| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 91 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 27-11-2556    อ่าน 1433
 ปัจจัยเสี่ยงอสังหาฯโผล่เพียบ เจ้าพ่อแลนด์ฯชำแหละ"ดาวน์ต่ำ-หนี้เสียพุ่ง-แบงก์เมินปล่อยกู้"

เจ้าพ่อแลนด์ฯ "อนันต์ อัศวโภคิน" เตือนอสังหาฯปีหน้าเสี่ยงหนี้เสียสูง ชี้แบงก์เข้มงวดสินเชื่ออีกเท่าตัว หลังเจอลูกค้าเบี้ยวหนี้เกิน 60 วันยอดพุ่ง ห่วงโครงการดาวน์ต่ำ 5-10% แบงก์เมินปล่อยกู้ ส่งสัญญาณถึงผู้ประกอบการเน้น "คุณภาพ-เวลาก่อสร้าง-บริการ" ด้าน "อนันดาฯ" ประสานเสียงห่วงกำลังซื้อคอนโดฯ 1 ล้าน ภาระหนี้เยอะ-กู้ยาก "สศค." คาดปีหน้าดอกเบี้ยอาจปรับขึ้น หากสหรัฐยกเลิกมาตรการคิวอี

นายอนันต์ อัศวโภคิน ประธานคณะกรรมการและประธานกรรมการบริหาร บริษัท แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า แนวโน้มตลาดอสังหาริมทรัพย์ในปี 2557 ถึงแม้คาดการณ์กันว่าเศรษฐกิจอาจจะดีขึ้น อย่างไรก็ตาม มีความเห็นว่าผู้ประกอบการจะต้องระมัดระวัง โดยเฉพาะเรื่องอัตราหนี้เสีย ซึ่งเกิดจากลูกค้ากู้ไม่ผ่านจะสูงขึ้น เนื่องจากสถาบันการเงินเข้มงวดการปล่อยสินเชื่อ ขณะนี้ทราบจากธนาคารว่าเริ่มมีปริมาณลูกค้าที่เป็นหนี้เสีย ไม่ผ่อนชำระเกินกว่า 60 วัน เพิ่มขึ้นแล้ว

ระวัง ! ดาวน์ต่ำกู้ไม่ผ่าน

ที่น่าเป็นห่วงคือโครงการที่เก็บเงินดาวน์ต่ำ 5-10% ถือเป็นกลุ่มเสี่ยง มีโอกาสสูงที่ธนาคารจะไม่ปล่อยกู้ โดยเฉพาะกลุ่มอาชีพอิสระ เนื่องจากคนที่ซื้อโครงการที่ให้วางเงินดาวน์ต่ำ โดยส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่ไม่มีนิสัยเก็บออมเงิน ดังนั้น ปีหน้าปัญหาการเงินและสภาพคล่องจะเป็นเรื่องใหญ่ของผู้ประกอบการอสังหาฯ แนวโน้มการโอนกรรมสิทธิ์จะยากขึ้น ทั้งจากธนาคารพิจารณาสินเชื่อเข้มงวด และลูกค้าจะตรวจรับมอบห้องละเอียดขึ้น หลังจากเกิดปัญหาเรื่องคุณภาพโครงการ

ทั้งนี้ คำถามคือผู้ประกอบการอสังหาฯจะถึงขั้นล้มหายตายจากหรือไม่ สิ่งที่อยากให้ดูคืออัตราหนี้สินต่อทุนของบริษัทอสังหาฯจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ปัจจุบันบางบริษัทสัดส่วนหนี้สินต่อทุนสูงเกินกว่า 2 เท่า และให้ลูกค้าดาวน์ต่ำ 5% จึงเห็นภาพผู้ประกอบการบางรายมีโครงการอยู่เต็มพอร์ต และนำมาจัดแคมเปญประเภทวัน เดย์ เซล ทีเดียว 45 โครงการ



