| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 39 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 16-12-2556    อ่าน 1434
 เลาะ "กรุงโซล" ดูสูตรสำเร็จ ต้นแบบ...ระบบตั๋วร่วมประเทศไทย

ถึงจะมีพื้นที่เล็กกว่าถึง 5 เท่า แต่ "ประเทศเกาหลีใต้" มีการพัฒนารุดหน้ากว่าประเทศไทยไปไกลมาก โดยเฉพาะเรื่องใกล้ตัวอย่าง "รถติดขั้นวิกฤต" ซึ่งใช้เวลาเพียงไม่กี่ปีสามารถคลี่คลายจนกลายเป็นต้นแบบให้หลายประเทศส่งคณะดูงานมานักต่อนัก

ล่าสุดเป็นคิวของคณะดูงานคนไทย นำโดย "จิรุตม์ วิศาลจิตร" รองอธิบดีกรมการขนส่งทางบก เป็นผู้นำทีม จัดทริปสื่อมวลชนบุกถึงแดนกิมจิเมื่อ 28 พ.ย.-1 ธ.ค.ที่ผ่านมา

สูตรแก้จราจรสไตล์เกาหลี

สูตรความสำเร็จ "แก้รถติด" ของประเทศเกาหลีใต้มี 3 องค์ประกอบ อย่างแรก

"จัดเส้นทางเดินรถเมล์" นับ 200 สายใหม่ วิ่งในช่องบัสเลนและให้เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้า แยกสายรถวิ่งในเมืองกับชานเมืองชัดเจน มี 4 สี "แดง-น้ำเงิน-เขียว-เหลือง" โดยมีศูนย์เปลี่ยนถ่ายการเดินทางไว้ให้อำนวยความสะดวกไว้ใกล้เมือง









ต่อด้วย "นำระบบเทคโนโลยี" มาใช้ควบคุมการจราจรกับเดินรถเมล์ เช่น ระบบ ITS ติดตั้งในศูนย์ควบคุมการจราจรและป้ายรถเมล์ ยังมีระบบ GPS ติดตั้งไว้ที่ตัวรถ ทำให้ผู้ใช้บริการสามารถทราบเวลาได้ล่วงหน้าว่ารถเมล์มาถึงที่หมายภายในกี่นาที

สิ่งสุดท้าย "ระบบตั๋วร่วม" มาพร้อมศูนย์บริหารจัดการกลางหรือระบบเคลียริ่งเฮาส์ สำหรับในประเทศเกาหลีใต้เรียกว่า "T-Money" เป็นบัตรใบเดียวที่มีสิทธิประโยชน์มากมาย ใช้ทั้งขึ้นรถเมล์

รถแท็กซี่ รถไฟฟ้า แถมยังซื้อของในร้านค้าต่าง ๆ โดยไม่ต้องพกเงินสด

จากทั้ง 3 ส่วนผสมดังกล่าว ทำให้การจราจรประเทศเกาหลีใต้ในปัจจุบันคล่องตัวขึ้น ประกอบกับพฤติกรรมคนเริ่มเปลี่ยนจากใช้รถส่วนตัวหันมาใช้ระบบขนส่งสาธารณะเพิ่มขึ้น สถิติปัจจุบันมีคนใช้รถไฟฟ้า 35.2% รถเมล์กว่า 30%

ตั้งศูนย์พยากรณ์รถติด

ในแง่ของการบริหารจัดการ จะมี "ศูนย์ควบคุมการจราจร" (SCC-Seoul Control Center) อยู่ที่ตึกโซลซิตี้หรือสำนักงานเทศบาลกรุงโซล ทำหน้าที่เป็นศูนย์บัญชาการควบคุมระบบการจราจรของเมืองโซลทั้งเมืองกันเลยทีเดียว

ซึ่งได้รับการจัดตั้งขึ้นหลังจากรัฐบาลเกาหลีใต้ตัดสินใจปฏิรูประบบการขนส่งสาธารณะของประเทศใหม่เมื่อปี 2543 ก่อนจะเริ่มดำเนินการจริงจังปี 2547 ปีเดียวกับที่มีรถไฟฟ้าเปิดให้บริการ โดยใช้เวลา 100 วันในการเซตระบบซอฟต์แวร์มารองรับกับระบบการจราจรทั้งเมือง

ทั้งนี้ "ศูนย์ควบคุมการจราจร" แห่งนี้จะดูสภาพการจราจรทั้งเมืองโซลได้ทั้งหมด พัฒนาการที่ไม่หยุดยั้งคือภายในปีหน้ากำลังวิวัฒนาการไปไกลถึงขั้นมี "การพยากรณ์รถติด" แจ้งเตือนไว้ล่วงหน้า ทั้งผ่าน SMS และโทรทัศน์ เหมือนกับการพยากรณ์สภาพภูมิอากาศ โดยเทียบสถิติรถติดถนนสายต่าง ๆ จากช่วงปีก่อน ๆ มาเป็นตัวคาดการณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

ระบบตั๋วร่วม T-Money

สำหรับศูนย์บริหารจัดการกลางหรือระบบเคลียริ่งเฮาส์ "T-Money" นั้น มีสำนักงานอยู่ใกล้กับสถานีรถไฟฟ้าโซลที่เป็นจุดศูนย์กลางการเดินทางทั้งรถไฟฟ้าในเมือง รถไฟความเร็วสูง รถไฟทางไกล และรถเมล์ บริเวณโดยรอบสถานีคึกคักเพราะมีการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชยกรรมรองรับ เช่น ศูนย์การค้าลอตเต้

