| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 114 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 13-05-2557    อ่าน 1430
 เอฟเฟ็กต์แผ่นดินไหว "ตื่นตัว อย่าตื่นตระหนก"

แค่ชั่วข้ามคืน แผ่นดินไหวเชียงราย 6.3 ริกเตอร์ กลายเป็นประเด็นฮอตเขย่าขวัญคนไทยทั้งประเทศ เพราะว่ากันว่านี่คือแผ่นดินไหวที่มีศูนย์กลางในประเทศไทยที่รุนแรงที่สุดในรอบ 100 ปี สร้างความเสียหายให้กับอาคาร ถนนในวงกว้าง

"ประชาชาติธุรกิจ" รวบรวมมุมมองนักวิชาการ หน่วยงานรัฐที่คุมกฎหมาย และภาคเอกชนธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่พัฒนาโครงการคอนโดมิเนียม ที่มีต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแบบสายฟ้าแลบ

เป็นหนึ่ง วานิชชัย

"กรุงเทพฯมีความเสี่ยงน้อย"

เริ่มที่ "ดร.เป็นหนึ่ง วานิชชัย" ประธานอนุกรรมการสาขาผลกระทบจากแผ่นดินไหวและแรงลม วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) และกูรูด้านแผ่นดินไหว

- ผลกระทบแผ่นดินไหวล่าสุด

ต้องทำความเข้าใจว่าแผ่นดินไหวล่าสุด 6.3 ริกเตอร์ ถือว่าเป็นขนาดกลาง ถ้าขนาดใหญ่คือ 7-7.9 ริกเตอร์ ขนาดใหญ่มาก 8 ริกเตอร์ สำหรับแผ่นดินไหวระดับกลางจะสร้างความเสียหายในวงจำกัด ขีดรัศมีจากจุดศูนย์กลาง 10-20 กิโลเมตร ถ้ามีสิ่งปลูกสร้างที่ไม่มั่นคงแข็งแรงมีโอกาสถล่มหรือเสียหายร้ายแรงได้ แต่ถ้าห่างออกไป 30-40 กิโลเมตรโอกาสเสียหายน้อย อาจเกิดเพียงรอยร้าวหรือของหล่นเสียหาย

ตัวแปรขึ้นกับ 1) ระดับความลึก-ตื้นที่เกิดแผ่นดินไหวด้วย ถ้าตื้นคือไม่เกิน 10 กิโลเมตรจะสร้างความเสียหายได้มากกว่า และ 2) จุดศูนย์กลางมีชุมชน-อาคารสิ่งปลูกสร้างหรือไม่ สำหรับเหตุการณ์ล่าสุดเกิดลึกลงไป 10 กิโลเมตรถือว่าตื้น อย่างไรก็ตาม เข้าใจว่าใน อ.พาน และ อ.แม่ลาว ไม่ค่อยมีชุมชนขนาดใหญ่และอาคารส่วนใหญ่เป็นขนาดเล็ก จึงไม่ถึงขั้นมีอาคารถล่มต้องทุบทิ้งสร้างใหม่

- อาคารในกรุงเทพฯมีโอกาสถล่ม

ถ้าเกิดแผ่นดินไหวที่เชียงรายแล้ว อาคารในกรุงเทพฯมีความเสี่ยงน้อยที่จะเกิดแม้แต่รอยร้าว เพราะอยู่ไกล 600-700 กิโลเมตร ยกเว้นอาคารที่โครงสร้างไม่แข็งแรงอยู่แล้ว เช่น ต่อเติมผิด แบบอาจร้าวได้ เป็นต้น

สำหรับอาคารเก่าที่สร้างก่อนกฎกระทรวงอาคารต้านแผ่นดินไหวในปี 2550 อาคารพาณิชย์ที่สร้างมานานก็เป็นกลุ่มเสี่ยงเพราะไม่ได้ออกแบบให้ต้านแผ่นดินไหว ควรให้วิศวกรเข้ามาตรวจสอบความแข็งแรงเพื่อเสริมความแข็งแรงโครงสร้าง เช่น ก่อกำแพงเพิ่ม ใช้แผ่นคาร์บอนไฟเบอร์พันรอบเสา ใส่เหล็กดามอาคารในบางจุด ใส่เหล็กเพิ่มในบางจุด ฯลฯ แต่ไม่ถึงขั้นต้องทุบรื้อ ค่าใช้จ่ายประมาณการเบื้องต้น 5-15% ของค่าก่อสร้างเดิม

