| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 79 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 07-03-2557    อ่าน 1462
 จ่ายงบท้องถิ่น7พันแห่งสะดุด รับเหมาจ๊าก!! ยื้อค่าก่อสร้าง 1 ปี

เบิกจ่ายงบภาครัฐสะดุด เงินอุดหนุนท้องถิ่น 7,000 แห่งขาดตอน รับเหมารายกลาง-รายย่อยป่วนหนัก ถูกยื้อค่างวดงานถ้วนหน้า 2 เดือน-1 ปี เผยไม่เว้นแม้แต่ "ดีเอสไอ-กทม." ส่วนรถไฟฟ้า 3 สีลุ้นเงินก้อน 1.7 หมื่นล้านโปะไซต์ก่อสร้าง

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ผลกระทบจากบรรยากาศการเมืองที่มีการชุมนุมปิดสถานที่ราชการจนทำให้ข้าราชการไม่สามารถเข้าทำงานได้ตามปกติ ยังคงมีแรงเหวี่ยงอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในวงการผู้รับเหมาก่อสร้างที่เป็นคู่สัญญากับภาครัฐ จากการสำรวจความเคลื่อนไหวล่าสุดพบว่ากลุ่มผู้รับเหมารายกลางและรายย่อยในพื้นที่ต่างจังหวัดถูกปฏิเสธการเบิกเงินค่างวดงานจากหน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกระดับ โดยชี้แจงว่าไม่สามารถทำธุรกรรมเบิกจ่ายได้ เพราะไม่สามารถเบิกเงินงบประมาณที่ได้รับจัดสรร หรืองบประมาณอุดหนุนได้ตามปกตินั่นเอง

โครงการดีเอสไอดึงเงินงวด

แหล่งข่าวจากวงการรับเหมาก่อสร้าง เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ขณะนี้มีผู้รับเหมาก่อสร้างทุกระดับ ทั้งรายใหญ่ รายกลาง รายเล็กที่เป็นคู่สัญญากับหน่วยงานราชการเริ่มประสบปัญหาได้รับค่าจ้างล่าช้า คาดว่ามีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย คือหน่วยงานถูกปิดเนื่องจากมีการชุมนุมเกิดขึ้น เช่น กรณีโครงการก่อสร้างอาคารสำนักงานแห่งใหม่ของกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) วงเงินประมาณ 500-600 ล้านบาท ที่จ่ายเงินล่าช้าอยู่ประมาณ 1-2 เดือนหลังกระทรวงการคลังถูกปิด

นอกจากนี้ ยังเกิดกรณีมีปัญหาเรื่องการบริหารจัดการงบประมาณที่มีการโยกไปใช้จ่ายสำหรับโครงการอื่น ปัจจุบันเริ่มเห็นในส่วนของหน่วยงานท้องถิ่นที่ได้รับเงินงบประมาณเป็นก้อนใหญ่แล้วไปบริหารจัดการภายหลัง โดยเฉพาะกรุงเทพมหานคร (กทม.) ที่มีปัญหาเรื่องการบริหารงบประมาณการเบิกจ่ายมาประมาณ 1-2 ปีแล้ว

"กทม.จะบริหารงานและเงินไม่ดี หรือใช้เงินผิดประเภท ทำให้มีปัญหา เช่น โยกเงินค่าก่อสร้างไปใช้โครงการอื่นก่อน สาเหตุอาจเพราะความคืบหน้าการก่อสร้างอาจจะล่าช้า แต่เมื่องานก่อสร้างเดินหน้าก็ไม่มีเงินมาจ่าย อย่างปีที่แล้วล่าช้า 6-7 เดือน" แหล่งข่าวกล่าว

กทม.ยอมรับยื้อ 1-2 เดือน

นายจุมพล สำเภาพล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ยอมรับว่า กทม.จ่ายเงินผู้รับเหมาล่าช้าบ้าง เนื่องจากงบประมาณประจำปีหมด และมีบางโครงการที่ก่อสร้างได้เร็วกว่าแผน ทำให้ตั้งงบประมาณไม่เพียงพอ

อย่างไรก็ตาม ในปีนี้ กทม.ได้กันงบประมาณกลางปี จำนวน 2,000 ล้านบาท สำหรับจ่ายค่าก่อสร้างให้ผู้รับเหมาใน 16 โครงการหลัก ทั้งงานถนนและระบายน้ำ ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีผู้รับเหมาโครงการไหนขอเบิกจ่ายมา อาจจะอยู่ในขั้นตอนตรวจรับงานก่อสร้าง

"ตอนนี้อาจจะมีล่าช้าบ้าง 1-2 เดือน เพราะกระบวนการเบิกจ่ายงบฯกลางปีจะนาน เหมือนกับรัฐบาล เวลาขอเบิกมาใช้จะใช้เวลาหลายเดือน ส่วนปีที่แล้วที่จ่ายช้าหลายเดือน เพราะ กทม.ไม่ได้รับเงินอุดหนุนสำหรับงานโครงสร้างพื้นฐานจากรัฐบาลกลางเลย จึงไม่มีเงินจ่ายค่าจ้างผู้รับเหมา ปีนี้ กทม.ใช้เงินจากงบประมาณของ กทม.เอง จึงคาดว่าไม่น่ามีปัญหามากนัก" รองผู้ว่าฯ กทม.กล่าว

