| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 170 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 05-11-2556    อ่าน 1455
 เปิดสูตรประมูลไฮสปีดเทรนไม่เกี่ยงสัญชาติ จีน-เกาหลีใต้-ญี่ปุ่น-ฝรั่งเศสแห่เซ็นMOUสอน"เทคโนโลยี-คน"

เปิดมาตรฐานกลางระบบรถไฟความเร็วสูงประเทศไทย เผยทั่วโลกมี 2 มาตรฐาน "ยุโรป-ญี่ปุ่น" บิ๊กคมนาคม "ชัชชาติ" ยังไม่ฟันธงใช้ระบบใครหลังมี 4 ประเทศ "จีน-เกาหลีใต้-ญี่ปุ่น-ฝรั่งเศส" เซ็นเอ็มโอยูถ่ายทอดเทคโนโลยีพ่วงเทรนคนให้ เงินลงทุนก้อนแรกชิงเค้กระบบอาณัติสัญญาณ 1.48 แสนล้าน เผยบาร์เตอร์เทรดกับจีนไม่มีผลผูกมัด ขอดูรายละเอียดเพิ่ม


นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า กระทรวงได้ดำเนินการลงนามบันทึกความเข้าใจหรือ MOU ร่วมกับ 4 ประเทศที่มีความเชี่ยวชาญด้านโครงการรถไฟความเร็วสูง ได้แก่ ประเทศเกาหลีใต้ จีน ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส เพื่อแลกเปลี่ยนการถ่ายทอดระบบเทคโนโลยีและการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่พนักงาน เป็นการเตรียมความพร้อมรองรับบริหารจัดการรถไฟความเร็วสูงในประเทศไทย แต่เป็นการแลกเปลี่ยนความรู้จะไม่นำมาผูกมัดคัดเลือกระบบ

บาร์เตอร์เทรดจีน...ยังไม่คืบ

นายชัชชาติตอบคำถามเกี่ยวกับนโยบายการค้าต่างตอบแทน หรือบาร์เตอร์เทรดระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลจีนด้วยว่า การที่ไทยจะบาร์เตอร์เทรดกับจีนนั้น ไม่ได้เป็นการปิดกั้นประเทศอื่นให้เข้ามา เป็นเพียงข้อตกลงเบื้องต้นและเป็นเพียงบางส่วนเท่านั้น รวมทั้งยังไม่รู้ว่าจะแลกเปลี่ยนกันส่วนไหนบ้าง มูลค่าเท่าไหร่ ซึ่งการบาร์เตอร์เทรดจะต้องเป็นก้อนใหญ่อย่างน้อย 50% ไม่ใช่แค่ 10%


ประมูลระบบอาณัติสัญญาณ

นายชัชชาติกล่าวอีกว่า สำหรับการประมูลโครงการรถไฟความเร็วสูง เริ่มดำเนินการตั้งแต่ไตรมาส 3/2557 โดยจะเริ่มคัดเลือกระบบอาณัติสัญญาณก่อนเป็นอันดับแรก วงเงินประมาณ 148,240 ล้านบาท

กระทรวงคมนาคมจะทำระบบมาตรฐานกลาง มีเงื่อนไขให้เอกชนที่สนใจต้องดำเนินการตามที่ได้กำหนด ซึ่งสามารถใช้ด้วยกันได้ทั้ง 4 สายทาง ได้แก่ สายกรุงเทพฯ-พิษณุโลก, กรุงเทพฯ-นครราชสีมา กรุงเทพฯ-หัวหิน และกรุงเทพฯ-พัทยา-ระยอง ไม่ใช่ใช้งานเฉพาะสายใดสายหนึ่ง โดยรถไฟฟ้าทุกขบวนทุกยี่ห้อไม่ว่าจะเป็นระบบของจีน ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น เยอรมนี ก็สามารถมาวิ่งด้วยกันได้กับระบบนี้

"นโยบายคือคัดเลือกระบบอาณัติสัญญาณให้เป็นระบบกลางสำหรับให้รถไฟฟ้าทุกสายมาวิ่งด้วยกันได้ ปัจจุบันผู้ผลิตจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และยุโรปก็ผลิตและมีมาตรฐานเหมือนกัน เช่น จีน เกาหลีใต้ตอนนี้สามารถพัฒนาการผลิตระบบมาตรฐานเดียวกับยุโรปได้ เราจะเปิดกว้างให้แข่งขันกันเต็มที่"

