| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 365 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 17-10-2556    อ่าน 1486
 "จีน"ชิงดำประมูลไฮสปีดเทรนยาหอม"ไทย"ฮับเออีซี-วงในชี้เกมฮุบเค้กเชื่อมคุนหมิงทะลุสิงคโปร์

ซัพพลายเออร์ทั่วโลกแห่งชิงเค้กประมูลงาน 2 ล้านล้าน จีนเสือปืนไวขนเทคโนโลยีระบบรถไฟความเร็วสูงโชว์คนไทย วงในชี้รัฐบาลจีนเดินเกมฮุบเค้กไฮสปีดเทรนไทย หวังเชื่อมคุนหมิง


-สิงคโปร์ ด้าน "ชัชชาติ" คาดเปิดประมูลคัดเลือกระบบรถไฟฟ้าไฮสปีดเทรน 4 สายมูลค่า 1.48 แสนล้านไตรมาส 3/57 เผยเดือนพ.ย.นี้บินถกรัฐบาลจีนอีกรอบ หารือข้อสรุปบาร์เตอร์เทรดรถไฟฟ้าแลกสินค้าเกษตร

ผู้สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" รายงานว่า ตามที่รัฐบาลมีแผนลงทุนโครงการ 2 ล้านล้านบาทโดยมุ่งเน้นระบบรางกว่า 80% มีเม็ดเงินลงทุนกว่า 1.64 ล้านล้านบาท อาทิ รถไฟฟ้าทางคู่ รถไฟความเร็วสูง รถไฟฟ้า เป็นต้น ทำให้ในช่วงที่ผ่านมามีซัพพลายเออร์จากประเทศต่าง ๆ ทั้งในแถบเอเชียและยุโรปแสดงความสนใจที่จะเข้ามาลงทุนจำนวนมาก โดยเฉพาะเทคโนโลยีระบบรถไฟฟ้าที่หลายประเทศต้องการมาเปิดตลาดในประเทศไทย เช่น ประเทศจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ฝรั่งเศส เยอรมนี สเปน เบลเยียม อังกฤษ ออสเตรเลีย เป็นต้น


จีนรุกจัดอีเวนต์ไฮสปีดเทรน

ล่าสุด ในช่วงที่นายหลี่ เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนเดินทางมาเยือนประเทศไทย ระหว่าง 11-13 ตุลาคมที่ผ่านมา ทางองค์กรประเทศจีนได้จัดนิทรรศการรถไฟความเร็วสูงขึ้นที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์เพื่อให้คนไทยได้ชมเทคโนโลยีระบบรถไฟความเร็วสูงของจีนระหว่าง 12-13 ตุลาคมที่ผ่านมา โดยมี นายหลี่ เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรีประเทศจีน และนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีของไทย ร่วมกันเปิดงานดังกล่าว

ผู้สื่อข่าวรายงานอีกว่า ในงานนิทรรศการทางจีนได้โชว์ความได้เปรียบของประเทศไทยที่เป็นศูนย์กลางการคมนาคมของระบบรถไฟความเร็วสูง (ดูแผนที่ประกอบ) ที่จะสามารถต่อเชื่อมจากเส้นทางที่จีนจะลงทุนก่อสร้างจากคุนหมิงผ่าน สปป.ลาว ที่เมืองหลวงเวียงจันทน์ ลงมาทางใต้ผ่านประเทศไทยตามแนวเส้นทางสายอีสาน จากหนองคายลงมากรุงเทพฯ มุ่งหน้าลงภาคใต้ผ่านนครปฐม ราชบุรี เพชรบุรี หัวหิน ปาดังเบซาร์ เชื่อมกับประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์ ปัจจุบันทั้ง 2 ประเทศคือ มาเลเซียและสิงคโปร์ได้จับมือกันลงทุนก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงไว้รอแล้ว ตามกำหนดจะแล้วเสร็จในปี 2563



โชว์เทคโนโลยีสร้างเร็ว

นอกจากนี้ ยังนำเสนอระบบเทคโนโลยีรถไฟความเร็วสูงของจีนที่พัฒนาได้อย่างรวดเร็วและครบวงจร ทั้งเทคโนโลยีด้านการก่อสร้าง, รถไฟความเร็วสูง EMUs, การควบคุมรถไฟ, การจ่ายกระแสไฟฟ้าในการขับเคลื่อน, การบริหารจัดการเดินรถ, การป้องกันและควบคุมความเสี่ยง, การเชื่อมต่อระบบการทำงาน โดยมีความยินดีจะถ่ายทอดเทคโนโลยีต่าง ๆ ให้กับประเทศไทย

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ผลงานตลอด 8 ปีที่ผ่านมาว่า จีนมีสถิติถึงสิ้นเดือนกันยายนที่ผ่านมา สามารถสร้างรถไฟมีระยะทางรวม 9,700 กิโลเมตร ภายในปี 2563 มีเป้าหมายจะสร้างให้ถึง 20,000 กิโลเมตรตามที่รัฐบาลจีนได้กำหนดเป็นพิมพ์เขียวไว้

