| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 72 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 04-12-2556    อ่าน 1434
 ปูนเอเซียแข่งประมูลโรงงานซีเมนต์ ร่วมทุนเมียนมาร์ขยายฐานการผลิต

นายนภดล รมยะรูป กรรมการผู้จัดการ บริษัท ปูนซีเมนต์เอเซีย จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตปูนตราดอกบัว เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า บริษัทมีแผนลงทุนโรงงานปูนซีเมนต์ในประเทศเมียนมาร์ โดยเมื่อ 2-3 เดือนที่ผ่านมาได้ยื่นประมูลโครงการปรับปรุงโรงงานปูนซีเมนต์เก่า 2 แห่ง ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของเมืองย่างกุ้ง ขณะนี้อยู่ระหว่างรอผลพิจารณา อย่างไรก็ตาม พบว่ามีคู่แข่งทั้งจากท้องถิ่นและประเทศไทย

รูปแบบเป็นการร่วมทุนระหว่างผู้ชนะการประมูลกับรัฐบาลเมียนมาร์ เพื่อปรับปรุงโรงปูน 2 แห่งตามมาตรฐานที่รัฐบาลเมียนมาร์กำหนด เงื่อนไขคือทำให้โรงงานเดินกำลังผลิตได้เต็มประสิทธิภาพปีละ 7.3-9.1 แสนตัน จากปัจจุบันผลิตได้ปีละไม่ถึง 7.3 แสนตัน



"โรงปูนที่เข้าร่วมประมูลเป็นโรงงานที่ใช้งานมากว่า 10 ปี เครื่องจักรอาจเก่าและเสื่อมประสิทธิภาพไปบ้าง ทางรัฐบาลจึงเปิดประมูลหาผู้ร่วมทุนเข้าไปปรับปรุง เหตุผลที่สนใจลงทุนเพราะปัจจุบันเราส่งออกปูนซีเมนต์ไป 2 ประเทศหลัก คือเมียนมาร์และกัมพูชา ปีละกว่า 5-6 แสนตัน ส่วนใหญ่ส่งออกไปที่เมียนมาร์เป็นหลักมากว่า 4 ปีแล้ว และมีมาร์เก็ตแชร์เป็นอันดับ 3"

ส่วนแผนการลงทุนในประเทศ นายนภดลกล่าวต่อว่า ได้ใช้งบฯกว่า 1,300 ล้านบาท ลงทุนติดตั้งโรงผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมร้อนขนาด 21 เมกะวัตต์ โดยนำความร้อนจากเตาเผาปูนซีเมนต์ไปใช้ในการผลิตไอน้ำเพื่อหมุนกังหันที่ต่อเชื่อมกับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า สามารถผลิตกระแสไฟได้ชั่วโมงละ 150 ล้านกิโลวัตต์ ช่วยลดการใช้ไฟฟ้าในโรงงานได้กว่า 30% คืนทุนได้ภายใน 4-5 ปี
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 04-12-2556 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.