| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 99 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 14-05-2557    อ่าน 1461
 "อนันต์ อัศวโภคิน"ชี้ศก.ไทยติดลบ ห่วง"SMEs"ล้ม บริษัทใหญ่กินรวบตลาด ย้ำเลย์ออฟไม่ใช่ทางออก

นายอนันต์ อัศวโภคิน ประธานกรรมการบริหาร บริษัทแลนด์ แอนด์ เฮาส์ จำกัด (มหาชน) กล่าวในงานสัมมนาประชาชาติธุรกิจก้าวสู่ปีที่ 38 หัวข้อ "สร้างโอกาสการลงทุน ขับเคลื่อนไทยสู่อนาคต" เมื่อบ่ายวันที่ 14 พฤษภาคม ที่ห้องบอลรูม โรงแรมแกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ

@มองภาพเศรษฐกิจจะเดินหน้าต่อไปอย่างไร

นายอนันต์ กล่าวถึงภาพของเศรษฐกิจไทยที่ติดลบขณะนี้ โดยหากเทียบวิกฤติต้มยำกุ้ง ปี 2540 ที่เศรษฐกิจพังมาก แต่การพังคราวนี้ต่างจากครั้งก่อนที่เคยพังจากบนลงล่าง แต่ครั้งนี้จะพังจากล่างขึ้นบน ฉะนั้นคิดว่าวิกฤตรอบนี้รายใหญ่จะเดือดร้อนน้อยกว่ารายเล็กๆโดยเฉพาะธุรกิจเอสเอ็มอีจะได้รับผลกระทบโดยตรงรวมถึงปัญหาหนี้เอ็นพีแอลของผู้บริโภคที่ต้องผ่อนบ้านอาจจะมีปัญหา

"ผมเป็นห่วงสถานการณ์ตอนนี้ว่าถ้าไม่มีรัฐบาลเราจะเจอเศรษฐกิจติดลบด้วยซ้ำไปห่วงว่าถ้าไม่มีรัฐบาลก็ไม่สามารถเบิกจ่ายงบประมาณอะไรได้รัฐบาลแทบจะไม่มีเงินลงทุนอะไรเลยเพราะโครงการต่างๆก็ต้องผ่านสภาตอนนี้ทราบว่าจะดำเนินการไปได้แค่โครงการรถไฟฟ้าสายสองสายเท่านั้นเองผมคิดว่าเที่ยวที่แล้วตอนวิกฤตต้มยำกุ้งเราตายด้วยปืนโป้งเดียวจบ แต่เที่ยวนี้เราตายด้วยมีดเลือดซึมลงเรื่อยๆเจ็บนานกว่า"นายอนันต์กล่าว

@ ทางออกวิกฤตเศรษฐกิจในครั้งนี้

นายอนันต์ ย้ำถึงปัญหาว่า ถ้าไม่มีรัฐบาลทุกอย่างจะชะงักงัน แต่ในรอบนี้บริษัทขนาดใหญ่ไม่น่าจะกระทบอะไรมากไม่น่าล้ม ต่างจากพวกธุรกิจขนาดย่อมถึงเล็ก และจะกลายเป็นว่าบริษัทขนาดใหญ่กินตลาดเอสเอ็มอีหมด เนื่องจากบริษัทใหญ่ๆจะไม่ประสบปัญหาการเงินหนัก หากปล่อยให้ประเทศไม่มีรัฐบาลแบบนี้ต่อไป ก็เท่ากับว่าปล่อยให้บริษัทใหญ่ๆกินตลาดไปเรื่อยๆ

@ มองตลาดอสังหาริมทรัพย์และแนวทางการต่อยอดจากปีที่ผ่านมา เคยบอกจะพักยก ?

"ผมพูดปลอบใจตัวเองเพราะยังไงปีนี้ก็ขายไม่ดี เราจึงต้องกลับมาดูสภาพคล่องของบริษัทจึงต้องบอกว่า พักยก คิดว่าโครงการต่างๆที่ปริมณฑลอาจจะต้องระวัง ต้องพักยก ต้องระวังการลงทุน เราจะไปเอาข้อมูลจากสื่ออย่างเดียวไม่ได้ ต้องสำรวจข้อมูลการตลาดด้วยตัวเอง เพราะบางทีข้อมูลที่เราได้มาอาจจะไม่ครบถ้วน โดยเฉพาะข่าวการเมือง ผมจึงต้องลงไปพูดคุยกับทั้งสองฝ่ายที่ขัดแย้งกันอยู่ ผมว่ามันคงจะลงเอยยาก บังเอิญว่า อีกฝั่งมาพูดหน้าบ้าน อีกฝั่งมาพูดหน้าหมู่บ้าน ผมว่าไม่มีตรงกลางที่พูดคุยกันได้เลย ตอนนี้ไม่มีอะไรเหลือเลย อย่าไปถึงพรหมวิหารสี่เลย ตอนนี้เหลือแค่พรหมวิหารสอง ผมคิดว่าทั้งสองฝ่ายต่างมีเหตุผลแต่ไปด้วยกันไม่ได้ และเป็นไปไม่ได้ที่จะปฏิวัติ แต่ถ้าเลือกตั้งเสร็จหนังเรื่องเก่าก็มาฉายซ้ำอีก ก็วนกลับมาอีกหนึ่งรอบ แบบว่าเหมือนอุจจาระไม่สุด สู้ให้ท้องเสียเลยดีกว่า ขี้ราดไปเลยดีกว่า ไม่ใช้ปวดอึอยู่ตลอด"

