| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 127 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 24-12-2556    อ่าน 1577
 เวนคืน 900 ไร่ รื้อ 4,130 หลัง เบี่ยงแนวไฮสปีดเทรน "กรุงเทพฯ-หัวหิน"

ยังเดินหน้าศึกษาและออกแบบโครงการอย่างต่อเนื่อง สำหรับรถไฟความเร็วสูง "กรุงเทพฯ-หัวหิน" แม้ร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาทจะยังไม่มีกำหนดชัดว่าจะมีผลบังคับใช้เมื่อไหร่

ปี"57 เตรียมยื่นอีไอเอ

ความคืบหน้าล่าสุด "สนข.-สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร" สรุปผลการศึกษาด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม แนวเส้นทาง ตลอดจนรูปแบบและตำแหน่งที่ตั้งสถานีเสร็จเรียบร้อยแล้ว เตรียมเสนอรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมหรืออีไอเอต้นปี 2557

หากไม่มีอะไรทำให้สถานการณ์พลิก ตามโปรแกรมกระบวนการทุกอย่างเริ่มรันต้นปี 2557 เป็นต้นไป ทั้งเสนอขออนุมัติโครงการ เวนคืนที่ดิน ส่วนการประมูลคัดเลือกระบบเริ่มต้นปี 2558 จากนั้นปลายปีเปิดประมูลงานโยธา จะใช้เวลาก่อสร้าง 4 ปี แล้วเสร็จและเปิดบริการปลายปี 2562




เคาะแนวใหม่ 209 กม.

สำหรับแนวเส้นทางจะพาดผ่านพื้นที่ 5 จังหวัด มี 4 สถานี จะสร้างอยู่แนวเขตทางรถไฟเดิมเป็นหลัก มีเบี่ยงแนวใช้แนวใหม่บริเวณทางโค้งเพื่อปรับรัศมีการเลี้ยวให้สามารถทำความเร็วได้ เพราะแนวรถไฟปัจจุบันสามารถใช้ความเร็วได้ไม่เกิน 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

จุดเริ่มต้นต่อจากสถานีกลางบางซื่อ-กรุงเทพฯ จะวิ่งไปตามแนวรถไฟสายใต้ผ่านสถานีนครปฐม สถานีราชบุรี ถึงช่วง อ.ปากท่อ จ.ราชบุรี จะปรับไปใช้แนวถนนเพชรเกษมก่อนเข้าสู่สถานีเพชรบุรี จากนั้นกลับมาใช้แนวเส้นทางของรถไฟสายใต้ จนไปสิ้นสุดที่ ต.บ่อฝ้าย อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ รวมระยะทาง 209 กิโลเมตร ผ่านจุดตัด 51 แห่ง

เวนคืน 900 ไร่ บ้าน 4 พันหลัง

"วิจิตต์ นิมิตรวานิช" ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาระบบการขนส่งและจราจร สนข. กล่าวว่า หลังเบี่ยงแนวใช้พื้นที่ไม่อยู่แนวรถไฟเดิมในบางจุด ทำให้ระยะทางสั้นลง 16 กิโลเมตร จาก 225 กิโลเมตร เหลือ 209 กิโลเมตร มีที่ดินถูกเวนคืน 900 ไร่ และสิ่งปลูกสร้าง 4,310 หลังคาเรือน

ทั้งโครงการมีมูลค่าการลงทุนรวม 98,399 ล้านบาท แยกเป็นค่าก่อสร้าง 83,070 ล้านบาท ค่าระบบรถ 9,324 ล้านบาท ค่าจ้างที่ปรึกษา 1,905 ล้านบาท และค่าเวนคืนที่ดิน 4,100 ล้านบาท

มีอัตราส่วนผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ (EIRR) ช่วง "กรุงเทพฯ-หัวหิน" อยู่ที่ 8.11% เมื่อพัฒนาเส้นทางต่อไปถึง จ.สุราษฎร์ธานี อยู่ที่ 12.38% และสุดสายปาดังเบซาร์จะเพิ่มขึ้นเป็น 12.76% ส่วนอัตราค่าโดยสารเฉลี่ยอยู่ที่ 2.50-3 บาทต่อกิโลเมตร หรือประมาณ 522-627 บาทต่อเที่ยว (ขึ้นอยู่กับชั้นโดยสาร) ยังไม่รวมค่าแรกเข้าอีกประมาณ 80 บาท จะใช้เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง

เปิดจุดที่ตั้ง 4 สถานี

สำหรับตำแหน่งสถานี "ผอ.วิจิตต์" ระบุว่า เป็นที่ชัดเจนแล้วทั้ง 4 สถานี จะอยู่ที่สถานีรถไฟเดิม 1 สถานี และสร้างบนที่ใหม่ 3 สถานี เพื่อให้มีพื้นที่ก่อสร้างสถานีได้ตามมาตรฐานเนื้อที่ 40-50 ไร่ ให้มีการพัฒนาพื้นที่โดยรอบขึ้นมารองรับ ขณะที่สถานีเดิมบางแห่งจะหนาแน่น

"การลงทุนรถไฟความเร็วสูงต้องมีการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีร่วมด้วย เป็นรายได้เสริมนอกเหนือจากค่าโดยสาร ทางกระทรวงคมนาคมและกรมโยธาธิการและผังเมืองได้หารือร่วมกันเลือกตำแหน่งสถานี เพราะกรมโยธาฯมีโครงการพัฒนาเมืองใหม่มารองรับ โดยใช้วิธีการจัดรูปที่ดินมี 3 ขนาด S M L"

จุดที่ตั้งทั้ง 4 สถานีประกอบด้วย 1.สถานีนครปฐม สร้างอยู่สถานีรถไฟเดิม เนื่องจากมีพื้นที่เพียงพอ 2.สถานีราชบุรี อยู่ที่ใหม่ ต.คูบัว อ.เมืองราชบุรี ห่างจากตัวเมืองราชบุรี 3 กิโลเมตร 3.สถานีเพชรบุรี อยู่ที่ใหม่ใกล้เขาหลวง ต.ธงชัย อ.เมืองเพชรบุรี ถนนเพชรเกษม ห่างจากในเมือง 1.5 กิโลเมตร เวนคืน 40 หลัง และ 4.สถานีหัวหิน อยู่ที่ใหม่ที่ ต.บ่อฝ้าย อ.หัวหิน บริเวณหัวหิน ซอย 2 ห่างจากสถานีหัวหินเดิม 7 กิโลเมตร และถนนเพชรเกษม 150-200 เมตร

ขณะที่การออกแบบสถานี "สนข." นำแนวคิดการออกแบบจากผลงานของประชาชนที่ได้รับรางวัลชนะเลิศในกิจกรรม "Design Station Define Identity" มาต่อยอดเพื่อใช้ก่อสร้างจริง แต่ละสถานีจะเน้นความสวยงาม ทันสมัย และมีสถาปัตยกรรมที่สอดคล้องกับเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นของแต่ละจังหวัด
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 24-12-2556 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.