| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 161 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 21-10-2556    อ่าน 1527
 รื้อใหญ่แผนน้ำภาคตอ. ชงงบ5หมื่นล.สร้างเขื่อน-ผุดฟลัดเวย์

รัฐตื่นแก้น้ำท่วมภาคตะวันออก หลังนายกฯยิ่งลักษณ์สั่งรื้อระบบบริหารจัดการใหม่ทั้งระบบ ปรับแผนเดิมที่เน้นแก้น้ำแล้ง ให้สามารถรับมือน้ำท่วม โฟกัส 3 จังหวัด "ปราจีนบุรี-เมืองชลฯ-แปดริ้ว" ชง กบอ.ของบฯ 5 หมื่นล้าน สร้างเขื่อน ผุดฟลัดเวย์ผันน้ำจากปราจีนฯ ขุดลอกแม่น้ำบางปะกง ป้องพื้นที่เศรษฐกิจ ชุมชน นิคมอุตฯ ชี้เกษตร นากุ้ง สวนมะม่วงเสียหายยับ



นายวุฒิพงศ์ ฉายแสง ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์และบริหารทรัพยากรน้ำ ลุ่มน้ำตะวันออก 9 จังหวัด เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ (อยอ.) ภายใต้คณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ (กยอ.) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า จากที่ตนได้ลงพื้นที่สำรวจสถานการณ์น้ำท่วมในภาคตะวันออก พบว่าสาเหตุหลักที่น้ำไม่สามารถระบายออกสู่ทะเลได้ เนื่องจากไม่มีการขุดลอกปากแม่น้ำบางปะกงมานาน โดยเฉพาะบริเวณปากแม่น้ำควรจะต้องมีความลึก 12-16 เมตร แต่ปัจจุบันเหลือความลึกแค่เพียง 2 เมตรเท่านั้น

ซึ่งส่วนนี้ได้มี การกำหนดแผนการขุดลอก โดยใช้งบประมาณดำเนินการ 3,800 ล้านบาท ที่ได้รับการอนุมัติจาก กยอ. แต่ยังไม่สามารถดำเนินการได้เพราะติดคำสั่งจากศาลปกครอง เช่นเดียวกับโครงการลงทุนระบบบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาท

5 หมื่นล้านแก้น้ำท่วมภาค ตอ.

ขณะ เดียวกันวันที่ 27 ต.ค.นี้ นายปลอดประสพ สุรัสวดี รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย (กบอ.) จะเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประชุมเพื่อหาแนวทางการป้องกันแก้ไขปัญหาน้ำ ท่วมภาคตะวันออกที่ จ.ฉะเชิงเทรา โดยเตรียมจัดทำมาตรการทั้งในระยะสั้น ระยะยาว ลดผลกระทบต่อประชาชน พื้นที่เศรษฐกิจ และนิคมอุตสาหกรรมในโซนนี้ คาดว่าอาจจะดึงแผนแก้ปัญหาน้ำท่วมภาคตะวันออกที่ตนเคยเสนอผ่าน กยอ. วงเงินงบประมาณรวม 50,000 ล้านบาท กลับมาพิจารณาอีกครั้ง จากที่ผ่านมาเพิ่งได้รับการอนุมัติงบประมาณเพียง 3,800 ล้านบาท

กรมชลฯระดมสร้างอ่างกักเก็บ

นายเลิศวิโรจน์ โกวัฒนะ อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า นอกจากดำเนินการตามที่ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลและ กบอ.แล้ว กรมชลฯอยู่ระหว่างศึกษาหาแนวทางป้องกันแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในภาคตะวันออกเพิ่ม เติมอีกบางส่วน หากพบว่าพื้นที่ใดควรจัดทำแผนงานเพิ่มเติมก็จะดำเนินการตามความเหมาะสม โดยขออนุมัติจากระดับนโยบาย อุทกภัยที่เกิดขึ้นในภาคตะวันออกปีนี้ถือว่าอยู่ในขั้นรุนแรง ซึ่งกรมมีแนวคิดจะศึกษาโครงการที่จำเป็นต้องดำเนินการเพิ่ม เช่น การสร้างอ่างเก็บน้ำ แต่ยังไม่ได้ลงลึกในรายละเอียดว่าจะเป็นพื้นที่ไหน ส่วนที่เสนอ กบอ.ไปแล้วคือ การปรับปรุงแม่น้ำบางปะกง เนื่องจากขณะนี้แม่น้ำตื้นเขินและคดเคี้ยว ระบายน้ำได้น้อยมาก

