| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 63 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 06-03-2557    อ่าน 1456
 "ตึกถล่ม-แท็งก์น้ำระเบิด" บทเรียนซ้ำซากวงการก่อสร้าง "วสท." เร่งสร้างมาตรฐานความปลอดภัย

สัปดาห์ที่ผ่านมาไม่มีใครคาดคิดว่าวงการก่อสร้างจะเกิดเหตุไม่คาดฝันขึ้น 2 ครั้งติดกัน

เหตุการณ์แรกเกิดขึ้นช่วงเที่ยงของวันที่ 25 ก.พ.ที่ผ่านมา เมื่อจู่ ๆ ไซต์งานก่อสร้างตึกสถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ถล่มลงมา มีผู้เสียชีวิตร่วม 10 ราย โครงการดังกล่าวมีบริษัทรับเหมาแถวหน้าของประเทศไทย "บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์" เป็นผู้ก่อสร้าง และมีกลุ่มบริษัท ACSE100 Consortium คุมงาน

ถัดมาอีกไม่กี่ชั่วโมงช่วง 4 ทุ่มวันเดียวกัน เหตุเกิดที่ริมถนนมอเตอร์เวย์ บริเวณ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี เมื่อถังเก็บน้ำขนาดยักษ์ของ "อีสท์วอเตอร์-บมจ.จัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก" มี บจ.ซิสโก้ เอ็นจิเนียริ่ง ออกแบบและก่อสร้าง เกิดระเบิดระหว่างทดสอบบรรจุน้ำ มีคนงานบาดเจ็บ 3 คนและร้านค้าละแวกนั้นได้รับความเสียหาย

เบรกอุบัติเหตุ 0% 19 เดือน

ย้อนรอยเหตุการณ์แรก จุดเกิดเหตุเป็นอาคารโรงพยาบาลและหอผู้ป่วยในสูง 8 ชั้น ขนาด 400 เตียง เป็นพื้นที่ส่วนแรกของโครงการก่อสร้าง "สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์" บนที่ดินกว่า 300 ไร่ ต.บางปลา อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ อายุสัญญาเริ่ม 10 กรกฎาคม 2555-18 มิถุนายน 2559

ที่ผ่านมางานก่อสร้างคืบหน้าตามแผนงานที่ 26% แต่แล้วก็เกิดเหตุพื้นที่ก่อสร้างบริเวณ "ช่องบันได" ถล่ม เป็นอุบัติเหตุครั้งแรกนับจากเริ่มงานมา 19 เดือน หลังเกิดเหตุ "วสท.-วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์" ในฐานะองค์กรวิชาชีพแอ็กชั่นส่งทีมลงพื้นที่ตรวจสอบทันควัน

วสท.สันนิษฐาน 3 ต้นตอ

"รศ.สิ ริวัฒน์ ไชยชนะ" เลขาธิการ วสท. ระบุว่า เกิดจากกำแพงคอนกรีตความสูง 26 เมตรของโครงสร้าง "ช่องบันได" ที่หล่อโดยใช้ "สลิปฟอร์ม" หรือ "แบบหล่อคอนกรีต" เกิดหักพังลงมาเป็น 2 ส่วน โดยส่วนแรกกระแทกกับทางเชื่อมอาคารชั้น 3 เป็นผลให้ทางเชื่อมหักและพังลงมาทับคนงานที่อยู่ชั้น 2 ขณะที่ส่วนที่ 2 พังลงมาในบริเวณใกล้เคียงกับส่วนที่เป็นฐาน

สำหรับ "โครงสร้างช่องบันได" จุดเกิดเหตุ มีลักษณะเป็นกรอบผนังคอนกรีต สูงจากพื้นที่ชั้น 3 ขึ้นไป 26 เมตร มีเหล็กค้ำยันตามแนวนอนระยะห่าง 3 เมตร เป็นตัวยึดโครงสร้างกรอบผนังคอนกรีตไว้แบบชั่วคราว แต่อาจไม่แข็งแรงพอ

สันนิษฐาน สาเหตุอาจมาจาก 3 ส่วน 1) การปะทะของแรงลม เพราะไซต์งานอยู่ใกล้ชายทะเลทำให้โครงสร้างสั่นไหวจนเหล็กค้ำยันหลวม 2) การถ่ายเทน้ำหนักบนสลิปฟอร์มระหว่างโครงสร้างด้านใดด้านหนึ่งอาจไม่สมดุล จนเกิดการถ่วงน้ำหนักและพังลงมา และ 3) โครงสร้างอาจถูกกระแทกจากแรงเหวี่ยงของทาวเวอร์เครนในที่เกิดเหตุ นอกจากนี้อาจมีปัจจัยวัสดุที่ไม่ได้มาตรฐาน เช่น คอนกรีตมีกำลังอัดรับน้ำหนักไม่เพียงพอ

