| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 103 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 25-09-2556    อ่าน 1528
 คลื่นความคิด 15 สถาปนิกชื่อ "แฟรงก์" และเมืองบิลเบา

ในแวดวงสถาปนิกต่างประเทศ มีบทความมาฝากจาก "ปริญญา ตรีน้อยใส" ซึ่งเป็นนามปากกาของ ศ.ดร.บัณฑิต จุลาสัย อดีตคณบดีสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ เขียนคอลัมน์ "มองบ้านมองเมือง" ประจำในนิตยสารมติชนสุดสัปดาห์

"ปริญญา ตรีน้อยใส" ระบุว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ มีการกล่าวอ้างถึงสถาปนิกอเมริกันชื่อ "แฟรงก์ แกห์รี่" และ "พิพิธภัณฑ์ศิลปะกุกเกนไฮม์" ที่เมืองบิลเบา เป็นที่มาของการสร้างกระแส Guggenheim Bilbao Effect ที่เป็นแบบอย่างให้กับอีกหลายเมืองทั่วโลก ทั้งเมืองเก่าอย่างลอนดอนหรืออัมสเตอร์ดัม เมืองใหม่อาบูดาบี หรือดูไบ

เริ่มต้นที่เศรษฐกิจของโลกตะวันตก โดยเฉพาะภาคพื้นยุโรปย่ำแย่มานาน จนอาจส่งผลถึงความล่มสลายของประชาคม หนึ่งประเทศที่มีปัญหารุนแรงคือสเปน



ทั้ง ๆ ที่ในอดีตสมัยแห่งการเดินเรือข้ามทวีป สันตะปาปาถึงกับต้องแบ่งโลกออกเป็นสองส่วน เพื่อลดความขัดแย้งในการช่วงชิงทรัพยากรของสองมหาอำนาจ "สเปน-โปรตุเกส" เป็นที่มาของการพบโลกใหม่ คือ ทวีปอเมริกาโดยสเปน และการเดินทางอ้อมทวีปแอฟริกามายังเอเชียของโปรตุเกส ทรัพยากรล้ำค่านานาชนิดจากอาณานิคมทั่วโลกเป็นฐานสำคัญ

ส่งผลให้ทั้งสองประเทศร่ำรวยและรุ่งเรืองต่อมาเมื่อหมดสิ้นอาณานิคม เกิดปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง และการเข้าสู่โลกสมัยใหม่ ด้วยเหตุนี้ เมืองในสเปนต่างดิ้นรนเพื่อความอยู่รอด มุ่งหวังที่จะพลิกโฉมเมืองอุตสาหกรรมเสื่อมถอยมาเป็นศูนย์กลางการบริการและแหล่งท่องเที่ยวทางด้านศิลปวัฒนธรรม

ทั้งนี้ "มาดริด" ลงทุนฟื้นฟูเมืองอย่างมโหฬาร เมื่อได้รับเลือกให้เป็นเมืองหลวงทางวัฒนธรรมของสหภาพยุโรป ในขณะที่ "บาร์เซโลนา" ได้เสนอตัวเป็นเจ้าภาพจัดแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ในปี 2535 ส่วน "เซวิญญ่า-Seville" ก็รับเป็นเจ้าภาพจัดงาน The Universal Exposition of Seville (Expo"92) ในปีเดียวกัน ผลที่ตามมาของทุกเมืองที่กล่าวมา ปรากฏว่ายังคงติดบ่วงหนี้สินที่เกิดจากการลงทุนมหาศาล ยกเว้น "บิลเบา-Bilbao" เมืองใหญ่อันดับ 4 ของสเปน

ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะประวัติศาสตร์ความเป็นมาที่แปลกแยก ดินแดนแถบนี้เป็นถิ่นฐานของชนเผ่า Basque มาแต่อดีต จึงได้สิทธิ์ในการปกครองตนเองในปัจจุบัน อีกส่วนทำเลที่ตั้งอยู่ทางตอนเหนือ ใกล้ชายแดนฝรั่งเศส ริมฝั่งทะเลแอตแลนติก บิลเบาจึงเป็นเมืองท่าสำคัญ ในขณะที่ภายในแผ่นดินก็อุดมไปด้วยถ่านหินและเหล็ก บิลเบาจึงเป็นศูนย์กลางการเดินเรือ การต่อเรือ และอุตสาหกรรม

อย่างไรก็ตาม นอกจากวิกฤตเศรษฐกิจของประเทศแล้ว กิจการต่อเรือและท่าเรือถดถอยตามเทคโนโลยีของโลก ส่งผลให้อัตราการว่างงานสูง บ้านเมืองเสื่อมโทรมจากมลพิษโรงงานอุตสาหกรรมรุ่นเก่า ที่อยู่อาศัยของผู้มีรายได้ต่ำ และแรงงานย้ายถิ่น