อย่างไรก็ตาม นายอนันต์ ได้ย้ำถึงผลกระทบที่เกิดตามมาหลังวิกฤตครั้งนี้ อาจจะต้องมีการเลิกจ้างงาน ขณะที่สัดส่วนการจ้างงานของบริษัทขนาดใหญ่มีแค่ 20 % ขณะที่ธุรกิจเอสเอ็มอี มีการจ้างงานถึง 80% ดังนั้นหากเศรษฐกิจเดินต่อไปไม่ได้ ถึงขั้นต้องมีการเลย์ออฟพนักงานขอให้เป็นทางเลือกสุดท้าย มิเช่นนั้นวิกฤตจะไม่รู้จบ ควรไปตัดงบโฆษณาลงบ้าง หรือลดเงินเดือนพนักงานจะดีกว่า เริ่มจากการลดเงินเดือนผู้บริหารระดับสูงแล้วค่อยๆไล่ลงมาให้ทุกคนอยู่ได้ หากทำเช่นนี้จะพยุงเศรษฐกิจโดยภาพรวมไปได้ 6 เดือนทุกอย่างน่าจะจบหมด อย่างไรก็ตามตลาดอสังหาริมทรัพย์ในต่างจังหวัดยังไปได้ดี ส่วนกรุงเทพฯอาจจะมากไปแล้ว

@ อนาคต การแข่งขันของไทยกับต่างประเทศท่ามกลางวิกฤตการเมือง


นายอนันต์ กล่าวว่า โดยพื้นฐานแล้ว ไทยไม่แพ้ใครแต่เราไม่สามารถที่จะปรับให้ความรู้ความสามารถของไทยก้าวต่อไปได้มาก เพราะจากที่เราไปลงทุนเมืองนอก เราไม่แพ้ชาติใดเลย หากมองว่าการเติบโตเศรษฐกิจของไทยเติบโตจากเอกชนเป็นส่วนใหญ่ และรัฐเป็นแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น อย่างเรื่องกฎหมายเรื่องภาษีก็ยังไม่เกิดขึ้นจริง เรื่องกฎหมายที่จะมารองรับดิจิทัลอีโคโนมีที่จะมารองรับอินโนเวชั่นช้ามาก หากสังเกตจะพบว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจะเป็นรอบที่เทคโนโลยีเปลี่ยนหมดเป็นตัวหลักให้ฟื้นขึ้นอีก


"ผมย้อนกลับไปตอนปี 41 และ 42 ผมก็ไม่กล้าจ้างคนงานเพิ่มจนกว่าจะมั่นใจว่าฟื้นจริงหรือไม่ ถึงกล้าจ้างคน ผมคิดว่าสถานการณ์ตอนนี้จะรอดยังไง ประเทศไทยผ่านการแข่งกีฬาสีมา 7 ปีก็ยังรอดได้หมด สิ่งที่ผมทำหลังจากเจอวิกฤต ผมจะกลับมาดูเทคโนโลยี หลังเศรษฐกิจฟื้น ผมแทบจะไม่ได้เพิ่มคนเลย เพราะผมมาเพิ่มเรื่องเทคโนโลยี อย่างเรื่องวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ไม่จำเป็นต้องเอาคนมาเจอหน้ากันอีกต่อไป อะไรลดได้ก็ต้องลด"


นายอนันต์ กล่าวถึง การแข่งขันของประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ว่าต้องมีรัฐบาลช่วยปูทางด้านโครงสร้างพื้นฐาน แต่ไม่ต้องเข้ามาช่วยเยอะจนวุ่นวาย อย่างครั้งหนึ่งแค่รัฐบอกว่าจะลดค่าโอนบ้านลง ลูกค้าต่างก็พากันหยุดโอนบ้านทั้งหมด เพื่อรอโครงการรัฐบาล


