| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 79 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 20-01-2557    อ่าน 1478
 วิกฤต-โอกาส...ชัตดาวน์กรุงเทพฯ รถไฟฟ้าโกยเละ "ทางด่วน" รายได้วูบ 51%

3 วันแรกปฏิบัติการปิด 7 แยกสำคัญ "วันชัตดาวน์กรุงเทพฯ" (เริ่ม 13 ม.ค.) ปรากฏว่าพฤติกรรมคนกรุงในวันดาวกระจายปรับตัวได้เร็วไปตามสถานการณ์ที่ผันผวนตามกลุ่มชุมนุม เมื่อปริมาณรถวิ่งเข้าเมืองไม่มากจนถึงขั้นวิกฤตอย่างที่คิด

จากสถิติที่ "กระทวงคมนาคม" รวบรวมการเดินทางระบบโครงข่าย ทั้ง "ราง-บก-น้ำ-อากาศ" ตลอด 3 วัน พบว่าเกือบจะทุกโหมดยอดผู้ใช้บริการลดลงอย่างเห็นได้ชัด (ดูตารางประกอบ) แต่ที่ดัชนีดีดขึ้นแรงกว่าวันปกติคือระบบรถไฟฟ้าในเมือง ทั้ง "ใต้ดิน-บีทีเอส-แอร์พอร์ตลิงก์" ยอดผู้ใช้เพิ่มกระฉูด 20-30% เมื่อพฤติกรรมคนเปลี่ยนหันมาใช้บริการทดแทนการใช้รถยนต์ส่วนตัว มีผลกระทบชิ่ง ยอดผู้ใช้ทางด่วน-โทลล์เวย์ลดลงกว่า 40-50% เท่ากับว่า "ชัตดาวน์กรุงเทพฯ" ที่ยังไม่รู้จะจบลงในเร็ววัน หรือยืดเยื้อออกไปอีกนานแค่ไหน ก็มีทั้งวิกฤตและโอกาสในเวลาเดียวกัน

BTS-ใต้ดิน-แอร์พอร์ตฯ ยิ้มรับ

"สุระพงษ์ เลาหะอัญญา" กรรมการผู้อำนวยการใหญ่สายปฏิบัติการ บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ หรือบีทีเอสซี ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอส แจ้งว่า ปฏิบัติการชัตดาวน์ฯ ผู้โดยสารมาใช้บริการจะมากในช่วงเย็นของแต่ละวัน ส่วนใหญ่เป็นคนใช้บัตรโดยสารเที่ยววันเป็นหลัก ทำให้ปัจจุบันปริมาณผู้โดยสารเพิ่มขึ้นทุกวันกว่า 7-9 แสนคน/วัน เมื่อเทียบกับวันปกติเฉลี่ยอยู่ที่ 684,000 เที่ยวคน เพิ่มขึ้นวันละ 1-2 แสนเที่ยวคน ประเมินเป็นรายได้เฉลี่ยวันละ 23-24 ล้านบาท (คิดถัวเฉลี่ย 26 บาท/คน)

"ชัยวัฒน์ อุทัยวรรณ์" กรรมการผู้จัดการ บมจ.รถไฟฟ้ากรุงเทพ หรือบีเอ็มซีแอล ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าใต้ดิน กล่าวสอดคล้องกันว่า มีผู้ใช้บริการเดินทางมากขึ้นในขาเข้าเมือง เพิ่มขึ้นจากวันปกติ 25% จาก 2.6 แสนคน/วัน เป็นเฉลี่ยประมาณ 3.3 แสนคน/วัน ส่วนใหญ่เป็นขาจร คาดว่าจะเป็นแบบนี้ต่อไปเรื่อย ๆ หากการชุมนุมยังไม่ยุติ โดยมีแนวโน้มเพิ่มถึง 3.5 แสนเที่ยวคน/วัน โดยพฤติกรรมของกลุ่มผู้ชุมนุมที่เป็นคนกรุงเทพฯ จะใช้บริการรถไฟฟ้าในการเดินทางไปทำงานและชุมนุม

"คนเพิ่มขึ้นก็ทำให้รายได้เราเพิ่มขึ้นไปด้วย จากปกติวันละ 5-6 ล้านบาท เป็นวันละ 7 ล้านบาท แต่บริษัทก็มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นจากการอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เช่น เพิ่ม รปภ."

