| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 82 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 25-07-2556    อ่าน 1520
 ถึงคิว "บางกะปิ-ลำสาหัส" กทม.ทุ่ม 4 พันล้านทะลวง 6 แยกวิกฤต เวนคืนที่ดิน-ตัดถนนใหม่ 3 สาย

ด้วยปริมาณการจราจรกว่า 1 แสนคันต่อวันในพื้นที่ "ย่านบางกะปิ" ที่เพิ่มขึ้นตามการเติบโตของเมืองที่ขยายมายังกรุงเทพฯโซนนี้มากขึ้น ทำให้ "กทม.-กรุงเทพมหานคร" ศึกษาโครงการที่จะมาช่วยแก้ปัญหารถติดโซนนี้บนถนน 6 สายหลักไล่จากถนนลาดพร้าว ถนนนวมินทร์ ถนนเสรีไทย ถนนรามคำแหง ถนนศรีนครินทร์ และถนนศรีบูรพา โดยมี 6 แยกที่กลายเป็นจุดคอขวดและวิกฤตในขณะนี้ คือ สามแยกบางกะปิ แยกบางกะปิ แยกลำสาลี (จุดแยกนี้ได้รับการขนานนามว่าเป็นแยกลำสาหัส) แยกสวนสน แยกนิด้า และแยกบ้านม้า

ทั้งนี้ บริษัทที่ปรึกษาเสนอแผนโครงการแก้ปัญหารถติดย่านบางกะปิให้ กทม. มี 2 แนวทาง เริ่มจาก "การแก้ไขปัญหาระยะสั้น" จะเป็นการปรับปรุงลักษณะทางกายภาพและระบบการจราจรในพื้นที่เป็นด้านหลักเช่น ออกแบบระบบสัญญาณไฟจราจรให้สอดคล้องต่อเนื่องกันในแต่ละแยก กำหนดพื้นที่จอดรถสาธารณะให้เหมาะสม ปรับปรุงทางเท้า สะพานลอยคนข้าม รวมถึงการก่อสร้างทางเดินยกระดับหรือ Skywalks จากบริเวณหน้าห้างเดอะมอลล์ต่อเนื่องยาวถึงตลาดสดบางกะปิ

ส่วนแนวทาง "การแก้ปัญหาระยะยาว" จะเป็นเรื่องขยายโครงข่ายถนนให้ครอบคลุมทั้งด้านตะวันออกและตะวันตกของเขตบางกะปิ มีทั้งปรับปรุงขยายถนนเดิมและตัดถนนใหม่ ลักษณะเป็นทางบายพาส เพื่อช่วยระบายรถไม่ให้ผ่านจุดตัดทางแยกที่เป็นคอขวดอยู่ในปัจจุบัน







โดยที่ปรึกษาเสนอโครงการทั้งสิ้น 3 โครงการให้ กทม.พิจารณาเพื่อดำเนินการต่อไป คิดเป็นวงเงินลงทุนทั้งก่อสร้างและเวนคืนที่ดินกว่า 4,300 ล้านบาท แยกเป็น ค่าก่อสร้างกว่า 3,000 ล้านบาท ค่าเวนคืน 1,360 ล้านบาท มีที่ดิน 100 ไร่ และสิ่งปลูกสร้างประมาณ 260 หลัง

ประกอบด้วย 1.ปรับปรุงถนนศรีบูรพา ต่อเชื่อมกับมอเตอร์เวย์สายกรุงเทพฯ-ชลบุรีสายใหม่ ออกแบบเป็นถนนขนาด 6 ช่องจราจร มีเกาะกลางพร้อมทางแยกต่างระดับ และสะพานขนาด 4 ช่องจราจร บริเวณทางแยกช่วงถนนเสรีไทย-ถนนรามคำแหง รวมระยะทาง 6 กิโลเมตร

