| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 97 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 19-09-2556    อ่าน 1430
 กรี เดชชัย เรื่องเล่า...เบื้องหลังความสำเร็จ 6 ปี SC รับรู้รายได้หมื่นล้าน

2556 บริษัทอสังหาริมทรัพย์มหาชนของตระกูลชินวัตร "SC-เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น" วาดแผนธุรกิจที่จะมียอดรับรู้รายได้หรือยอดโอนโครงการบ้านและคอนโดมิเนียมในเครืออยู่ที่ตัวเลขประมาณ 1 หมื่นล้านบาท ประเด็นน่าสนใจคือเป็นตัวเลขที่สร้างขึ้นมาภายในช่วงเวลา 6 ปีเท่านั้น

"ประชาชาติธุรกิจ" สัมภาษณ์พิเศษ "ร.อ.กรี เดชชัย" ประธานเจ้าหน้าที่ด้านปฏิบัติการ หรือ COO-Chief Operation Officer ของเอสซีฯ ก่อนหน้านี้เขาเป็นอดีตผู้บริหารของกลุ่มควอลิตี้ เฮ้าส์ หรือคิวเฮ้าส์ ก่อนจะถูกทาบทามให้มารับผิดชอบพอร์ตพัฒนาโครงการของเอสซี แอสเสทฯ



- สถานการณ์ครึ่งปีหลัง

ผมก็ยังรักษาเป้าได้ตามแผนธุรกิจ ตัวเลขไม่ได้ลบแต่ก็ไม่ได้บวก สถานการณ์ถ้าหลุดจากไตรมาส 3 ไปได้ ในไตรมาส 4 จะเป็นซีซันนอลขายมากกว่าอยู่แล้ว หนทางสำหรับเอสซีฯก็สดใสนะ พูดตั้งแต่ตอนครึ่งปีแรกแล้วว่าปีนี้เป้ารับรู้รายได้ 1 หมื่นล้านบาทยังไงผมก็ได้เพราะเราเปิดโครงการใหม่เพิ่มตลอด

- SC เป็นเบอร์ 1 บ้านแพง

อย่าบอกว่าเบอร์หนึ่งเลย แต่บนยอดขายของเซ็กเมนต์บ้านแพง ยิ่งราคาหลังละ 20 ล้านขึ้นไปผมมียอดขายชัดเจน ข้อมูลบ้านราคา 15 ล้านขึ้นไปในช่วง 6 เดือนแรกมียอดขายรวมทั้งตลาดประมาณ 3,100 ล้าน เอสซีฯครองเจ้าตลาดที่สัดส่วน 35% คู่แข่งเซ็กเมนต์นี้จะมีแสนสิริ, แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ ส่วนคิวเฮ้าส์ไม่ได้เปิดโครงการใหม่เลยในช่วง 6 เดือนแรก ในแง่ราคาเฉลี่ยต่อหลังตัวเลขปีนี้ก็เพิ่มขึ้น ปีཱི บ้านแนวราบเฉลี่ยไม่ถึง 10 ล้าน ปีนี้ราคาเฉลี่ยขึ้นมาอยู่ที่ 10-12 ล้าน บ้านลอตใหม่ที่ราคาแพงหน่อยขายเกลี้ยง...เกลี้ยงสต๊อกเลย

- อะไรที่บริหารยากสุด

(นิ่งคิด) ผมเริ่มพัฒนาโครงการเมื่อปี 2538 จนมาอยู่ที่จุดนี้ผมโตมาจากการทำงานแบบเก็บทุกเม็ดหน้าไซต์ เรื่องทฤษฎีเยอะแยะผมไม่ค่อยรู้ แต่เรารู้ว่าเราทำบ้านขายใครตรงไหน ต้องทำขายขนาดไหน

และวิชาแมเนจเมนต์อสังหาฯผมก็ไต่เต้ามาจากทีมงาน 20 คน 80 คน มาเป็น 500 คน ผู้รับเหมาจาก 1-2 ไซต์มาเป็น 40 ไซต์ สร้างตึกสูงสร้างยังไงสุดท้ายให้มันจบ ให้มันได้ ชีวิตจริงของคนทำอสังหาฯ สำหรับผมคือ Learning by Action ลงมือทำ และแอ็กชั่นแล้วก็มาเป็นเลิร์นนิ่ง

ตอนเข้ามาเอสซีฯปีแรก ผมบอกว่าต้องทำ 3 สเต็ป เรื่องแรกปรับในเรื่องคน ปรับคัลเจอร์องค์กรให้เป็นมืออาชีพ เพราะตอนนั้นเอสซี แอสเสทฯถือว่ายังกึ่ง ๆ คนทำงานก็ยังไม่ได้ลงไปเต็มที่

