| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 94 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 28-02-2557    อ่าน 1427
 ชง 3 แสนล้านแก้แล้ง-ประปาเค็ม เวนคืน 2.5 หมื่นไร่ กทม.ถึงชัยนาท

แก้ปัญหาน้ำเค็ม-ภัยแล้ง "กปน." สบช่องเตรียมเสนอรัฐบาลใหม่ ปัดฝุ่นเมกะโปรเจ็กต์น้ำประปา 3 แสนล้าน สร้างโรงงานดึงน้ำดิบจากเขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท เตรียมที่ดิน 2.5 หมื่นไร่วางท่อ200 กิโลเมตร ป้อนน้ำประปาคนกรุงและโรงงานอุตสาห-กรรมในนิคมมาบตาพุด เตรียมเสนอบอร์ดมีนาคมนี้

นายสมัย อนุวัตรเกษม ประธานคณะกรรมการการประปานครหลวง (กปน.) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ปัญหาน้ำทะเลหนุนสูงที่สร้างผลกระทบต่อระบบผลิตน้ำประปาในเขตพื้นที่บริการน้ำ 3 จังหวัด คือ กรุงเทพฯ สมุทรปราการ นนทบุรี และมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้นทุกปี ซึ่งปีนี้ปัญหาเกิดเร็วขึ้น ทั้งระดับความเค็มของน้ำก็สูงขึ้น 7-8 เท่าตัว ดังนั้นบอร์ด กปน.เตรียมหารืออนุมัติหลักการโครงการรองรับระยะยาว จากนั้นจะได้มอบหมายให้ กปน.ไปศึกษารายละเอียด เพื่อเตรียมเสนอรัฐบาลใหม่พิจารณา ประเมินเบื้องต้นคงต้องลงทุนถึง 2-3 แสนล้านบาท

สร้างอุโมงค์ผันน้ำดิบ

เพื่อเร่งแก้ปัญหาน้ำทะเลหนุนสูง ตามแผนจะมี 2 โครงการ คือ 1.สร้างอุโมงค์ผันน้ำดิบจากลุ่มน้ำแม่กลอง ซึ่งมีคุณภาพน้ำดีที่สุดในประเทศไทย และไม่มีปัญหาน้ำทะเลหนุนเพราะอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลมาก ปัจจุบันมีการผันน้ำผ่านระบบคลองธรรมชาติระยะทาง 127 กม. แต่ระหว่างทางจะมีเกษตรกรดึงน้ำออกไปใช้บางส่วน ทำให้เหลือเข้าระบบประปาเพียง 25-30% การสร้างอุโมงค์จะช่วยผันน้ำให้กับประปาโดยเฉพาะ คาดว่าใช้เงินลงทุน 1-1.5 หมื่นล้านบาท

"ทุกวันนี้เวลามีปัญหาน้ำเค็ม เราจะใช้วิธีน้ำไล่น้ำ ใช้น้ำจืดมาไล่น้ำเค็ม ผันน้ำโดยใช้คลองธรรมชาติ ซึ่งรับน้ำจากลุ่มน้ำแม่กลองจากต้นทางที่ 2 เขื่อนหลักคือ เขื่อนศรีนครินทร์กับเขื่อนวชิราลงกรณ์ ผ่านคลองจรเข้สามพัน คลองสองพี่น้อง มาทางแม่น้ำท่าจีน สูบขึ้นมาทางคลองพระยาบันลือ แล้วมาลงแม่น้ำเจ้าพระยาที่บางไทร อีกสายหนึ่งคือผันน้ำมาทางฝั่งธนฯ รับจากลุ่มน้ำแม่กลองเหมือนกัน ผันน้ำมาทางคลองปลายบางผ่านคลองมหาสวัสดิ์ คลองบางกอกน้อยมาลงเจ้าพระยา" นายสมัยกล่าวและว่า เบื้องต้นจะศึกษาแนวทางสร้างอุโมงค์ เพื่อนำน้ำจากแม่กลองมาช่วยฝั่งเจ้าพระยา เป็นการผันน้ำเข้าระบบประปา เนื่องจากเป็นแผนเร่งด่วนจึงใช้วิธีบรรจุเป็นแผนลงทุนในโครงการปรับปรุงกิจการประปาแผนหลักครั้งที่ 9 (แผน 9) ส่วนแนวเส้นทางจะต้องศึกษาใหม่ เน้นให้มีการลงทุนน้อยที่สุด อาจจะผันน้ำมาที่โรงผลิตน้ำมหาสวัสดิ์ จากนั้นวางแนวท่อตามถนนกาญจนาภิเษกมาเข้าคลองประปา เพื่อป้อนน้ำให้กับโรงผลิตน้ำบางเขนที่มีระยะทางสั้นที่สุด



