน้ม จะหยิบ 1-2 สายมาเดินหน้า คือ กทม.-นครราชสีมา-หนองคาย เพราะผลศึกษาเบื้องต้นของ "สนข." ระบุคุ้มค่าทางเศรษฐกิจกว่า 16% สำคัญไปกว่านั้น เป็นเส้นทางเชื่อมระหว่างประเทศ และเป็นยุทธศาสตร์การค้าแนวเหนือ-ใต้ มีไทยเป็นศูนย์กลาง

ด้านเหนือ มี "จีน" จะสร้างรถไฟความเร็วสูงมารอที่นครเวียงจันทน์ สปป.ลาว ผ่านชายแดน "หนองคาย" มาถึง "กทม." และอนาคตข้างหน้า หากไทยสร้างสายใต้จาก "กทม.-ปาดังเบซาร์" จะไปเชื่อม "มาเลเซีย" ทะลุถึงสิงคโปร์ สายนี้ "จีน" สนใจและเซ็นบันทึกข้อตกลง (เอ็มโอยู) ร่วมกันกับรัฐบาลไทยจะศึกษาโครงการให้

อีกสายคือส่วนต่อขยาย "แอร์พอร์ตเรลลิงก์-พัทยา-ระยอง" เพราะจะช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวและการเดินทางเชื่อมระหว่างเมืองได้เป็น อย่างดี เพราะ "ชลบุรี-ระยอง" นั้นเป็นเมืองอุตสาหกรรม โดยไม่จำ เป็นต้องใช้ระบบรถที่วิ่งด้วยความเร็วสูง 250 กม./ชม. สามารถปรับสปีดลงมาเท่า "แอร์พอร์ตลิงก์" วิ่งอยู่ 160 กม./ชม.ก็ได้ อีกทั้งใช้เงินลงทุนไม่สูงเพราะเวนคืนไม่มาก ส่วนใหญ่ใช้แนวเขตทางรถไฟสายตะวันออกเดิม

ล่าสุด "ร.ฟ.ท.-การรถไฟแห่งประเทศไทย" กำลังศึกษาโครงการ จะเสร็จสิ้นเร็ว ๆ นี้ เบื้องต้นจะมีระยะทาง 180 กม. เริ่มต้นจากลาดกระบัง ผ่านฉะเชิงเทรา ศรีราชา ชลบุรี พัทยา และระยอง มี 6 สถานี เงินลงทุนกว่า 1 แสนล้านบาท

สายนี้ "ประเทศญี่ปุ่น" ที่เป็นคู่ค้ากับไทยมานานให้ความสนใจไม่น้อย และเคยศึกษาโครงการเบื้องต้นให้มาแล้วก่อนหน้านี้

รอดูท่าที "คสช.และรัฐบาลใหม่" จะคิดต่างหรือเห็นแปลกแยกออกไปจากนี้ยังไง
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 20-06-2557 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.