"ผมว่าปล่อยให้ธุรกิจเดินไปแต่ผมอยากให้ดูแลเรื่องผังเมืองเรื่องสิ่งแวดล้อมผมไม่เห็นด้วยที่จะให้คอนโดขึ้นเต็มไปหมดเราลองนึกภาพดูว่าซอยเล็กนิดเดียว อย่างสุขุมวิท 64 แต่มีคอนโดขึ้น 10 กว่าตึก ผมคิดว่าถ้าเป็นแบบนี้ ประเทศไทยไม่น่าอยู่ ท้ายที่สุดแล้ว กรุงเทพฯจะไม่น่าอยู่เลย ผมห่วงว่าเราเหลือคอนโดแค่ 20 ตร.ม. เราจะทำอย่างไรกับพื้นที่ตรงนี้ ซึ่งเยอะมากนั่นเพราะดอกเบี้ยเงินกู้น้อยมาก ทำให้คอนโดขนาด 20 ตร.ม. เข้าไปทดแทนบ้านเช่า เกิดจากดีเวลลอปเปอร์บางรายเข้าไปจับทำให้ไปทดแทนตลาดบ้านเช่า ผมเชื่อว่าต่อไปเหมือนน้ำบ่อใหญ่ที่ค่อยๆขังมาเป็นเวลา 10 ปี อนาคตหากคนมีรายได้เพิ่มตลาดตรงนี้จะทำอย่างไร เพราะทุกคนเริ่มต้องการบ้านเดี่ยว"


@ แนวทางการบริหารคัดสรรบุคลากร

นายอนันต์ กล่าวถึง จำนวนพนักงานที่ไม่เพิ่มหรือลดตั้งแต่ปี 42 ผ่านมา10 กว่าปีแต่ก็ยังมีเท่าเดิมขณะที่การขยายตัวของธุรกิจเติบโตขึ้น เกิดจากเทคโนโลยีและการเรียนรู้ว่าองค์กรต้องมีพนักงานเท่าที่จำเป็น ถามว่าทำไมเราต้องมีฝ่ายบุคคล ฝ่ายการตลาด ฝ่ายจัดซื้อ เยอะแยะเต็มไปหมด ทั้งที่ฝ่ายบุคคลสามารถดึงเอาผู้จัดการฝ่ายมาทำงานได้โดยดีกว่า รวมถึงฝ่ายจัดซื้อที่เราต้องซื้อประจำ ไม่จำเป็นต้องมี ลองคิดดูว่า ถ้าเราไม่มีฝ่ายนี้จะเดือดร้อนไหม


"กลับไปดูองค์กรตัวเองว่าอะไรไม่จำเป็นต้องมีก็อย่าไปมีมัน อย่างการเปลี่ยนโลโก้บริษัทมีการใช้งบประมาณ40-50 ล้าน เพื่อทำพีอาร์ให้คนรู้ แต่ไม่มีใครจำได้เลย และคนซื้อบ้านก็ไม่ได้ดูจากโลโก้บริษัทว่าสวยถึงซื้อ หรือการดูโบรชัวร์ว่าสวยแล้วตัดสินใจซื้อบ้าน อย่างตอนนี้ผมขายบ้านผ่านทางอินเตอร์เน็ต 30 เปอร์เซนต์ เป็นอินโนเวชั่นใช้ทุนน้อยมากเป็นเรื่องอนาคตที่ต้องให้ความสำคัญกับเทคโนโลยี ผมว่าอย่าเชื่อตำรามาก ไม่จำเป็นต้องตามใคร"


@ อนาคตประเทศไทย

นายอนันต์ กล่าวถึงจุดยืนของประเทศไทยในเออีซีว่า เรามีแรงงานที่เชี่ยวชาญ และสิ่งดีๆ ในเมืองไทยอย่างมาก แต่ขาดการส่งเสริมและร่วมลงทุนโดยเฉพาธุรกิจเอสเอ็มอี


"ผมว่าเราควรเดินไปแบบไต้หวันดีกว่า ถ้าไปแบบเกาหลีหรือญี่ปุ่นอาจจะไม่ค่อยรอด ผมขอย้ำอีกครั้งว่าเราต้องเกิดรายเล็กที่กล้าลงทุนกับธุรกิจเอสเอ็มอี กล้าลงทุน และกล้าที่จะขาดทุน เราต้องเริ่มต้นอย่างนี้ก่อน ผมคิดว่าเราต้องสนุับสนุนให้คนไทยกล้ามาลงหุ้นกับตรงนี้ เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนไปสู่เทคโนโลยีที่จะต่อยอดและพัฒนาไปได้อีก"
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 14-05-2557 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.