กลับมาดูโครงสร้าง "T-Money" ดำเนินการโดยบริษัทเอกชน "บริษัท เกาหลี สมาร์ท การ์ด จำกัด" ใช้ระยะเวลาพัฒนา 5 ปีนับจากปี 2547-2551 เม็ดเงินลงทุนระบบทุ่มลงไปมากกว่า 3,000 ล้านบาท รัฐบาลถือหุ้น 35%

โครงสร้าง T-Money มีรัฐบาลกรุงโซลถือหุ้นเบ็ดเสร็จ 35% แอลจีกรุ๊ป 31.85% บริษัทเครดิตการ์ด 15.73% ฮาร์ดแวร์ Provider 10.18% และอื่น ๆ อีก 7.24% โดยรัฐบาลเป็นผู้ลงทุนติดตั้งระบบให้ทั้งหมดในส่วนรถเมล์และรถไฟฟ้า ขณะที่แท็กซี่หากเป็นรถเอกชนจะช่วย 50% ที่เหลือเจ้าของรถต้องเสียเอง

ปัจจุบันบัตร T-Money ตลอดเวลา 9 ปี เป็นที่นิยมของคนเกาหลีใต้ทั้งประเทศ มีธุรกิจหลายส่วนเข้าร่วม เช่น ผู้ให้บริการมือถือ ธนาคาร 14 แห่ง มีผู้ใช้งานผ่านบัตรเครดิต 17 ล้านใบ จากปัจจุบันมีผู้ถือบัตรประมาณ 27 ล้านใบ มีการใช้งาน 50 ล้านเที่ยว/วัน ใช้กับระบบรถเมล์ 98.3% รถไฟฟ้า 100% แท็กซี่ 53.5% ด้านรายได้หลัก ๆ มาจากหน้าบัตรโดยสารรถไฟฟ้าและรถเมล์ 50% แท็กซี่ 15% ร้านค้าและอื่น ๆ 35%

ไทยเตรียมดึงเป็นต้นแบบ

"เกาหลีมีปัญหารถติดเหมือนประเทศไทย เขานำรถเมล์เป็นตัวนำแก้ปัญหา เพราะกว่ารถไฟฟ้าจะสร้างเสร็จใช้เวลานาน มีการจัดรูต (เส้นทาง) ใหม่ดึงคนมาใช้มากขึ้น นำระบบไอทีมาช่วยคุมเวลาการให้บริการให้ตรงและแม่นยำ มีระบบตั๋วร่วมมาช่วย จ่ายเงินครั้งเดียวเดินทางได้หลายระบบ ที่นี่หากใครต่อรถภายใน 30 นาทีจะเท่ากับขึ้นฟรีเพราะคิดแบบเหมาจ่าย พอทุกอย่างสะดวกคนก็นิยมมาใช้มากขึ้น" นายจิรุตม์กล่าวและว่า

นอกจากนี้ ยังจัดระเบียบการเดินรถใหม่ ดึงบริษัทเอกชนที่เดินรถเมล์อยู่ 66 บริษัทเข้าร่วมโครงการ เปลี่ยนจากแข่งขันเดินรถมาเป็นจ้างวิ่ง ให้ผลตอบแทนตามระยะทาง โดยใช้ตั๋วร่วมเดินทางได้ทั้งรถเมล์ รถไฟฟ้า และซื้อของได้ที่ร้านค้าปลีก มีศูนย์กลางมาช่วยบริหารจัดแบ่งรายได้ของแต่ละบริษัท บทบาทรัฐบาลเข้าไปอุดหนุนบางสายที่ขาดทุน

สำหรับประเทศไทย "รองจิรุตม์" กล่าวว่า มีความเป็นไปได้มากที่จะนำโมเดลนี้มาใช้ เพราะมีปัญหาคล้ายกัน แต่คงไม่ทั้งหมด ต้องค่อย ๆ ทำไป พร้อมจะเริ่มได้ทันทีหลังจากมีรถเมล์ใหม่ 3,183 คันมาวิ่งบริการ โดยจะจัดเส้นทางเดินรถใหม่และมีการบริการที่ดี

ปี′57 จุดพลุตั๋วร่วมไทย

ขณะเดียวกันจะเร่งผลักดันระบบตั๋วร่วมมาใช้ในระบบด้วย ความคืบหน้าในเรื่องนี้ทาง "กระทรวงคมนาคม" โดย "สนข.-สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร" กำลังหาผู้จัดทำระบบให้ คาดว่าจะมีโอกาสได้เห็นเป็นรูปธรรมในปี 2557 นี้ในอนาคต รูปแบบการบริหารจัดการคงไม่ต่างจากประเทศเกาหลีใต้มากนัก เพราะระบบตั๋วร่วมสำหรับประเทศไทยได้ผู้เชี่ยวชาญจาก T-Money มาช่วยจัดทำสเป็กให้ อดใจรอกันอีกสักนิด ระบบตั๋วร่วมที่มาพร้อมกับไลฟ์สไตล์ครบเบ็ดเสร็จ ตั้งแต่รูดปรื๊ดเพื่อเดินทางกับช็อปปิ้งในบัตรใบเดียว เชื่อว่าจะพร้อมเสิร์ฟถึงมือผู้โดยสารคนไทยแน่นอน
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 16-12-2556 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.