| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 95 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 02-12-2556    อ่าน 1523
 กฟภ.ลงทุน7พันล.รับไฮสปีด ลุยผุดสายส่งป้องไฟดับตจว.

กฟภ.หนุนเศรษฐกิจภูมิภาคเต็มสูบ เตรียมลงทุนเฟสแรก 7 พันล้าน พัฒนาระบบไฟฟ้ารับไฮสปีดเทรน พร้อมก่อสร้างสถานีไฟฟ้า ระบบสายส่ง ป้อนเมืองชายแดน-แหล่งท่องเที่ยวสำคัญ

นายนำชัย หล่อวัฒนะตระกูล ผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) เปิดเผยกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ถึงแผนพัฒนาระบบไฟฟ้าเพื่อรองรับโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงหรือไฮสปีดเทรนว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ได้นำเสนอแผนดังกล่าวต่อสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) โดย กฟภ.จะเป็นผู้ลงทุนในส่วนของระบบไฟฟ้าทั้งหมด วงเงินรวม 7,029 ล้านบาท แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ช่วงปี 2557-2560 มูลค่า 3,997 ล้านบาท และระยะที่ 2 ช่วงปี 2562-2565 มูลค่า 3,032 ล้านบาท

สำหรับระยะที่ 1 จะเน้นขยายเขตระบบสายส่งไฟฟ้าแรงดัน 115 เควี จำนวน 244 กิโลเมตร และก่อสร้างสถานีไฟฟ้ารวม 17 สถานี ติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันผลกระทบรวม 4 ชุด เพื่อจ่ายไฟฟ้าให้กับสถานีจ่ายไฟให้โครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงใน 4 เส้นทาง คือ 1) กรุงเทพฯ-พิษณุโลก 2) กรุงเทพฯ-นครราชสีมา 3) กรุงเทพฯ-หัวหิน และ 4) กรุงเทพฯ-ระยอง ส่วนระยะที่ 2 จะเพิ่มเติมอีก 3 เส้นทาง

คือ 1) พิษณุโลก-เชียงใหม่ 2) นครราชสีมา-หนองคาย 3) หัวหิน-ปาดังเบซาร์ โดย กฟภ.จะก่อสร้างสายส่งไฟฟ้าแรงดัน 115 เควี รวม 93 วงจร พร้อมอุปกรณ์ป้องกันผลกระทบรวม 4 ชุด เมื่อดำเนินการครบทั้ง 2 ระยะจะเพิ่มขีดความสามารถในการจ่ายกระแสไฟฟ้าได้สอดคล้องกับความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น และยังส่งเสริมการกระจายอุตสาหกรรมไปสู่ส่วนภูมิภาคต่าง ๆ รวมถึงสามารถพัฒนาโครงการพัฒนาของรัฐบาลในเขตการก่อสร้างโครงการ ซึ่งจะเกิดการจ้างงาน สร้างความเจริญให้กับส่วนภูมิภาค ยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน

"เสนอ สศช.ไปแล้ว และให้นำกลับมาทบทวนเพิ่ม เนื่องจากการศึกษาของ กฟภ.ไม่ได้รวมเอาการขยายตัวทางเศรษฐกิจตามแนวสถานีจอดของรถไฟฟ้าไฮสปีดเทรนเข้าไป เนื่องจากแม้แต่ตัวไฮสปีดเทรนเองก็ยังไม่ชัดเจนว่าจะมีสถานีจอดที่ชัดเจนตรงจุดใดบ้าง จึงต้องรอความชัดเจนตรงนี้ด้วย เพราะหากมีการรวมเข้าไปอาจจะต้องขยายสถานีไฟฟ้าเพิ่มเติม เพื่อรองรับการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นอีก ซึ่ง สศช.มองว่าการลงทุนอาจจะต้องมากกว่า 7,029 ล้านบาทที่วางไว้แน่นอน หรือการลงทุนอาจจะเพิ่มมาอยู่ที่ประมาณ 1 หมื่นล้านบาท กฟภ.ต้องกลับมาเพิ่มเติมประเด็นการขยายตัวของเมืองเข้าไปด้วย"

สำหรับแหล่งเงินทุนของ กฟภ.เพื่อพัฒนาระบบสายส่งเพื่อรองรับโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงนั้น จะมาจากการกู้เงินจากสถาบันการเงินในประเทศร้อยละ 75 ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 25 จะใช้รายได้สะสมของ กฟภ.เอง โดยฐานะทางการเงินของ กฟภ.ค่อนข้างมั่นคง และหากดูตามการลงทุนในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (ฉบับ 11) กฟภ.จะต้องลงทุนถึง 120,000 ล้านบาท

ปัจจุบันมีหนี้สินต่อทุน (D/E) อยู่ที่ 0.8 ฉะนั้นยังสามารถกู้เพิ่มได้ ทั้งนี้ เมื่อประเมินจากการจำหน่ายไฟฟ้าในปีนี้ คาดว่าจะมีรายได้อยู่ที่ประมาณ 400,000 ล้านบาท ส่วนกำไรคาดว่าจะอยู่ที่ 18,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่มีกำไรเพียง 13,000-15,000 ล้านบาท

นายนำชัยเปิดเผยอีกว่า กฟภ.ยังได้เตรียมลงทุนพัฒนาระบบไฟฟ้ารองรับการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษแม่สอด จังหวัดตาก วงเงินลงทุนรวม 617 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการ ปี 2558-2563 โดยจะมีการก่อสร้างสถานีไฟฟ้าและระบบสายส่งไฟฟ้าแรงดัน 115 เควี การก่อสร้างขยายเขตระบบจำหน่ายแรงดัน 22 เควี เพื่อให้สามารถจ่ายไฟฟ้าให้แก่พื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษแม่สอด และเทศบาลนครแม่สอดได้อย่างเพียงพอ รวมถึงจะมีการพัฒนาระบบไฟฟ้าในพื้นที่ด่านบ้านพุน้ำร้อน จังหวัดกาญจนบุรี ที่จะเป็นจุดเชื่อมต่อกับทวายโปรเจ็กต์ ประเทศเมียนมาร์ ขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดทำรายงานการศึกษาความเหมาะสม

นอกจากนั้นเพื่อรองรับการพัฒนาเศรษฐกิจพื้นที่สำคัญตามจุดผ่านแดนหลังเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) กฟภ.ได้เตรียมแผนพัฒนาระบบไฟฟ้า (สถานีไฟฟ้า, สายส่งและระบบจำหน่ายไฟฟ้า) บริเวณจุดผ่านแดนถาวรที่มีอยู่เดิม

จุดผ่านแดนที่จัดตั้งขึ้นใหม่ และจุดผ่อนปรนที่จะยกระดับเป็นจุดผ่านแดนถาวรทั่วประเทศ รวม 51 จุด วงเงินลงทุน 1,265 ล้านบาท โดย กฟภ.จะเป็นผู้จัดหาเงินลงทุนทั้งหมด

ขณะเดียวกันยังมีแผนพัฒนาระบบไฟฟ้าเพื่อเพิ่มความมั่นคงในระบบไฟฟ้า ไม่ให้เกิดปัญหาไฟฟ้าดับทั้งเมืองในพื้นที่อำเภอเมืองทุกจังหวัดและแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ เช่น อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี อำเภอกะทู้และอำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต วงเงินลงทุนรวม 3,914 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการปี 2557-2559
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 02-12-2556 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.