สเต็ปที่ 2 ถัดมาต้องรีบทำเรื่องโปรดักต์ ตอนที่เรามาบ้านบางกอก บูเลอวาร์ดรุ่นเก่าเหลือสต๊อกเกือบ 350 หลัง ขายมา 4 ปีแล้วขายได้ 100 กว่าหลัง เหลือบ้านสร้างเสร็จ 200 กว่าหลัง โจทย์ข้อแรกคือคุยกับคนให้ระบายของให้มีรายได้ ซึ่งเราเห็นอยู่แล้วว่าโปรดักต์ที่ขายมันไม่ใช่

ปีที่ 2 เราก็ปรับ และสำเร็จสามารถเคลียร์ของออกไปได้เยอะ รายได้ก็ขยับเป็นเกือบ 2,000 ล้าน ถือว่าสเต็ปข้อแรกได้ตามเป้าหมาย ใคร (พนักงาน) ที่ใช่-ไม่ใช่ลาออกไปก็เยอะ มีคนใหม่เข้ามา เริ่มทำโปรดักต์ใหม่เปลี่ยนระบบต้นทุน เปลี่ยนทุกสิ่งทุกอย่างในเรื่องฟังก์ชั่น บ้านเอสซีฯซีรีส์ใหม่ก็ออกประมาณกลางปีที่ 2 ที่ผมอยู่ สเต็ปที่ 3 ที่เคยให้สัมภาษณ์คือเรื่องระบบ ระบบสื่อสารตั้งแต่แบ็กออฟฟิศ, ฟรอนต์ (ไซต์โครงการ) หรือจากฟรอนต์ (สำนักงานใหญ่) ไปแบ็กออฟฟิศ แม้กระทั่งซัพพลายเชนก็สร้าง "เอสซี ซิสเต็ม" เน็ตเวิร์กทุกอย่างเขียนบนออนไลน์

มาถึงตอนนี้ 6 ปีสำเร็จไป 70-80% เป็นส่วนงานที่มาซัพพอร์ตยอดขายหมื่นล้านโดยที่ไม่ต้องมีเปเปอร์ ไม่ต้องมีอะไร



ถามว่าวันนี้ 6 ปีในเอสซีฯก็สร้างเสร็จหมดแล้วตามภารกิจที่รับปากซีอีโอ ณ ตอนนั้นทุกอย่างก็พิสูจน์แล้วว่าจาก 6 ปีที่แล้วรายได้รับรู้จาก 1 พันมาเป็นเป้า 1 หมื่นล้านปีนี้ สร้างหมื่นล้านจากไม่มี

อะไรเลย (ยิ้ม) เราก็สร้างตัวสร้างเอกลักษณ์ของเราผมคิดไว้ตั้งแต่เริ่มต้นมาอยู่เอสซีฯ จริง ๆ แล้วต้องบอกว่าตั้งแต่เคยอยู่คิวเฮ้าส์ด้วยซ้ำไป เราไม่ใช่คอนแทรกเตอร์ เราไม่มีรับเหมาอยู่ในมือ เราไม่มีอะไรที่สามารถสร้างตลาดแมสและต้นทุนโลว์คอสต์ที่จะไปสู้กับคู่แข่ง สิ่งที่เราจะขายได้อย่างเดียว คือ ไอเดีย กับฝันที่เราขายคนมีตังค์ได้ ตอนนั้นจึงบอกว่าเอสซีฯต้องสร้างบ้านแพง ต้องสร้างบ้านที่คนรู้สึกว่ามีแวลู ไม่ใช่แค่ปูน 4 ด้าน นี่คือสิ่งที่เราสร้างและซักเซสเราก็คีย์นี้มาตลอด

- 6 ปีทำบ้านเอสซีฯซีรีส์ใหม่

เปลี่ยน 100% เลย ของเดิมเขาใช้ผู้ออกแบบข้างนอกผมมาจากฟังก์ชั่นที่ใช้งานก่อนนะ แล้วหน้าตาก็ไปคุยกับสถาปนิกให้สร้างเส้นสายสร้างอะไรที่เป็นเอกลักษณ์ของเรา จากเริ่มต้นมีแค่แบรนด์เดียว "บางกอก บูเลอวาร์ด" ต่อมาก็แตกแบรนด์ "แกรนด์ บางกอก บูเลอวาร์ด" เซ็กเมนต์ขึ้นมาใหม่ หลังใหญ่ขึ้นราคา 15-20 ล้าน ไปจนถึง "กรานาด้า" 60-70-80 ล้าน 100 ล้าน แล้วเราก็ถอยกลับมาทำ "ไลฟ์ บางกอก บูเลอวาร์ด" แตกย่อยเซ็กเมนต์ต่ำลงมาหน่อย ณ วันนี้ ไลฟ์ บางกอกฯเป็นตัวทำรายได้หลัก 30-40% ของพอร์ตรวม

