| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 66 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 13-02-2557    อ่าน 1475
 ปัญหารุมเร้าสายสีแดง "บางซื่อ-รังสิต" สร้างไปลุ้นไป...รอรัฐบาลใหม่ชี้ชะตา

ถึงจะก่อสร้างมาได้ 1 ปีแต่ยังมีปัญหาที่อาจกระทบชิ่งจนทำให้รถไฟสายสีแดงช่วง "บางซื่อ-รังสิต" 26 กม. มีเหตุต้องเปิดบริการล่าช้าไปจากเดิมในเดือน เม.ย. 2560

ติดกับดัก "ปัญหารื้อย้าย"

โดยมีปัญหาอุปสรรครุมเร้าหลายเรื่อง จะทำให้การก่อสร้างซึ่งเพิ่งจะคืบหน้า 6% ต้องชะลอไป เมื่อผู้รับเหมาทั้ง 2 สัญญา 2 ไซต์ยังไม่สามารถเข้าพื้นที่และเดินหน้าก่อสร้างได้เต็ม 100% ประกอบด้วย "สัญญา 1" งานก่อสร้างสถานีกลางบางซื่อและศูนย์ซ่อมบำรุง รวมถึงสถานีจตุจักร มีกลุ่มกิจการร่วมค้า บมจ.ซิโน-ไทยฯ และ บมจ.ยูนิคฯเป็นผู้รับเหมา วงเงินกว่า 29,826 ล้านบาท กับ "สัญญา 2" งานก่อสร้างโครงสร้างทางรถไฟช่วงบางซื่อ-รังสิต และสถานีรายทาง 8 สถานี ได้แก่ สถานีวัดเสมียนนารี บางเขน ทุ่งสองห้อง หลักสี่ การเคหะ ดอนเมือง หลักหก และรังสิต มี บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ เป็นผู้ก่อสร้าง วงเงินกว่า 21,235 ล้านบาท

โดยปัญหาแรกที่พบคือ "การรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภค" ไม่ว่าสิ่งปลูกสร้าง ผู้บุกรุก ท่อประปาและท่อน้ำมันกีดขวางแนวเส้นทางโครงการ ล่าสุดกำลังเป็นปัญหาใหญ่ของผู้รับเหมา เพราะตามระเบียบสัญญา อำนาจและหน้าที่เป็นของ "ร.ฟ.ท.-การรถไฟแห่งประเทศไทย" ที่จะต้องเป็นผู้รื้อทั้งหมด พร้อมกับส่งมอบพื้นที่ให้ ขณะที่ผู้รับเหมาทำหน้าที่แค่ก่อสร้าง (Build Only) เท่านั้น

ทุบซากตอม่อ...ก็ช้า

ปรากฏว่านับจากวันเริ่มต้นสัญญาเมื่อต้นปีที่ผ่านมา ทาง "ร.ฟ.ท." ยังเคลียร์ไม่จบ ทั้งปัญหาผู้บุกรุกเจรจายังไงก็ยังไม่มีข้อยุติ รวมถึงประสานงานกับ "กปน.-การประปานครหลวง" กับบริษัทท่อส่งน้ำมัน เช่นเดียวการรื้อ "ตอม่อโฮปเวลล์" กว่า 500 ต้น เดิมคาดว่าใช้เวลา 6 เดือนหรือแล้วเสร็จตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว แต่ด้วยข้อจำกัดหลายอย่างทำให้ต้องขยายเวลาออกไป

"ประภัสร์ จงสงวน" ผู้ว่าการ ร.ฟ.ท.กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า การทุบโครงสร้างโฮปเวลล์เดิม ผู้รับเหมายังดำเนินการไม่แล้วเสร็จ ติดเรื่องสภาพพื้นที่ ต้องทำงานในเวลาเดียวกันกับที่รถไฟปัจจุบันก็ยังเปิดให้บริการด้วย อีกทั้งต้องใช้เทคนิคในการตัดเสา ทำให้การทำงานจึงยากลำบาก มีผลให้แผนงานเดิมต้องเลื่อนออกไป คาดว่าไม่เกิน เม.ย.นี้จะเสร็จ จากนั้นจะได้เริ่มงานโครงสร้างตอม่อใหม่ โดยหารือกับผู้รับเหมาให้ใช้เทคนิคเข้ามาช่วยเพื่อให้งานรวดเร็วขึ้น

รอ ครม.ใหม่อนุมัติปรับแบบ

อย่างไรก็ตาม ถึงการทุบซากโฮปเวลล์จะมีวันเวลาแล้วเสร็จ แต่ก็ไม่ทำให้โครงการเดินหน้าไปอย่างราบรื่น เมื่อทั้ง "ร.ฟ.ท." เจ้าของโครงการและผู้รับเหมาทั้ง 2 สัญญา กำลังเผชิญปัญหาใหม่ที่ทำให้กลืนไม่เข้าคายไม่ออก