คนไทยแห่ดูโมเดลจีน

อย่างไรก็ตาม ภายในงานจีนนำโมเดลรถไฟจำลองนำมาแสดงโชว์ด้วย โดยเป็นระบบรถไฟรุ่นใหม่ที่จีนศึกษาและผลิตเองชื่อ "CRH380A" มีลักษณะเสียงรบกวนต่ำ ประหยัดพลังงาน สามารถจัดขบวนรถได้สั้นและยาวตามการขนส่ง วิ่งด้วยความเร็ว 350 กิโลเมตร/ชั่วโมง ที่น่าสนใจคือมีสถิติวิ่งงานอย่างปลอดภัยมากกว่า 1.4 ร้อยล้านกิโลเมตรแล้ว

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า มีหลายประเทศทั้งเอเชียและยุโรปที่สนใจจะมาถ่ายทอดเทคโนโลยีและลงทุนระบบรางกับประเทศไทยภายใต้โครงการลงทุน2 ล้านล้านบาท โดยแต่ละประเทศมีจุดแข็งแตกต่างกัน เช่น จีนจะสร้างได้เร็ว ญี่ปุ่นก็มีข้อดีคือเป็นผู้พัฒนาเจ้าแรก

อย่างไรก็ตาม การมาเยือนของนายกรัฐมนตรีจีนในครั้งนี้ มีความต้องการจะลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ร่วมกันที่จะพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นรถไฟความเร็วสูงและรถไฟทางคู่ โดยจะชำระค่าใช้จ่ายเป็นสินค้าเกษตร เช่น ข้าว ยางพารา แต่เพิ่งจะเป็นเพียงข้อหารือร่วมกัน ยังไม่มีการผูกมัดใด ๆ

"ต้องรอให้รายงานสิ่งแวดล้อมหรืออีไอเอผ่านก่อน ขณะนี้เป็นแค่จุดเริ่มต้นให้ 2 ประเทศมาหารือร่วมกัน ในสิ้นเดือนพฤศจิกายนนี้จะหารือกันอีกครั้งที่คุนหมิง ซึ่งเป็นจุดต้นทางเชื่อมรถไฟความเร็วสูงจากจีนลงมายังประเทศลาวที่นครเวียงจันทน์ อนาคตเราอาจจะไปเชื่อมกับเขาที่หนองคายก็ได้" นายชัชชาติกล่าว

ไตรมาส 3/57 ประมูล

สำหรับความคืบหน้าการประมูลโครงการรถไฟความเร็วสูง นายชัชชาติกล่าวว่า คาดว่าประมาณไตรมาส 3/2557 จะเริ่มประมูลคัดเลือกระบบรถไฟความเร็วสูงได้ มูลค่างานประมาณ 148,240 ล้านบาท เมื่อคัดเลือกได้แล้วให้ใช้ระบบเดียวทั้ง 4 สายทาง จากนั้นจึงจะเริ่มประมูลงานโยธาเพื่อให้ผู้รับเหมาที่ชนะประมูลออกแบบรายละเอียดสอดรับกับงานระบบต่อไป

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม กล่าวเพิ่มเติมว่า นับเป็นการรุกคืบอีกก้าวของรัฐบาลจีน ก่อนหน้านี้ได้ร่วมกันเซ็นเอ็มโอยูมาแล้วครั้งหนึ่งเมื่อปี 2555 ทางจีนสนใจในโครงการรถไฟความเร็วสูง 2 สายคือ สายกรุงเทพฯ-หนองคาย เน้นทั้งผู้โดยสารและสินค้า และสายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ เน้นขนส่งผู้โดยสาร

โปรเจ็กต์นำร่อง กทม.-ภาชี

"ตอนนั้นจีนเสนอให้ประเทศไทยนำร่องช่วงกรุงเทพฯ-ชุมทางบ้านภาชี ระยะทาง 81.8 กิโลเมตร วงเงินกว่า 35,000 ล้านบาทเป็นเส้นทางทดสอบก่อน จากนั้นจึงก่อสร้างเส้นทางภาชี-หนองคายและภาชี-เชียงใหม่ต่อไป ดังนั้น เส้นทางกรุงเทพฯ-บ้านภาชีจึงเป็นหัวใจสำคัญของรถไฟความเร็วสูงทั้งหมด หากใครได้สร้างก็เท่ากับจะได้ก่อสร้างเส้นทางอื่น ๆ ด้วยเพราะเป็นศูนย์กลางเชื่อมทุกสายทาง"

แหล่งข่าวกล่าวว่า สำหรับประเทศญี่ปุ่นสนใจรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ และสายกรุงเทพฯ-พัทยา-ระยอง โดยจัดทำรายงานศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการให้กับกระทรวงคมนาคมด้วยเช่นกัน โดยกระทรวงคมนาคมได้นำผลศึกษาของทั้ง 2 ประเทศนี้ให้กับบริษัทที่ปรึกษานำไปศึกษารายละเอียดโครงการด้วย

ออสเตรเลียสนใจผลิตคน

ศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ คณบดีวิศวะลาดกระบัง เปิดเผยว่า วันที่ 15 ตุลาคม 2556 คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ร่วมกับสำนักการพาณิชย์ ประเทศออสเตรเลีย จัดโชว์เคสเทคโนโลยีระบบรางและการพัฒนาคนด้านระบบขนส่งที่จะพัฒนาคนมารองรับกับการลงทุนโครงการ 2 ล้านล้านบาทของรัฐบาลไทย

ทั้งนี้ ทางประเทศออสเตรเลียมีความโดดเด่นเรื่องการพัฒนาคนและเทคโนโลยีการขนส่ง ไม่เน้นขายของแต่จะนำเสนอเรื่องความสำเร็จด้านการบริหารคนมากกว่า
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 17-10-2556 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.