จุดเริ่มต้นอยู่ที่ถนนศรีบูรพาไปจนถึงแยกบ้านม้า จะเป็นการขยายถนนเดิมเป็น 6 ช่องจราจร จากนั้นจะเป็นแนวตัดใหม่ลงไปทางทิศใต้ ผ่านพื้นที่ว่างด้านหลังหมู่บ้านกิตตินิเวศน์ หมู่บ้านมัณฑนา และหมู่บ้านเศรษฐสิริ โรงเรียนสุเหร่าวังใหญ่ แล้วเบี่ยงแนวเส้นทางตัดผ่านคลองลำสาลี ถนนศรีนครินทร์ตัดใหม่ หมู่บ้านศรีวรา หมู่บ้านกรุงเทพกรีฑา แล้วผ่ากลางสนามกอล์ฟสโมสรของกรุงเทพกรีฑากับสนามกอล์ฟยูนิโก้ มาบรรจบกับมอเตอร์เวย์ฝั่งตรงข้ามกับหมู่บ้านเมืองทอง 22

เบื้องต้นคาดว่าจะมีการเวนคืนที่ดินประมาณ 86 ไร่ สิ่งปลูกสร้างประมาณ 91 หลัง ใช้เงินลงทุน 3,500 ล้านบาท แยกเป็นค่าก่อสร้าง 2,500 ล้านบาท และค่าเวนคืน 1,000 ล้านบาท

2.โครงการปรับปรุงถนนพ่วงศิริ-ซอยรามคำแหง 60-ถนนกรุงเทพกรีฑา ระยะทางรวม 2.6 กิโลเมตร เป็นถนนเดิม ขยายจาก 2 ช่องจราจรเป็นถนนขนาด 4 ช่องจราจร โดยไม่มีเกาะกลาง

จุดเริ่มต้นโครงการอยู่ที่สี่แยกบางกะปิ ฝั่งตรงข้ามห้างโลตัส แล้วมุ่งไปทางทิศใต้ตามแนวถนนพ่วงศิริ ข้ามคลองแสนแสบ มาตัดผ่านถนนรามคำแหงบริเวณแยกสวนสน จากนั้นตัดเข้าสู่ซอยรามคำแหง 60 ข้ามคลองหัวหมาก มาสิ้นสุดที่ถนนกรุงเทพกรีฑา

โครงการนี้ จากการประเมินของที่ปรึกษาคาดว่าจะใช้เงินลงทุนประมาณ 250 ล้านบาท มีค่าเวนคืนประมาณ 140 ล้านบาท เพื่อชดเชยค่าสิ่งปลูกสร้างจำนวน 30 หลัง และที่ดิน 7 ไร่ ขณะที่มีค่าก่อสร้าง 110 ล้านบาท

และ 3.โครงการปรับปรุงซอยลาดพร้าว 130 เชื่อมต่อกับถนนหัวหมาก เป็นถนนขนาด 4 ช่องจราจรแบบไม่มีเกาะกลาง พร้อมสะพานข้ามแยกขนาด 2 ช่องจราจร 1 แห่งบริเวณจุดตัดกับถนนรามคำแหง ระยะทางประมาณ 2.4 กิโลเมตร

แนวเส้นทางจะใช้แนวซอยลาดพร้าว 130 เยื้องโรงพยาบาลเวชธานี แล้วข้ามคลองแสนแสบ จากนั้นตัดเข้าสู่ซอยรามคำแหง 81 ข้ามถนนรามคำแหง แล้วมาเชื่อมต่อกับซอยรามคำแหง 30/1 โดยใช้แนวเส้นทางของถนนเดิม และต่อขยายถนนไปบรรจบกับถนนหัวหมากซึ่งคาดว่าจะใช้เงินลงทุนประมาณ

620 ล้านบาท เป็นค่าเวนคืน 220 ล้านบาท มีสิ่งปลูกสร้างจำนวน 142 หลัง และที่ดินประมาณ 7.4 ไร่ ค่าก่อสร้าง 400 ล้านบาท

โดยผลการศึกษาจะจบสิ้นปีนี้ จากนั้น กทม.จะเสนอแผนให้ผู้บริหารพิจารณาเพื่อจัดสรรงบประมาณมาก่อสร้างต่อไป

สำหรับกำหนดแล้วเสร็จ คาดว่าจะใช้เวลาก่อสร้างอย่างน้อย 2-3 ปี นับจากวันเริ่มตอกเสาเข็มต้นแรก
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 25-07-2556 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.