ผู้บริหารบิลเบาจึงเริ่มแผนฟื้นสภาพเมือง โดยการรื้อถอนโรงงานและท่าเรือเก่า แทนที่ด้วยสวนสาธารณะ อาคารพักอาศัย สำนักงาน และสถานบริการ การทำความสะอาดอาคารบ้านเรือน การก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนเพื่อแก้ปัญหาจราจร และลงทุนในโครงการพิเศษ ที่แปลกต่างไปจากเมืองอื่น ๆ คือ พิพิธภัณฑ์ Solomon R Guggenheim สาขาของพิพิธภัณฑ์ศิลปะในนิวยอร์กที่มีชื่อเสียง

ด้วยข้อจำกัดด้านงบประมาณค่าก่อสร้างอาคาร 3 พันล้านบาท ค่ายืมงานศิลปะ 1.5 พันล้านบาท ค่าบริหารหรือแฟรนไชส์ 600 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เพราะเงินทุนทั้งหมดของโครงการมาจากการลงขันร่วมกัน ตั้งแต่รัฐบาลกลาง รัฐบาลท้องถิ่น ไปจนถึงองค์กรเอกชนกว่า 80 ราย

ขณะเดียวกัน ได้เลือกสถาปนิกอเมริกันรุ่นใหม่ "แฟรงก์ แกห์รี่-Frank Gehry" ที่ขณะนั้นยังไม่มีชื่อเสียงมากนัก เป็นผู้พลิกโฉมพิพิธภัณฑ์และสถาปัตยกรรมร่วมสมัย โดยมีข้อกำหนดให้อาคารก่อสร้างโดยช่างต่อเรือที่ว่างงานอยู่

ส่งผลให้โครงสร้างอาคารเป็นเหล็ก ส่วนผนังภายนอกกรุด้วยแผ่นไทเทเนียม บางอาคารจึงมีรูปแบบต่างไปจากสถาปัตยกรรมทั่วไป ผืนผนังไทเทเนียมจะห่อหุ้มห้องแสดงงานขนาดต่าง ๆ (ห้องที่ใหญ่ที่สุดมีขนาด 30 ม.x130 ม.) ผนังแต่ละผืนจะสอดสานไปมาราวกับกลีบดอกไม้ งานสถาปัตยกรรมจึงกลายเป็นงานประติมากรรมที่งดงาม เข้าสู่ทำเนียบงานออกแบบที่มีชื่อเสียงระดับโลก

เมื่อรวมกับงานออกแบบสถานีรถไฟใต้ดินของสถาปนิกชื่อดัง Norman Foster, สะพานของ Santiago Calatrava และศูนย์ประชุมนานาชาติของ Cesar Pelli...บิลเบาจึงกลายเป็นจุดหมายปลายทางของสถาปนิก ศิลปิน นักท่องเที่ยวในเวลาแค่ 3 ปีหลังจากพิธีเปิดพิพิธภัณฑ์ในปี 2540

จำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มถึง 4 ล้านคน มากกว่าประชากรบิลเบา 10 เท่า ส่งผลให้รายได้ผ่านโรงแรม ร้านอาหาร ร้านค้า ฯลฯ สูงถึง 3 หมื่นล้านบาท เทศบาลมีรายได้จากภาษีต่าง ๆ มากถึง 6 พันล้านบาท หรือเท่ากับงบประมาณที่ลงทุนไป

ทางด้านสถาปนิกแฟรงก์ แกห์รี่ เป็นชาวแคนาดา มาศึกษาและทำมาหากินในสหรัฐอเมริกา เริ่มจากงานเล็ก ๆ ในซานตาโมนิกา ต่อมามีผลงานศูนย์อเมริกาในปารีส และสำนักงานในปราก สาธารณรัฐเช็ก ซึ่งนิตยสารไทม์ยกให้เป็นงานออกแบบดีเด่นประจำปี 2539

เขาเลื่อนขั้นเป็นสถาปนิกระดับดารา ด้วยผลงานพิพิธภัณฑ์เมืองบิลเบา จึงมีงานต่อเนื่อง ทั้งโรงละครในลอสแองเจลิส และสำนักงานในสวิตเซอร์แลนด์

ความสำเร็จของการดำเนินงานครั้งนี้ กลายเป็นปรากฏการณ์ที่ได้รับการขนานนามว่า Bilbao Guggenheim Effect ที่ส่งผลต่อกระบวนการพัฒนาเมืองและการแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจ ที่ได้รับการยอมรับไปทั่วโลกในปัจจุบัน
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 25-09-2556 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.