รถไฟฟ้า 3 สายติดบ่วง

นายอังสุรัสมิ์ อารีกุล นายกสมาคมอุตสาหกรรมไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวว่า ได้รับการรายงานเรื่องนี้มาเหมือนกัน ประเด็นจ่ายเงินให้ผู้รับเหมาล่าช้า เท่าที่ทราบเป็นงานก่อสร้างอาคารของหน่วยงานหนึ่ง เนื่องจากที่ทำงานถูกปิด จึงไม่สามารถเข้าไปทำงานตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ส่วนรับเหมางานทาง ส่วนใหญ่ไม่ค่อยจะมีปัญหา

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า อีกหน่วยงานที่มีปัญหาเรื่องจ่ายเงินผู้รับเหมา คือการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ที่ต้องรอการอนุมัติจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เพื่อมาจ่ายเงินให้กับผู้รับเหมาก่อสร้างรถไฟฟ้า 3 สาย วงเงินรวมประมาณ 17,100 ล้านบาท ได้แก่ สายสีม่วง (บางซื่อ-บางใหญ่) วงเงิน 10,918 ล้านบาท จะครบกำหนดจ่ายเดือนมีนาคมนี้ยังมีสายสีเขียว (แบริ่ง-สมุทรปราการ) ครบกำหนดจ่ายเดือนพฤษภาคม จำนวน 1,654 ล้านบาท และสายสีน้ำเงิน (บางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแค) ครบกำหนดจ่ายในเดือนพฤษภาคม 4,545 ล้านบาท หากล่าช้าจะกระทบต่อแผนงานก่อสร้าง และการเปิดให้บริการล่าช้าโดยปริยาย

อบต.7 พันแห่งชะเง้อรอ

นายชัยมงคล ไชยรบ นายกสมาคมองค์การบริหารส่วนจังหวัดแห่งประเทศไทย (สมาคม อบจ.) เปิดเผยว่า จากการที่ได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาลล่าช้า กระทบต่อองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) กว่า 7,000 แห่งทั่วประเทศ ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะ อบต.ขนาดเล็กที่ได้รับงบประมาณ 15 ล้านบาท/ปี เป็นกลุ่มได้รับผลกระทบหนักที่สุด เพราะขาดเงินทุนในการบริหารงาน แตกต่างจาก อบต.ขนาดใหญ่ที่มีเงินทุนเหลือสะสมอยู่แล้ว

"ปัญหาดังกล่าวมีสาเหตุหลักมาจากรัฐจัดเก็บภาษีรถยนต์ได้ช้า ทำให้การส่งภาษีถึงท้องถิ่นช้าตามไปด้วย จากเดิมจะส่งเดือนละ 1 ครั้ง แต่นับจากสิ้นปีงบประมาณ"56 เมื่อเดือนกันยายน ปรากฏว่ารัฐบาลเพิ่งจ่ายเงินให้ท้องถิ่นเมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์"57 และจ่ายครั้งเดียว3 เดือน ทำให้แผนลงทุนของท้องถิ่นคลาดเคลื่อน" นายชัยมงคลกล่าว

หวั่นงบฯล่าช้าลากยาวปีหน้า

นายวิชัย บรรดาศักดิ์ นายกสมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ขณะนี้กำลังให้เทศบาลทั่วประเทศตรวจสอบว่ามีกี่โครงการที่หน่วยงานภาครัฐจัดสรรงบประมาณส่วนท้องถิ่นประจำปี 2557 ล่าช้า เพื่อจะได้หาทางพิจารณาช่วยเหลือต่อไป โดยได้รับคำชี้แจงว่าสาเหตุที่งบประมาณเบิกจ่ายช้า เนื่องจากรัฐเก็บภาษีต่าง ๆ ได้ช้าเช่น ภาษีบำรุงท้องถิ่น ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีป้าย ค่าธรรมเนียมห้องพักจากผู้ประกอบการโรงแรม ซึ่งเป็นผลกระทบจากการชุมนุมทางการเมือง ทำให้นักท่องเที่ยวเดินทางลดลง อีกสาเหตุหนึ่งคือเศรษฐกิจภาพรวมที่ชะลอตัวลง ทำให้ผู้ประกอบการจ่ายภาษีล่าช้า

"สิ่งที่เป็นห่วงคือปัญหานี้จะเห็นได้ชัดเจนในปีงบประมาณ 2558 ที่แนวโน้มรัฐจะจัดเก็บภาษีลดลง หากสภาพเศรษฐกิจ การเมืองยังเป็นเช่นนี้ จะมีผลต่อการจัดสรรงบประมาณกระจายสู่ท้องถิ่น ทำให้แผนงานต่าง ๆ ที่ท้องถิ่นวางไว้ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย" นายวิชัยกล่าว
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 07-03-2557 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.