นั่นคือ...รอแบบก่อสร้างใหม่รองรับรถไฟในอนาคต ขนาดราง 1.435 เมตร และรถไฟความเร็วสูงที่รัฐบาลเพื่อไทยจุดพลุจะลงทุน 4 สายทาง โดยรถไฟสายสีแดงจะอยู่ในพื้นที่ทับซ้อนกับรถไฟความเร็วสูงสายเหนือ "กรุงเทพฯ-เชียงใหม่"

นอกจากนี้ "สถานีกลางบางซื่อ" ในอนาคตจะกลายเป็นฮับ หรือศูนย์กลางรถไฟความเร็วสูง เป็นเหตุผลที่ทำให้ต้องปรับแบบทั้งโครงการใหม่

ทั้งนี้ทั้งนั้น แผนงานชะงักลงหลังรัฐบาลประกาศยุบสภา เพราะแบบใหม่ต้องขอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติกรอบวงเงินที่เพิ่มอีก 10,000 ล้านบาท แต่เมื่อรัฐบาลรักษาการไม่มีอำนาจ ต้องรอรัฐบาลใหม่อย่างเดียว ไม่รู้ว่าจะใช้เวลากี่เดือน ท่ามกลางการเมืองสุดเร่าร้อนในขณะนี้

ลุ้นระทึก 6 เดือนชี้ชะตา

"งานก่อสร้างล่าช้าจากแผนอยู่หลายเดือน ต้องรอแบบใหม่ที่จะต้องปรับให้รับรถไฟความเร็วสูง ยังไม่สรุป ต้องรอคณะรัฐมนตรีอนุมัติวงเงินก่อสร้างใหม่ที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งต้องจ้างที่ปรึกษามาออกแบบเพิ่มเติมด้วย" ผู้ว่าการประภัสร์ระบุ

อย่างน้อยที่สุดขณะนี้ ร.ฟ.ท. และกระทรวงคมนาคมมีความเห็นตรงกันแล้วว่า จะให้ผู้รับเหมาสร้างตามแบบใหม่ที่จะต้องเพิ่มโครงสร้างชานชาลาและเพิ่มรางอีก 1 ราง เพื่อเสนอให้รัฐบาลใหม่พิจารณา

"ช่วงรอความชัดเจนเรื่องแบบใหม่ ผู้รับเหมายังเดินหน้าก่อสร้างต่อไปในพื้นที่ที่ก่อสร้างได้ตามแบบเดิมเพื่อไม่ให้งานสะดุด ตอนนี้ก็พยายามปรับเนื้องานในส่วนที่ไม่กระทบกับแบบใหม่ หากยืดเยื้อนานถึง 6 เดือนยังไม่มีรัฐบาลใหม่ จะมีผลกระทบต่อการก่อสร้างแน่นอน ถึงตอนนั้นจะมาพิจารณาอีกครั้งว่าจะชะลอหรือหยุดก่อสร้างตรงไหนบ้าง"

ปัญหาเก่า "ไจก้า-สัญญา 3"

อีกส่วนที่คาดว่าหากไม่เดินหน้าโดยเร็วจะกระทบต่อการเปิดบริการรถไฟฟ้าสายสีแดงเช่นกัน คือ "สัญญาที่ 3" งานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมจัดซื้อตู้รถไฟฟ้า วงเงิน 26,272 ล้านบาท เนื่องจากล่าช้ามาร่วม 2 ปี

ขณะนี้ "ร.ฟ.ท." รอการอนุมัติจาก "ไจก้า-องค์การเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น" อนุมัติให้เดินหน้าเปิดซองเทคนิคและราคาของผู้ผ่านการพิจารณา 2 ราย คือ กลุ่มกิจการร่วมค้ามิตซูบิชิ-ฮิตาชิ-ซูมิโตโม กับกลุ่มกิจการร่วมค้า MIR (มารูเบนิ-อิตาเลียนไทย-ฮุนไดโรเทม)

"หากไจก้าอนุมัติจะเร่งดำเนินการโดยเร็ว ตั้งเป้าเซ็นสัญญาให้ได้กลางปีนี้ กว่าจะสั่งรถและทดสอบก็ 2 ปี"

ถึงแม้จะพยายามแค่ไหน แต่ก็ยังเป็นที่กังขาว่า "ร.ฟ.ท." จะฝ่าด่านได้หรือไม่ ในเมื่อก่อนหน้านี้ "สัญญาที่ 3" หยุดชะงักเพราะมีปมเงื่อนในประเด็นอาจจะเข้าข่ายผลประโยชน์ทับซ้อน หลังทั้ง 2 บริษัทที่เข้าร่วมประมูลถือหุ้นไขว้กันอยู่ ทำให้ไม่มีใครกล้าตัดสินใจระหว่าง "ยกเลิก-เปิดประมูลใหม่"

นอกเสียจากผู้ให้กู้ "ไจก้า" จะ "ใจกล้า" เปิดไฟเขียวเพื่อปลดล็อกโปรเจ็กต์ที่ค้างมานานให้ได้ไปต่อ ภายใต้ข้อจำกัดของเวลาที่ยังเหลือ 3 ปีนับจากนี้
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 13-02-2557 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.