สร้างโรงผลิตน้ำ "ชัยนาท"

ส่วนโครงการที่ 2 คือ การผลิตน้ำประปาจากลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนบนที่ จ.ชัยนาท ตามแผนจะต้องตั้งโรงผลิตน้ำขนาดใหญ่ กำลังผลิตวันละ 2 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) โดยใช้น้ำดิบจากเขื่อนเจ้าพระยา พร้อมกับสร้างอุโมงค์ระยะทางกว่า 200 กม. เพื่อส่งน้ำมาเสริมกับกำลังผลิตของ กปน.ที่มีโรงผลิตน้ำ 4 แห่ง กำลังผลิตรวมวันละ 5.9 ล้าน ลบ.ม.

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการนี้นอกจากแก้ปัญหาน้ำเค็มอย่างถาวรแล้ว ยังสามารถป้อนน้ำประปาให้กับพื้นที่ภาคตะวันออกผ่านระบบของการประปาส่วนภูมิภาค และป้อนน้ำประปาให้กับองค์กรส่วนท้องถิ่นตามเส้นทางได้ด้วย

ทั้งนี้ โครงการผลิตน้ำประปาจากลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนบน เป็นแผนงานเดิมที่เคยศึกษาลงลึกในรายละเอียดเสร็จแล้วตั้งแต่เดือนตุลาคม 2555 หลังจากเกิดน้ำท่วมใหญ่ในกรุงเทพฯช่วงปลายปี 2554 ซึ่ง กปน.เห็นความจำเป็นที่จะต้องมีระบบผลิตและจ่ายน้ำประปาที่มีเสถียรภาพ เพื่อป้อนให้กับผู้ใช้น้ำได้ตลอดเวลาโดยไม่ต้องกังวลกับปัญหาน้ำท่วมและน้ำเค็มหนุนสูงอีกต่อไป

ลงทุนเบื้องต้น 3 แสนล้าน

รายละเอียดโรงผลิตน้ำที่ จ.ชัยนาท ตามแผนศึกษาจะออกแบบเป็น 3 ระยะ ทั้งโครงการจะแล้วเสร็จภายใน 15 ปี ประกอบด้วย ระยะที่ 1 (แผนปีที่ 1-5) ต้องจัดเตรียมที่ดิน 2.5 หมื่นไร่ เพื่อสร้าง Intake Plant, Service Reservoir สำหรับวางท่อส่งน้ำและสถานีสูบจ่ายน้ำ

นอกจากนี้ ยังต้องก่อสร้างอีก 8 รายการ อาทิ ระบบน้ำดิบและผลิตน้ำ งานขุดคลองส่งน้ำ ค่าสถานีสูบจ่ายน้ำ 5 แห่ง ใน 5 จังหวัด งานดันระบส่งน้ำ ท่อส่งน้ำ งานอุปกรณ์เครื่องจักรกลและระบบไฟฟ้า ฯลฯ วงเงินรวม 218,266 ล้านบาทระยะที่ 2 (แผนปีที่ 6-10) เนื้องานจะเป็นค่าก่อสร้าง 3 รายการหลัก คือระบบน้ำดิบและผลิตน้ำ งานอุปกรณ์เครื่องจักรกลและระบบไฟฟ้า งานวางระบบส่งน้ำ ท่อส่งน้ำ รวมวงเงิน 45,550 ล้านบาท

ส่วนแผนงานระยะที่ 3 (ปีที่ 11-15) จะต้องจัดเตรียมที่ดินเพื่อวางท่อส่งน้ำและจัดตั้งสถานีสูบจ่ายน้ำย่อย วงเงิน 10,781 ล้านบาท กับงานก่อสร้าง 5 รายการหลัก คือสร้างระบบน้ำดิบและผลิตน้ำ งานอุปกรณ์เครื่องจักรกลและระบบงานไฟฟ้า งานวางระบบและท่อส่งน้ำงานก่อสร้างสถานีสูบส่งน้ำบางบ่อและมาบตาพุด รวมวงเงิน 39,091 ล้านบาท