นายชัชชาติกล่าวอีกว่า สำหรับตัวรถไฟฟ้าที่จะนำมาวิ่งให้บริการนั้น จะต้องแข่งขันกันแบบเปิดกว้างเพื่อเลือกสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับประเทศไทย แต่ละเส้นทางอาจจะใช้ต่างยี่ห้อมาวิ่งบริการ ปัจจัยหลักจะต้องดูเรื่องสต๊อกและระบบอะไหล่ที่จะนำมาสำรองใช้ในอนาคตว่าเพียงพอหรือไม่ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาภายหลัง

การรถไฟฯเคาะประมูลสร้าง

นายชัชชาติกล่าวอีกว่า สำหรับโครงการนำร่องที่จะเริ่มก่อสร้างสายทางกรุงเทพฯ-บ้านภาชีประมาณ 81.8 กิโลเมตรก็ยังอยู่ในแนวคิด เนื่องจากรถไฟความเร็วสูงจะต้องสร้างอยู่แล้ว เพราะเป็นหัวใจที่จะเดินทางไปยังภาคอีสานและภาคเหนือ แต่อยู่ระหว่างตัดสินใจว่าจะคุ้มหรือไม่หากสร้างเฟสแรกระยะทางสั้น ๆ ก่อน หรือจะสร้างทั้งเส้นให้เต็มระยะทางไปเลย

ในส่วนของการบริหารจัดการ นายชัชชาติกล่าวว่ายังไม่สรุปว่ารูปแบบไหนจะเหมาะสมกับประเทศไทย อยู่ระหว่างศึกษารูปแบบโมเดลจากประเทศต่าง ๆ เช่น จีนและญี่ปุ่นจะให้รัฐบาลดำเนินการทั้งหมด ส่วนฝรั่งเศสจะให้เอกชนที่ทำหน้าที่เดินรถเข้ามาถือหุ้นบางส่วน ส่วนไต้หวันเริ่มแรกจะให้เอกชนลงทุนทั้งหมด แต่สุดท้ายรัฐบาลเข้าไปซื้อหุ้นมาดำเนินการเองทั้งหมด

"ช่วงแรกจะให้การรถไฟฯดำเนินการไปก่อนเรื่องการประมูลก่อสร้าง เพราะยังไม่มีผลอะไรมาก แต่ในแง่ของการเดินรถต้องพิจารณาให้ดีและรอบคอบ รวมถึงการจะให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุนตามแนวคิดของกระทรวงการคลังด้วย" นายชัชชาติกล่าว

หนึ่งราง...หลายซัพพลายเออร์

นายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างพิจารณากำหนดมาตรฐานกลางระบบรถไฟความเร็วสูงของประเทศ โดยยึดหลักมาตรฐาน UIC (International Union of Railway) โดยจะมีการปรับปรุงรายละเอียดบางส่วนให้สอดคล้องกับสภาพของประเทศไทยในด้านเกณฑ์มาตรฐานที่จะกำหนด เช่น ความเร็วสูงสุดไม่น้อยกว่า 250 กิโลเมตร/ชั่วโมง ความกว้างของรางขนาด 1.435 เมตร เป็นต้น

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม กล่าวเพิ่มเติมว่า การกำหนดระบบมาตรฐานกลางคือการที่ใช้ระบบอาณัติสัญญาณจากเทคโนโลยีเดียวกัน ซึ่งในตลาดโลกมีแค่ 2 ประเทศคือ ในกลุ่มประเทศยุโรปและประเทศญี่ปุ่นที่เป็นต้นแบบแต่แรก เนื่องจากประเทศอื่น ๆ เช่น จีน สามารถผลิตระบบได้มาตรฐานเดียวกับซีเมนส์ คาวาซากิ อัลสตอม บอมบาดิเอร์หรือแม้แต่เกาหลีใต้ก็ใช้ระบบอัลสตอม ทุกประเทศผลิตระบบได้เหมือนกัน ดังนั้นการประมูลงานระบบของไทยจะทำให้แข่งขันกันมากขึ้น

"ทั้ง 4 สายระบบเดียวกันก็จริง แต่ไม่ใช้บริษัทเดียวกันก็ได้ เช่น สายเหนือประเทศในยุโรปอาจจะประมูลได้ สายอีสานจีนอาจจะประมูลได้แต่ใช้ระบบของยุโรป เพราะปัจจุบันนี้ใครก็ผลิตได้ ทำให้ไม่ผูกขาดว่าถ้าใช้ระบบของประเทศยุโรปแล้วจะต้องใช้รถยี่ห้อของยุโรป เพราะไม่ว่ารถจากประเทศไหนก็สามารถมาวิ่งบริการได้แต่ต้องอยู่บนมาตรฐานเดียวกันคือเดินรถแล้วไม่มีปัญหา" แหล่งข่าวกล่าว
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 05-11-2556 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.