| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 89 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 25-11-2556    อ่าน 1488
 ผู้ว่าการ กฟภ. ไขปมร้อน ปักเสาพาดสายไฟบ้านจัดสรร เหตุใด...ทำไมล่าช้า

กลายเป็นประเด็นขึ้นมาทันที หลังจากสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร ในฐานะตัวแทนผู้ประกอบการได้ออกมาสะท้อนปมปัญหาของเหล่าสมาชิกเมื่อช่วงกลางปี ใจความหลักคือสมาชิกเผชิญปัญหากระบวนการติดตั้งระบบไฟฟ้า...ปักเสา-พาดสายไฟในโครงการล่าช้ามาก บางโครงการล่าช้าจากนัดหมายหลายเดือน

"ประชาชาติธุรกิจ" สัมภาษณ์พิเศษ "นำชัย หล่อวัฒนะตระกูล" ผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค หรือ กฟภ. ซึ่งรับผิดชอบการติดตั้งและจ่ายไฟฟ้าในพื้นที่ปทุมธานี นครปฐม สมุทรสาคร และภูมิภาคทุกจังหวัด ถึงสภาพปัญหาและแนวทางแก้ไขที่จะดำเนินการต่อไป

- ปัญหาปักเสา-พาดสายล่าช้า

เมื่อเร็ว ๆ นี้มี บมจ.พฤกษา เรียลเอสเตท มาขอเข้าพบ และก็เล่าถึงปัญหาความล่าช้าที่เกิดขึ้นในการติดตั้งเสาไฟฟ้า มิเตอร์ไฟฟ้าบ้านในโครงการจัดสรร ก็ยอมรับว่ามีความล่าช้าจริง กฟภ.ทราบปัญหาและไม่ได้นิ่งนอนใจ

กรณี บมจ.พฤกษาฯ มีข้อสรุป 3 ส่วนคือ ข้อแรกให้มาทำเอ็มโอยูร่วมกันระหว่างบริษัทกับ กฟภ. เพื่อกำหนด SLA-Service Liability Agreement หรือข้อตกลงความรับผิดชอบการให้บริการร่วมกันว่า กฟภ.จะต้องเข้าไปติดตั้งอุปกรณ์ให้แล้วเสร็จสามารถจ่ายไฟฟ้าในโครงการบ้านจัดสรรได้ภายในระยะเวลากี่วัน


ข้อ 2 มีจุดติดต่อที่ใดที่หนึ่ง จากที่ผ่านมาผู้ประกอบการอสังหาฯทำโครงการแต่ละทำเล ก็ต้องไปติดต่อกับ กฟภ.แต่ละเขตนั้น ๆ ทำให้เสียเวลาในการติดตั้ง ซึ่งก็ยอมรับว่า กฟภ.สาขาต่าง ๆ มีมาตรฐานการบริการไม่เท่ากัน เรื่องนี้ได้ข้อสรุปว่าจะหาจุดบริการที่เป็น "ซิงเกิลคอนแท็กต์" แบบจุดเดียวที่สำนักงานใหญ่กรุงเทพฯ ตรงข้ามเรือนจำคลองเปรม

ข้อ 3 ปรับนโยบายเรื่องการติดตั้งเสาไฟและสายไฟฟ้าในพื้นที่หมู่บ้านจัดสรร โดยให้ผู้ประกอบการสามารถจ้างผู้รับเหมาเอกชนดำเนินการได้ แต่มีเงื่อนไขว่าขอให้มีคนของ กฟภ.ออกแบบและควบคุมงาน เพื่อให้ได้มาตรฐานความปลอดภัย เชื่อว่าจะช่วยลดระยะเวลาการติดตั้งได้มากหลังจากนี้ถ้ามีผู้ประกอบการรายไหน หรือสมาคมด้านอสังหาริมทรัพย์ จะมาทำบันทึกข้อตกลงกับ กฟภ.ก็ยินดี