ชงเรื่องหารือพันธมิตร มี.ค.นี้

ประธานบอร์ด กปน.กล่าวอีกว่า การลงทุนเมกะโปรเจ็กต์น้ำประปาครั้งนี้มีมูลค่าสูง แต่จะมีความคุ้มค่าเพราะสามารถรองรับความต้องการใช้น้ำได้ 50-100 ปีข้างหน้า และป้อนน้ำประปาให้กับพื้นที่บริการได้เพิ่มขึ้น โดยขายน้ำให้กับการประปาส่วนภูมิภาคหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในราคาพิเศษ เพื่อส่งต่อให้กับประชาชนในพื้นที่ต่างจังหวัด

นอกจากนี้ กปน.ยังออกแบบโครงการรองรับผู้ใช้น้ำในกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมเขตภาคตะวันออกด้วย โดยเฉพาะกลุ่มนิคมอุตสาหกรรม เพราะทุกปีจะมีปัญหาแย่งน้ำใช้ระหว่างภาคอุตสาหกรรมกับภาคเกษตรในช่วงภัยแล้ง โดยจะมีการก่อสร้างสถานีสูบส่งน้ำที่มาบตาพุดบรรจุไว้ในแผนด้วย

ทั้งนี้ เนื่องจากเป็นโครงการขนาดใหญ่ แนวทางการผลักดันจึงต้องมีการนำเสนอทางกระทรวงมหาดไทยให้เห็นความสำคัญและยกระดับเป็นโครงการกิจการประปาระดับชาติ พร้อมประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กรมชลประทาน สถาบันน้ำเพื่อความยั่งยืน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย การประปาส่วนภูมิภาค หน่วยงานท้องถิ่น ฯลฯ ที่อาจจะต้องลงทุนร่วมกัน คาดว่าจะนำเสนอเพื่อหารือภายในเดือนมีนาคมนี้ จากเดิมที่รอเข้าร่วมลงทุนในโครงการน้ำตามแผนลงทุน 3.5 แสนล้านบาท แต่โครงการเกิดการชะลอไม่มีกำหนด กปน.จึงตัดสินใจเดินหน้าลงทุนด้วยตัวเอง

"กปน.เป็นองค์กรที่ผลิตและใช้น้ำประปามากที่สุด เราป้อนผู้ใช้น้ำวันละ 10 ล้านราย เราจึงมีศักยภาพและเป็นผู้ริเริ่มโครงการขึ้นมา จากการหารือกับหน่วยงาน และระดับนโยบายส่วนใหญ่เห็นด้วย เพราะกิจการประปาของประเทศไทยถึงเวลาแล้วที่จะต้องให้มีหน่วยงานบริหารเรื่องน้ำดิบ เพื่อป้อนให้กับกิจการประปาโดยเฉพาะ โดยแยกออกมาจากการบริหารน้ำดิบที่ป้อนให้กับภาคเกษตรอยู่ทุกวันนี้ เพราะมีปัญหาก็ไม่สามารถควบคุมคุณภาพน้ำดิบได้"นายสมัยกล่าว

นายธนศักดิ์ วัฒนฐานะ ผู้ว่าการ การประปานครหลวง กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" เพิ่มเติมว่า การแก้ปัญหาระบบน้ำประปาในระยะยาว จะต้องมองเป็นวาระแห่งชาติ ต้องมองเป็นปัญหาของประเทศ ซึ่งเราต้องประสบ้ำท่วมกับภัยแล้งอยู่ทุกปี

ในส่วนของ กปน. การแก้ปัญหาระยะสั้นเตรียมวางแผนเพื่อนำน้ำต้นทุนจากฝั่งตะวันตก (ลุ่มน้ำแม่กลอง) มาช่วยฝั่งตะวันออก (ลุ่มเจ้าพระยา) เพราะมีปริมาณน้ำเหลือปีละกว่า 1,000 ล้าน ลบ.ม. ส่วนแนวทางแก้ปัญหาระยะยาวคงต้องมาดูว่าน้ำท่วมจะแก้ปัญหาอย่างไร กับภัยแล้งจะแก้ปัญหาที่มีผลกระทบต่อระบบผลิตน้ำประปาอย่างไร โดยการลงทุนจะต้องทำให้คุ้มไปอีกเป็น 50 ปีจนถึง 100 ปีข้างหน้า
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 28-02-2557 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.