- คำแนะนำ

ถ้าศูนย์กลางเกิดในบริเวณชุมชน ความเสียหายจะมากกว่านี้ ดังนั้นควรใช้เหตุการณ์ครั้งนี้เป็นบทเรียน ต้องปรับปรุงมาตรฐานการออกแบบโครงสร้างอาคารให้ดีขึ้น ปัจจุบันมีกฎหมายบังคับอยู่แล้ว แต่ควบคุมเฉพาะอาคารสูงเกิน 15 เมตร อาคารสาธารณะและอาคารเก็บวัสดุอันตราย ควรแก้ไขบังคับกับอาคารประเภทเฉพาะพื้นที่เสี่ยงแผ่นดินไหวคือภาคเหนือและภาคตะวันตก ซึ่งมีกลุ่มรอยเลื่อน

- แผ่นดินไหวเกิดถี่และรุนแรงขึ้น

ไม่ใช่ครับ ที่เกิดบ่อยคือประเทศจีนตอนใต้และสหภาพเมียนมาร์ ภาคเหนือถือเป็นชายขอบจุดเกิดแผ่นดินไหว โอกาสเกิดแผ่นดินไหวประปราย แต่ก็ต้องไม่ประมาท

ประเสริฐ แต่ดุลยสาธิต

"คอนโดฯรับแผ่นดินไหวได้ 6.5-7 ริกเตอร์"

ด้านความคิดเห็นของนายกสมาคมอาคารชุดไทย "ประเสริฐ แต่ดุลยสาธิต" ที่ปัจจุบันสวมหมวก 2 ใบ ทั้งผู้พัฒนาโครงการตึกสูงภายใต้บริษัท พฤกษาเรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) และในฐานะนายกสมาคมคนใหม่

- ความปลอดภัยคอนโดฯ

อาคารในกรุงเทพฯไม่มีข่าวความเสียหายเลย เพราะ พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2535 มีการปรับโค้ดให้ดีขึ้น โดยออกกฎกระทรวงกำหนดการรับน้ำหนักความต้านทาน ความคงทนของอาคารและพื้นดินที่รองรับอาคารในการต้านทานแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวปี 2550 ขณะที่ปี 2555 มีกฎกระทรวงควบคุมความแข็งแรงโครงสร้างสำหรับอาคารดัดแปลง ช่วยให้มาตรฐานความแข็งแรงอาคารดีขึ้น

- คอนโดฯรับแผ่นดินไหวได้กี่ริกเตอร์

ถ้าเป็นอาคารหลังปี"50 ส่วนใหญ่รับได้ตั้งแต่ 6.5-7 ริกเตอร์ขึ้นไป ในแง่ต้นทุนค่าก่อสร้างมีหมายเหตุในกฎกระทรวงว่าเพิ่มขึ้น 5-10% อยู่ในเกณฑ์ที่รับได้ สำหรับแผ่นดินไหวล่าสุดศูนย์กลางเกิดในจังหวัดเชียงราย ห่างจากกรุงเทพฯ 660 กิโลเมตร ยิ่งไกลก็ยิ่งลดทอนระดับความรุนแรง ไม่น่าเป็นห่วง ตึกในกรุงเทพฯที่รับรู้แรงสั่นไหวได้นั่นคือโครงสร้างทำให้เกิดความยืดหยุ่นช่วยลดความเสียหาย

- จะกระทบยอดขายคอนโดฯหรือไม่

คิดว่าไม่... กลับกันเมื่อไม่มีข่าวอาคารในกรุงเทพฯเสียหายน่าจะช่วยสร้างความมั่นใจให้ผู้บริโภคด้วย เชื่อว่าจะไม่มีผู้ประกอบการชะลอเปิดตัวโครงการเพราะแผ่นดินไหว ปัจจัยที่กังวลคือปัญหาการเมืองมากกว่า ในฐานะสวมหมวกผู้บริหาร บมจ.พฤกษาฯ เดือนพฤษภาคมนี้ยังเปิดตัวคอนโดฯใหม่ตามแผนธุรกิจที่วางไว้ ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองเป็นเรื่องที่ต้องติดตามมากกว่า

มณฑล สุดประเสริฐ

"แค่สมัครใจไม่พอ ต้องบังคับ"

พลันที่เกิดเหตุแผ่นดินไหว สปอตไลต์สาดส่องไปยัง "มณฑล สุดประเสริฐ" อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง ในฐานะเป็นหน่วยงานคุมกฎหมาย