นอกจากนี้ มีโครงการของกรมชลฯที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างหลายโครงการ ได้แก่ อ่างเก็บน้ำคลองพระสะทึง ลุ่มน้ำแควพระปรง ความจุน้ำ 60 ล้าน ลบ.ม. อ่างเก็บน้ำห้วยโสมง ลุ่มน้ำแควหนุมาน ความจุ 259 ล้าน ลบ.ม. คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2560 และอ่างเก็บน้ำคลองหลวง ลุ่มน้ำพานทอง จ.ชลบุรี ความจุ 98 ล้าน ลบ.ม.

และอีก 2 โครงการในลุ่มน้ำปราจีนบุรีอยู่ในขั้นการศึกษา ประกอบด้วย อ่างเก็บน้ำคลองสายน้อย และอ่างเก็บน้ำคลองสายใหญ่ หากก่อสร้างแล้วเสร็จจะช่วยตัดน้ำที่จะเข้าสู่ อ.กบินทร์บุรี อ.ศรีมหาโพธิ จ.ปราจีนบุรี ซึ่งถ้าช่วย อ.กบินทร์บุรีได้ จะช่วยบรรเทาน้ำท่วมแหล่งอื่น ๆ ได้อีกหลายพื้นที่ แต่ปัญหาคือพื้นที่โครงการอยู่ติดมรดกโลกเขาใหญ่ จึงอาจถูกต่อต้าน และไม่ง่ายที่จะได้รับการอนุมัติ ผุดฟลัดเวย์รับน้ำป้องปราจีนบุรี

อย่างไรก็ตาม แม้จะมีอ่างเก็บน้ำเหล่านี้ แต่ถ้าน้ำมาพร้อมกันในปริมาณมาก ๆ ก็จำเป็นต้องเร่งหาแนวทางแก้ไข โดยกรมชลฯมีแนวคิดจะทำฟลัดเวย์ในลุ่มน้ำปราจีนบุรี ขณะนี้อยู่ระหว่างส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปสำรวจและศึกษาพื้นที่ จากนั้นจะเสนอให้ กบอ.พิจารณา

ชงแก้ท่วมปราจีนฯ-ชลบุรี-แปดริ้ว

ขณะที่นายเกิดชัย ธัญวัฒนกุล ผู้อำนวยการสำนักชลประทานที่ 9 ซึ่งรับผิดชอบดูแลโครงการชลประทานภาคตะวันออก ครอบคลุม จ.ชลบุรี ฉะเชิงเทรา นครนายก ปราจีนบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด และสระแก้ว เปิดเผยเพิ่มเติมว่า จากที่นายกฯยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้ลงพื้นที่สำรวจสถานการณ์น้ำท่วมใน จ.ปราจีนบุรี ช่วงก่อนหน้านี้ และสั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งจัดทำมาตรการป้องกันแก้ไขปัญหาน้ำ ท่วมน้ำแล้งในภาคตะวันออกทั้งระยะสั้นและระยะยาว ล่าสุด หลายหน่วยงานได้หารือถึงแนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าวทั้งระบบ