นายอนันต์กล่าวต่อว่า อัตราหนี้ต่อทุนที่เหมาะสม ควรจะไม่เกิน 0.5-0.8 เท่า ถ้าถึง 1 เท่า ถือว่าเริ่มไม่ดี ถ้า 1.5 เท่าถือว่าไฟแดง เป็นสัญญาณอันตราย

ส่วนผู้ประกอบการที่มีแบ็กล็อก (ยอดขายรอโอน) สูง ๆ หากลูกค้าไม่มาโอน หรือธนาคารเข้มงวดสินเชื่อแล้วกู้ไม่ผ่านจำนวนมาก ก็น่าเป็นห่วง สำหรับบริษัทไม่คิดว่าการมีแบ็กล็อกสูง ๆ แล้วจะเป็นเรื่องดี เพราะแสดงว่าเป็นโครงการขายก่อนสร้าง ซึ่งต้นทุน ณ วันที่สร้างกับวันที่ขายก็ต่างกัน

"ปีหน้าแพ้ชนะจะวัดกันคุณภาพ เวลาก่อสร้าง และเซอร์วิส ทำ 3 เรื่องนี้ให้ได้ อย่ามุ่งแต่เรื่องแผนการตลาด ทำยอดขายให้ได้สูง ส่วนผู้ประกอบการรายกลาง-รายเล็ก ขอให้เน้นเรื่องคุณภาพ" นายอนันต์กล่าว

ห่วงแบงก์ปล่อยกู้ยาก

นายชานนท์ เรืองกฤตยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท อนันดา ดีเวลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การดำเนินธุรกิจอสังหาฯในปีหน้ามีสิ่งที่เป็นห่วง 2 ส่วน คือ

1) การปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงิน และ 2) การขาดแคลนแรงงานก่อสร้าง

สำหรับการปล่อยสินเชื่อ หากเป็นลูกค้าที่มีกำลังซื้อระดับกลาง-บนที่ซื้อคอนโดฯราคาตั้งแต่ 2 ล้านบาทขึ้นไปไม่น่าเป็นห่วง แต่กลุ่มที่ซื้อที่อยู่อาศัยระดับราคายูนิตละกว่า 1 ล้านบาท กลุ่มนี้น่าจะกังวลว่าจะกู้ไม่ผ่าน เพราะผู้บริโภคไปก่อหนี้ เช่น หนี้บัตรเครดิต โทรศัพท์มือถือ ฯลฯ ทำให้กู้ซื้อบ้านได้ยากขึ้น

ปีหน้าดอกเบี้ยจ่อขยับ

ดร.สมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า ธุรกิจอสังหาฯมีสัดส่วน 5-6% ของจีดีพีประเทศ 12 ล้านล้านบาท ถือว่าไม่น้อย รัฐบาลชุดนี้ให้ความสำคัญกับภาคธุรกิจอสังหาฯกระตุ้นเศรษฐกิจ ที่ผ่านมาใช้วิธีตั้งงบประมาณขาดดุล เพื่อนำเงินงบประมาณมากระตุ้นเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้ถึงจุดที่จะต้องทำงบประมาณสมดุลแล้ว ล่าสุดตัวเลขจีดีพีไตรมาส 3 ที่ผ่านมาเป็นบวก สะท้อนว่าเศรษฐกิจผ่านภาวะถดถอยทางเทคนิคแล้ว

ส่วนแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยปีหน้าขึ้นกับปัจจัยภายในและภายนอก สิ่งที่ต้องติดตาม หากยกเลิกมาตรการคิวอีของสหรัฐอเมริกา จะเกิดการดึงเงินทุนไหลกลับ เป็นตัวกดดันให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ปรับสูงขึ้น

แต่ก็เชื่อว่าสถาบันการเงินมีพื้นฐานแข็งแกร่ง ดอกเบี้ยไม่น่าจะปรับขึ้นมาก
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 27-11-2556 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.