- ที่ผ่านมาเอกชนทำเองไม่ได้

ที่ผ่านมาเรามีนโยบายหางานเพื่อเพิ่มรายได้จากช่องทางอื่น ๆ ทำให้ กฟภ.เขตต่าง ๆ รับงานส่วนนี้มาทำเอง ซึ่งหมู่บ้านเองก็เห็นด้วยที่จะให้ กฟภ.ทำแทนผู้รับเหมา แต่ยอมรับในทางปฏิบัติมีปริมาณลูกค้าค่อนข้างมาก ทำให้งานบริการติดตั้งล่าช้า

ล่าสุดจึงเห็นว่างานติดตั้งเสา-สายไฟฟ้าในหมู่บ้านจัดสรร ควรให้บริษัทอสังหาฯว่าจ้างผู้รับเหมาเอกชนดำเนินการไปเลย ส่วน กฟภ.หันมาเน้นการจำหน่ายไฟฟ้า ยิ่งผู้ประกอบการติดตั้งระบบไฟฟ้าเร็วขึ้น เราก็ขายไฟได้เร็วขึ้น

- ความล่าช้าเกิดจากอะไร

เกิดจาก กฟภ.ไม่ได้มีลูกค้าจากผู้ประกอบการอสังหาฯรายเดียว เรามีลูกค้าเต็มไปหมด การให้บริการก็ต้องมองความเท่าเทียมกัน แต่อสังหาฯเป็นการบริการลูกค้ากลุ่มใหญ่ ก็มีคำถามจากผู้ประกอบการว่าทำไมเขาถึงไม่ได้รับการบริการตอนนี้ ก็โอเคว่าในเมื่อคุณเป็นลูกค้าชั้นพิเศษก็จะเข้ามาดูแลพิเศษให้ ก็ต้องเปลี่ยนแปลงกระบวนการทำงานใหม่ตามที่กล่าวมา

- เปลี่ยนหลอดไฟส่องทางก็ช้า

จริง ๆ ไฟส่องทาง (ไฟแสงจันทร์) ไม่ได้อยู่ในความรับผิดชอบของ กฟภ.นะครับ อยู่ในความดูแลขององค์กรปกครองท้องถิ่น ไฟถนนในโครงการถ้ามอบให้เป็นของสาธารณะจะเป็นของเทศบาล เทศบาลต้องบำรุงรักษาเปลี่ยนหลอดไฟเอง

แต่ที่ผ่านมา กฟภ.ให้ความร่วมมือนำรถยกเข้าไปช่วยเปลี่ยน เนื่องจากเทศบาลไม่มีรถยก แต่หลอดไฟเป็นของเทศบาล แต่จริง ๆ ไม่ใช่งานของ กฟภ.

- การติดตั้งหม้อแปลงในโครงการ

เดิมเคยติดตั้งหม้อแปลงตัวใหญ่ตัวเดียว ต่อมาเปลี่ยนเป็นหม้อแปลงขนาดเล็กลง และกระจายหลายตัวในโครงการ เหตุผลที่เปลี่ยนเพราะถ้าติดตั้งหม้อแปลงตัวใหญ่จะต้องทำเป็นนั่งร้านและบังหน้าบ้าน จึงเปลี่ยนมาใช้หม้อแปลงที่มีขนาดเล็กลง สามารถแขวนติดตั้งกับเสาไฟฟ้าต้นเดียวได้ ก็จะบดบังหน้าบ้านน้อยลง

อีกเหตุผลหนึ่งเวลาเกิดเหตุชอร์ตไฟฟ้าจะดับเฉพาะส่วน แต่ถ้าติดตั้งหม้อแปลงใหญ่ตัวเดียว หากชอร์ตจะดับทั้งหมู่บ้าน ดังนั้นต้องเลือกระหว่างความมั่นคงของการมีไฟฟ้า กับความสวยงามหรือความกังวลเรื่องความปลอดภัย
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 25-11-2556 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.