ตอนหลังก็มาทำคอนโดฯ ตอนแรกที่เข้ามาเอสซีฯก็งงว่า เอ๊ะ...ทำไมทำคอนโดฯแล้วไม่ได้ราคา ทำแล้วไม่ได้กำไร ตอนที่มาเพราะว่ามาจากคิวเฮ้าส์ผมยังไม่เคยทำคอนโดฯ ก็จ้างคอนซัลต์มาถอดแบบ ไปหาข้อมูลเปรียบเทียบ

ในที่สุดเราก็มีโมเดลของเรา สร้างตัวแรก "เดอะเครสท์ พหลโยธิน" มีกำไรขั้นต้น 34-35%คอนโดฯรุ่นที่ 2 ทำเลติวานนท์ ตัวนี้สร้างกำไรมหาศาล เป็นที่ดินที่บริษัทบิ๊กเนมไม่เอาด้วยซ้ำ บอร์ดก็ถามว่าจะเอามาทำไม...ไกล แต่ปรากฏว่ากลายเป็นโครงการที่ซักเซสมากที่สุด กำไรวิ่งขึ้นไป

- สูตรสำเร็จทำอสังหาฯ

เซ็กเมนต์ให้ถูก ผมไม่ใช้คำว่าที่ดิน ไม่ได้ใช้คำว่าทาร์เก็ตด้วยนะ ความหมายเซ็กเมนต์ของผมคือที่ตั้งของมัน รูปร่างของมัน ฟังก์ชั่น-ราคา-แฟซิลิตี้ของมัน ขนาดห้อง ทุกสิ่งทุกอย่าง แล้วแมตชิ่งกับคน กับคู่แข่ง กับทุกสิ่งทุกอย่าง นี่คือเซ็กเมนต์สูตรสำเร็จเครื่องปรุงเท่ากันแต่องค์ประกอบของแต่ละเครื่องปรุงไม่เท่ากันแค่นั่นเอง

บางอย่างเราอยู่อสังหาฯมาตั้งนานแต่ไม่รู้เลยก็มี อย่างเมื่อก่อนดูฟีสฯ (Feasibility-ความเป็นไปได้โครงการ) สร้างบ้าน 50 วา ขาย 5 ล้าน สู้คู่แข่งได้ก็สร้างไป แต่พอทำไปแล้วเริ่มขายไม่ค่อยได้ ต้องลงมาดูปรากฏว่าทั้งโครงการมีอยู่ 20% ที่เหลือบวมหมดเลย ที่ดิน 56-57-58 วา ขายหลังละ 5.6-5.7 ล้าน

ตอนนี้เวลาทำฟีสฯผมให้รื้อหมดเลยว่าสุดท้ายตัวขายคืออะไร อย่าเอาตัวที่ดีที่สุดที่มีแค่ 20% มาชี้วัดทั้งโครงการต่อไปนี้ขึ้นผังไปเลย ถ้ามีแพ็กที่ไม่ใช่มาตรฐานของโครงการเกิน 10% ไม่ยอมให้ผังผ่าน นี่ก็คือต้องมาเรียนรู้

ถามว่าเรียนรู้เมื่อไหร่ ถอยหลังไป 2-3 ปีมานี้เอง ผมบอกทีมงานเลยเอาอย่างนี้ดีกว่า ใส่จีพี (กรอสโปรฟิต-กำไรขั้นต้น) ราคาขายมาให้ดูทุกแปลง มี 200 แปลงใส่มา ยอมเสียเวลานั่งดูทุกแปลง พอจบโครงการเราต้องมานั่งไล่ดูทำไมเกิดสตอรี่กับแปลงนี้ ลูกค้าเป็นใคร ราคา 5.5 ล้าน ทำไมขายได้ 5.3 ล้าน แปลงนี้ทำไมบวกได้ เราต้องเรียนรู้หมด

...ความรู้ทำอสังหาฯวันนี้ผมว่าเรียนรู้ไม่หมด ใครที่บอกว่าเป็นกูรูผมว่าอยู่ที่สนใจหรือเปล่า ถ้าพูดว่ากูเก่งก็จบแล้ว
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 19-09-2556 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.