- จะทบทวนกฎหมายใหม่

ครับ...กำลังเสนอให้คณะกรรมการควบคุมอาคารพิจารณาเร็ว ๆ นี้ เพราะเหตุที่เกิดขึ้นรุนแรงมาก จะมีปรับปรุงกฎกระทรวง 2 ฉบับ คือ กฎกระทรวง กำหนดการรับน้ำหนัก ความต้านทาน ความคงทนของอาคารและพื้นดินที่รองรับอาคารในการต้านทานแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว พ.ศ. 2550

จะกำหนดให้อาคารบางประเภทในพื้นที่เสี่ยงภัยแผ่นดินไหวจะต้องมีความมั่นคงแข็งแรง สามารถต้านทานแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวได้ในระดับที่เหมาะสม โดยพื้นที่เสี่ยงภัยแผ่นดินไหวที่กำหนดในกฎกระทรวงแยกออกได้เป็น 3 บริเวณตามระดับความเสี่ยงภัยจากน้อยไปมาก และกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์การอนุญาตดัดแปลงอาคารเพื่อเสริมความมั่นคงแข็งแรงของอาคารให้ต้านแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวปี 2555

- ปรับปรุงอะไรบ้าง

พอเหตุรุนแรงขึ้น ก็กลับมาดูเรื่องความสูงของอาคาร เดิมในกฎกระทรวงปี 2550 จะให้อาคารสูงเกิน 15 เมตร (ประมาณตึกแถว 4 ชั้น) ต้องออกแบบโครงสร้างรับแรงสั่นสะเทือนแผ่นดินไหว จะปรับใหม่ให้อาคารทุกประเภทและทุกขนาดต้องตรวจสอบและออกแบบรองรับไว้ด้วย

ส่วนอาคารเก่าที่กฎกระทรวงปี 2555 ให้สามารถดัดแปลงเสริมความแข็งแรงของอาคารได้โดยไม่ต้องทำตามกฎกระทรวงใหม่ จากเดิมเราให้เป็นแบบความสมัครใจ ทำให้คนไม่ค่อยตื่นตัว ต่อไปจะบังคับเจ้าของอาคารทุกประเภทและทุกขนาดจะต้องตรวจสอบความแข็งแรงของอาคารว่าจะรับกับแรงสะเทือนของแผ่นดินไหวหรือไม่ โดยนำเกณฑ์ของแผ่นดินไหวมาตรวจสอบและมีวิศวกรมาเซ็นรับรอง ถ้าโครงสร้างแข็งแรงไม่พอจะต้องขอดัดแปลงตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง ซึ่งการต่อเติมจะมีต้นทุนก่อสร้างเพิ่มสูงขึ้นมากขึ้นอยู่กับตัวอาคาร ถึงจะแพงแต่จำเป็นต้องทำ และต้องมีวิศวกรเซ็นรับรอง

- ระบุหรือไม่ว่าต้องกี่ริกเตอร์

จะไประบุแบบนั้นไม่ได้ จะกำหนดเป็นการคำนวณแรงสั่นสะเทือนโดยนำข้อมูลแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวที่มีผลกระทบทั้งในและนอกประเทศ เช่น ด่านเจดีย์สามองค์ ระดับ 6 ริกเตอร์ แยกตามความรุนแรงใน 3 บริเวณ แต่ละบริเวณจะไม่เท่ากัน อย่างกรุงเทพฯไม่อยู่ในศูนย์กลางรอยเลื่อน มีโอกาสที่จะไม่เกิดแผ่นดินไหว จึงบอกไม่ได้ว่าจะรับได้กี่ริกเตอร์

แต่ถ้าความเร่งของพื้นดินที่ตั้งอาคารเร่งมากจะสั่นสะเทือนมาก ซึ่งกรุงเทพฯค่าเร่งอยู่ที่ 7.5 เท่าของแรงโน้มถ่วง ส่วนภาคเหนืออยู่ที่ 15 เท่า จากสถิติจะรุนแรงกว่ากรุงเทพฯ อาคารที่สร้างก่อนปี 2550 จะน่าเป็นห่วงมาก เพราะอาคารใหม่ ๆ ช่วงหลัง ๆ จะมีการคำนวณสิ่งเหล่านี้ไว้แล้ว จากสถิติมีตึกสูง 21,078 แห่ง ที่ต้องตรวจสอบอยู่ในกรุงเทพฯ 11,961 แห่ง
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 13-05-2557 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.