ด้านนายก วสท. "ศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์" ระบุว่า สถิติการเกิดอุบัติเหตุจากการก่อสร้างโดยใช้สลิปฟอร์มมีน้อยมาก เพราะต้องมีการคำนวณและวางแผนก่อสร้างจากผู้เชี่ยวชาญเป็นอย่างดี แนะนำให้เสริมความแข็งแรงของโครงสร้าง โดยค้ำยันแบบไขว้ระหว่างกำแพง 2 ด้าน แทนการค้ำยันตามแนวนอน

อิตาเลียนไทยฯแจงสาเหตุ

ขณะที่ "วิรัช ก้องมณีรัตน์" รองประธานบริหารอาวุโส บมจ.อิตาเลียนไทยฯ ชี้แจงว่า ได้ส่งทีมวิศวกรตรวจสอบที่เกิดเหตุและวิเคราะห์สาเหตุเกิดจากแรงลมที่มาปะทะ กับโครงสร้าง ล่าสุดได้สั่งการให้ทุกไซต์งานที่มีโครงสร้างแบบเดียวกัน เสริมการค้ำยันแบบไขว้แล้ว โดยจุดเกิดเหตุคิดเป็นพื้นที่ 10% ของทั้งหมด จะหยุดก่อสร้างส่วนนี้ชั่วคราวเพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าตรวจสอบ

"บริษัทจะรับผิดชอบความเสียหายทั้งหมด เบื้องต้นได้เยียวยาแรงงานที่เสียชีวิตและบาดเจ็บ ยืนยันว่าการก่อสร้างได้มาตรฐานตามแผนงานไม่ได้เร่งสร้างแต่อย่างใด"

ปิ๊งทำมาตรฐานปลอดภัยฯ

ส่วนกรณีถังเก็บน้ำยักษ์ระเบิดที่ จ.ชลบุรี "วสท." ได้ลงพื้นที่ตรวจสอบจุดเกิดเหตุเช่นกัน โดย "รศ.สิริวัฒน์" เลขาธิการ วสท.ระบุว่า ถังเก็บน้ำดังกล่าวมีรูปทรงสี่เหลี่ยม สูง 18 เมตร กว้าง 30 เมตร จุน้ำได้กว่า 1.6 หมื่นลูกบาศก์เมตร

สันนิษฐานเบื้องต้นอาจ เกิดจากการออกแบบรูปทรงถังเก็บน้ำไม่ตรงตามหลักวิศวกรรม ตามหลักควรเป็น "ทรงสูง" และมีผนังด้านข้างเป็นทรงโค้งคล้ายรูปทรงถังเก็บน้ำมันขนาดใหญ่ แทนที่จะเป็นทรงสี่เหลี่ยม ประกอบกับอาจคำนวณแบบหล่อคอนกรีตและโครงสร้างไม่แข็งแรงเพียงพอ

จาก ทั้ง 2 เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ในฐานะเลขาธิการ วสท.จะเสนอที่ประชุมจัดตั้งคณะกรรมการจัดทำ "ร่างมาตรฐานความปลอดภัยระหว่างการก่อสร้าง" (ชื่อไม่เป็นทางการ) เพื่อใช้เป็นมาตรฐานอ้างอิง

"สิ่งที่เตรียมจะทำ เช่น ออกมาตรฐานการติดตั้งเหล็กค้ำยันยึดโครงสร้างกรอบผนังไว้แบบชั่วคราวระหว่าง การก่อสร้าง จะลงรายละเอียดว่าควรติดตั้งเหล็กค้ำยันในลักษณะใด จึงแข็งแรงปลอดภัย หรือกรณีถังเก็บน้ำขนาดยักษ์ที่เป็นวัตถุโครงสร้างพิเศษ ควรจะออกแบบอย่างไรให้แข็งแรงปลอดภัย" คำกล่าวเลขาฯ วสท.

ทั้งนี้ "อุบัติเหตุ" ในการก่อสร้างเป็นสิ่งที่ป้องกันได้ หากทุกฝ่ายทำงานโดยยึดความปลอดภัยเป็นที่ตั้ง
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 06-03-2557 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.