เบื้องต้น ได้ข้อสรุปว่า จำเป็นต้องจัดทำมาตรการป้องกันแก้ไขปัญหาน้ำท่วมเพิ่มเติม จากแผนเดิมที่เน้นแก้ปัญหาน้ำแล้งหรือปริมาณน้ำไม่เพียงพอ รองรับการขยายตัวของพื้นที่เศรษฐกิจ อุตสาหกรรม ตลอดจนที่อยู่อาศัยและท่องเที่ยว ในส่วนของ จ.ปราจีนบุรี ต้องหาทางป้องกันน้ำท่วม ใน อ.กบินทร์บุรี ศรีมหาโพธิ และในเขตตัวเมืองปราจีนบุรี โดยสร้างอ่างกักเก็บน้ำรองรับ อาทิ อ่างใสน้อย อ่างใสใหญ่

แต่ติดปัญหาอยู่ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติทับลาน-ปางสีดา มรดกโลก ต้องใช้งบฯราว 6,000 ล้านบาท ส่วนแผนป้องกันน้ำท่วม จ.ชลบุรี โดยเฉพาะ อ.พนัสนิคม และ อ.พานทอง ต้องดำเนินการควบคู่กับ จ.ฉะเชิงเทรา ซึ่งพื้นที่ติดต่อกัน และมีแหล่งรับน้ำอยู่แล้วคือแม่น้ำบางปะกง แต่ตื้นเขิน ต้องใช้วิธีขุดลอก ขยาย ใช้งบฯลงทุนราว 2,000 ล้านบาท รวมทั้งหมด 8,000 ล้านบาท นอกเหนือจากแผนลงทุนน้ำ 3.5 แสนล้านบาท

คาดเสียหาย 1-1.5 หมื่น ล.

นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยชี้ว่า สถานการณ์น้ำท่วมที่ขยายวงกว้างขึ้นขณะนี้ ประเมินว่าความเสียหายที่จะเกิดขึ้นน่าจะเพิ่มเป็น 10,000-15,000 ล้านบาท จากเดิม 5,000-10,000 ล้านบาท แต่ไม่น่ารุนแรงเท่าปี 2554 เนื่องจากน้ำท่วมส่วนใหญ่ยังคงจำกัดวงเฉพาะบางจังหวัด และกระทบต่อย่านธุรกิจบางแห่ง ยังไม่ท่วมหรือสร้างความเสียหายให้กับนิคมอุตสาหกรรมถึงขั้นต้องปิดโรงงาน และประเมินว่าจะมีผลต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) 0.05%

สำหรับ ผลกระทบจากน้ำท่วม นายสันติชัย วงษ์จันทรา รักษาการเกษตร จ.ปราจีนบุรี เปิดเผยว่า สรุปภาพรวมตั้งแต่ 19 ก.ย.-8 ต.ค. มีพื้นที่ที่ได้รับความเสียหาย 7 อำเภอ คือ อ.เมือง, ประจันตคาม, นาดี, ศรีมหาโพธิ, กบินทร์บุรี, ศรีมโหสถ และบ้านสร้าง รวม 58 ตำบล 449 หมู่บ้าน ครัวเรือนประชาชนเดือดร้อน 10,744 ครัวเรือน พื้นที่เกษตรซึ่งปลูกข้าว, พืชไร่ และพืชสวน ประสบภัย 237,104 ไร่ จากพื้นที่เพาะปลูกทั้งหมด 506,731 ไร่ ความเสียหาย218,649 ไร่ แยกเป็นนาข้าวประสบภัย 183,883 ไร่ จากทั้งหมด 333,918 ไร่ คาดว่าจะเสียหาย 171,709 ไร่, พืชไร่ประสบภัย 34,437 ไร่ จาก 119,105 ไร่ เสียหาย 32,199 ไร่ และพืชสวนและอื่น ๆ ประสบภัย 18,784 ไร่ จากทั้งหมด 53,708 ไร่ เสียหาย 14,741 ไร่