ฟาก "พีรกันต์ แก้ววงศ์วัฒนา" กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ บอกว่า คนมาใช้บริการมากกว่าวันปกติตลอด 3 วัน เฉลี่ยเพิ่ม 20% จากวันละ 4.8 หมื่นเที่ยวคน มากสุดที่ 2 สถานี "พญาไท-ลาดกระบัง" แนวโน้มผู้โดยสารน่าจะมากขึ้น เพราะคนเริ่มกลับมาทำงานเป็นปกติแล้ว

โทลล์เวย์โอดเสียหายยับ

ด้าน "ธานินทร์ พานิชชีวะ" กรรมการผู้จัดการ บมจ.ทางยกระดับดอนเมือง หรือดอนเมืองโทลล์เวย์ กล่าวว่า ปริมาณคนใช้ทางลดลงตลอด 3 วัน เมื่อเทียบสถิติในวันปกติ เนื่องจากคนไม่กล้าเดินทาง เพราะหยุดทำงาน โรงเรียนและมหาวิทยาลัยปิด หรือคนเปลี่ยนการเดินทางจากรถยนต์ส่วนตัวมาเป็นใช้รถไฟฟ้ามากขึ้น

"วันแรกลดลง 48% เหลือ 6 หมื่นคัน จากปกติอยู่ที่ 1 แสนคัน คิดว่าสถานการณ์ยังไม่กลับมาเป็นปกติ ประเมินเบื้องต้นตลอดเดือนมกราคมนี้ รายได้หายไป 10-15% เฉลี่ยวันละ 4.5 ล้านบาท จากวันปกติ 6 ล้านบาท ส่วนรายได้ทั้งปี ยังประมาณการไม่ถูก ขอประเมินการเมืองก่อน เพราะยิ่งยืดเยื้อยิ่งเสียหาย ซึ่งเมื่อปีที่แล้ว บริษัทมีรายได้รวม 2,170 ล้านบาท"

ทางด่วนใจหาย-ลดฮวบ 51%

อาการหนักสุด ดูเหมือนจะเป็นระบบทางด่วน "อัยยณัฐ ถินอภัย" ผู้ว่าการ "กทพ.-การทางพิเศษแห่งประเทศไทย" ให้ข้อมูลว่า คนใช้ทางด่วนลดลงเฉลี่ย 51% จากวันปกติกว่า 1.5 ล้านคัน เหลือกว่า 7 แสนคัน กระทบรายได้จัดเก็บค่าผ่านทางลดลงอยู่ที่ 32 ล้านบาท จากวันปกติทั้งระบบอยู่ที่ 65 ล้านบาท (ยังไม่แบ่งบีอีซีแอล) โดยเฉพาะโครงข่ายในเมือง 3 สายทาง คือทางด่วนขั้นที่ 1 วันแรก (13 ม.ค.) รายได้หายไป 9 ล้านบาท จาก 20 ล้านบาท เหลือ 11 ล้านบาท, ทางด่วนขั้นที่ 2 หายไป 10 ล้านบาท จาก 23.4 ล้านบาท เหลือ 13.2 ล้านบาท และทางด่วนเอกมัย-รามอินทรา หายไปประมาณ 2 ล้านบาท จาก 7.3 ล้านบาท เหลือ 5.2 ล้านบาท

ภาพรวมทางด่วนตรงกันคือการเมือง ยิ่งยืดเยื้อยิ่งเสียหาย จึงได้แต่ภาวนาให้มีข้อยุติโดยเร็วที่สุด เพื่อพลิกฟื้นสถานการณ์รายได้ให้กลับคืนสู่ภาวะปกติ
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 20-01-2557 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.