| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 63 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 19-06-2557    อ่าน 1468
 ถอดบทเรียนแผ่นดินไหว อย่าให้เป็นไฟไหม้ฟาง

หลังจากประเทศไทยเกิดเหตุแผ่นดินไหวรุนแรงที่สุดในรอบ 100 ปีที่ระดับ 6.3 ริกเตอร์ ศูนย์กลางที่อ.พาน จ.เชียงราย ลึกลงไปจากพื้นดิน 7-10 กม. คลื่นสั่นสะเทือนสร้างความเสียหายให้แก่สิ่งปลูกสร้าง อาคาร บ้านเรือนของประชาชนในพื้นที่รอบจุดเกิดเหตุ หลายหน่วยงานที่รับผิดชอบทั้งรัฐและเอกชนตรวจความเสียหาย เยียวยา ให้ความรู้ ซ่อมแซมทรัพย์สิน "วสท.-วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์" ในฐานะหน่วยงานวิชาชีพด้านวิศวกรรมได้ลงพื้นที่ตรวจสอบอาคารสถานที่ต่าง ๆ ที่ได้รับความเสียหายและประมวลแนวทางการซ่อมแซม และโอกาสเกิดแผ่นดินไหวในอนาคตดังนี้

แนะวิธีซ่อมแซม

โดยแนะนำว่าภายหลังเกิดแผ่นดินไหว ถ้าพบว่าโครงสร้างอาคารได้รับความเสียหาย จำเป็นต้องซ่อมแซมให้มั่นคงแข็งแรงก่อนจะกลับเข้าไปใช้อาคาร

"รศ.ดร.ปิติ สุคนธสุขกุล" อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ให้คำแนะนำการซ่อมแซมอาคาร 2 ส่วนคือ ซ่อมแซมให้กลับสู่สภาพเดิมและซ่อมแซมเพื่อเสริมกำลังโครงสร้าง

เริ่มจาก 1) ให้วิศวกรตรวจสอบและประเมินประเภทความเสียหาย อาศัยหลักสำคัญว่าต้องตรวจสอบให้ได้ก่อนว่าโครงสร้างหลักเสียหาย แตกร้าวหรือไม่ หากเสียหายให้ซ่อมโครงสร้างหลักก่อน แล้วจึงค่อยซ่อมผนังที่มีรอยรั่วหรือแตกร้าวทีหลัง 2) ให้วิศวกรประสานงานกับช่าง แนะนำวิธีการซ่อมแซมที่ถูกต้อง

โดยการซ่อมแซมแบ่งเป็นการซ่อมและเสริมกำลังอาคารแบบง่าย ๆ ได้แก่ 1) การซ่อมแซมอาคารส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องกับการรับน้ำหนัก เช่น ผนังที่แตกร้าวแต่ไม่พังทลาย การซ่อมผนังก่ออิฐก่อที่พังทลายทำได้โดยใส่เสาคอนกรีตเสริมเหล็กที่ปลายผนังที่พังทลายเป็นบางส่วน และทำเสาคอนกรีตเสริมเหล็ก

2) การซ่อมแซมส่วนประกอบอาคารโครงสร้างส่วนรับน้ำหนัก ทำได้โดยการทำค้ำยันชั่วคราวสำหรับงานซ่อมแซมเสา หรือการเพิ่มผนังรับน้ำหนักจากการก่ออิฐเพื่อเพิ่มความมั่นคงของอาคาร และ 3) ประยุกต์ใช้เฟอร์โรซีเมนต์หรือเหล็กลวดสำหรับเสริมกำลังโครงสร้าง ที่ไม่ต้องใช้งบฯลงทุนมาก มีโอกาสไหว 6.8-7.2 ริกเตอร์

ด้าน "ดร.เป็นหนึ่ง วานิชชัย" หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมโยธา สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย หรือ "เอไอที" ให้ข้อมูลว่าไทยมีรอยเลื่อนแผ่นดินไหวทั้งที่มองเห็นและมองไม่เห็น ล้วนทำให้มีโอกาสเกิดแผ่นดินไหว ซึ่งปกติรอยเลื่อนเหล่านี้ใช้เวลาสะสมพลังงานตั้งแต่ 100-1,000 ปี จึงมีพลังงานมากพอที่ทำให้เกิดแผ่นดินไหว แต่เนื่องจากในภาคเหนือมีรอยเลื่อนหลายแห่ง ทำให้ใช้เวลาสะสมพลังงานเพียง 200-300 ปี ก็มีโอกาสเกิดแผ่นดินไหวที่ 6.8-7.2 ริกเตอร์ได้ในอนาคต

"ดร.เป็นหนึ่ง" ระบุอีกว่า พื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑลมีความเสี่ยงเสียหายจากคลื่นสั่นสะเทือนแผ่นดินไหวตั้งแต่ระดับ 7.2 ริกเตอร์ขึ้นไป จาก 3 แหล่งกำเนิด 1) กลุ่มรอยเลื่อนใน จ.กาญจนบุรี มีขนาดใหญ่และยาวกว่ารอยเลื่อนในภาคเหนือ 2) รอยเลื่อนสะกายในประเทศเมียนมาร์ 3) รอยต่อระหว่างแผ่นเปลือกโลกในทะเลอันดามัน สามารถเกิดแผ่นดินไหวรุนแรงถึง 8.5-9 ริกเตอร์ได้ จะสร้างแรงสั่นสะเทือนให้กรุงเทพฯและปริมณฑลได้มากที่สุด เพราะกรุงเทพฯมีโครงสร้างทางธรณีวิทยาเป็นแอ่งดินอ่อนขนาดยักษ์ ทำให้ตึก 10 ชั้นขึ้นไปโยกตัว ตึก 20-40 ชั้น มีโอกาสพังถล่มลงมา

วสท.ตั้งคอลเซ็นเตอร์

อย่างไรก็ตาม จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งนี้สร้างความเสียหายในวงกว้าง เห็นแล้วว่าอาคาร บ้าน วัด โรงเรียนที่สูงไม่ถึง 15 เมตร เป็นสิ่งปลูกสร้างที่ส่วนใหญ่ได้รับความเสียหายมากกว่าอาคารสูง โดยมีทั้งแตกร้าวและพังเสียหาย

งานนี้ "วสท." หวังให้เหตุการณ์สุดระทึกครั้งนี้ เป็นบทเรียนให้ทั้งภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง ออกกฎหมายสร้างมาตรฐานการสร้างอาคารแผ่นดินไหวครอบคลุมอาคารทุกประเภท โดยเฉพาะอาคารใหม่ที่กำลังจะสร้างในอนาคต ที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยต้องได้รับการพิจารณาการออกแบบและก่อสร้าง ต้านแรงแผ่นดินไหว หวังว่า "บทเรียน" จะไม่กลายเป็น "บทลืม"
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 19-06-2557 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.