ชี้โรงงาน-จัดสรรขวางทางน้ำ

ด้านนายกิจจา ผลภาษี อดีตคณะกรรมการ กยน. กล่าวว่า เหตุผลหลักที่น้ำท่วมภาคตะวันออกเกิดจากฝนที่ตกลงมาอย่างหนัก ไหลลงมาสมทบรวมกันที่แม่น้ำบางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา ซึ่งไม่เพียงพอรองรับ รวมทั้งความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของนิคมอุตสาหกรรมและหมู่บ้านจัดสรรที่สร้าง ขวางทางน้ำ ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมขังอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน

รัฐบาลควรเชิญผู้รู้มาศึกษาเก็บข้อมูลเพื่อวิเคราะห์หาสาเหตุต่อไปว่าเกิดอะไรขึ้น อาจต้องทำฟลัดเวย์เพื่อดึงน้ำท่วมให้ลงสู่ทะเลอีกเส้นหนึ่ง หากไม่ทำภาคตะวันออกก็จะเดือดร้อนอีกในอนาคต

นายสัญญา ขันติพะโล ประธานสหกรณ์ชมรมชาวสวนมะม่วงจังหวัดฉะเชิงเทรา จำกัด เปิดเผยว่า ปัจจุบันสหกรณ์มีสมาชิก 170 ราย รวมพื้นที่ปลูกมะม่วง 7,000 ไร่ ในจำนวนนี้ได้รับผลกระทบ

จากน้ำท่วม 80 ราย เสียหาย 2,570 ไร่ กระจาย 3 อำเภอ คือ อ.บางคล้า 770 ไร่ อ.ราชสาส์น 1,300 ไร่ และ อ.คลองเขื่อน 500 ไร่ ซึ่งเป็นแหล่งปลูกมะม่วงส่งขายตลาดในประเทศเป็นหลัก หากสถานการณ์ยังไม่คลี่คลายจะส่งผลกระทบทำให้ราคาขายเพิ่มขึ้นในอนาคต เพราะผลผลิตลดลง

"ผลผลิตที่เข้าระบบสหกรณ์แต่ละปีจะอยู่ที่ 5,000 ตัน ส่งออกไปจำหน่ายตลาดต่างประเทศ 20-30% ที่เหลือ 70-80% จำหน่ายในประเทศ น้ำท่วมปีนี้รุนแรงมากกว่าปี 2554 มาก น้ำท่วมขังสูง 1-2 เมตรกว่า 20 วันแล้ว ต้นมะม่วงอายุ 1-3 ปี เริ่มยืนต้นตายแล้วบางส่วน"

สำหรับผล กระทบกับนากุ้ง นายบรรจง นิสภวาณิชย์ นายกสมาคมกุ้งตะวันออกไทย เปิดเผยว่า พื้นที่เลี้ยงกุ้งใน จ.ฉะเชิงเทรา ถูกน้ำท่วมเสียหายกว่า 90% คิดเป็นพื้นที่ 1 หมื่นไร่ เป็นกุ้งที่มีอายุการเลี้ยงช่วง 1-3 เดือน หากคิดผลผลิตไร่ละ 2 ตัน ขนาด 100 ตัว/กก. กก.ละ 200 บาท จะเสียหายไม่ต่ำกว่า 3,000 ล้านบาท

น้ำลดโรงงานกังวลน้ำแล้งต่อ

ส่วนนายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธาน ส.อ.ท. กล่าวว่า สิ่งที่ผู้ประกอบการกังวลต่อจากนี้คือสถานการณ์น้ำแล้ง ต้องการให้รัฐบริหารจัดการเรื่องน้ำตามโครงการ 3.5 แสนล้านบาทให้ครอบคลุมทั้งน้ำแล้งและน้ำท่วม เพราะสร้างปัญหาให้กับผู้ประกอบการทั้งสิ้น

"ผู้ประกอบการในภาคตะวัน ออกไม่กังวลเรื่องน้ำท่วมมากนัก มองว่าเกิดจากฝนตกมากกว่าปกติ ซึ่งมีการรับมือตามขั้นตอนอยู่แล้ว คือแผนบริหารจัดการน้ำทั้งลุ่มน้ำเจ้าพระยา บางปะกง"
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 21-10-2556 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.