| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 114 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 22-07-2556    อ่าน 1554
 ปลดล็อกคอนโด-ตึกสูงตจว. โอนท้องถิ่นอนุมัติEIA 400โครงการปักธงรอ

เสนอบอร์ดสิ่งแวดล้อมกระจายอำนาจอนุมัติรายงาน EIA ให้จังหวัด จัดทำ "คู่มือมาตรฐาน" ชงผู้ว่าฯนั่งประธานพิจารณา จับตาปล่อยผีคอนโดฯต่างจังหวัดขึ้นตึกสูง ยักษ์พัฒนาที่ดินเฮ สอดรับแผนผุดโครงการพรึ่บทั่วประเทศ เผยเฉลี่ยรอนาน 6-10 เดือน เสนอกระชับเวลาไม่ควรเกิน 3 เดือน-ตีกรอบไม่ให้เกิดปัญหาสองมาตรฐาน

นายสันติ บุญประคับ เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า เร็ว ๆ นี้จะเสนอให้คณะกรรมการ (บอร์ด) สิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พิจารณาแนวทางปฏิบัติการขออนุมัติรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม หรืออีไอเอ ในส่วนของโครงการคอนโดมิเนียม ตามที่ สผ.เตรียมจะปรับวิธีการดำเนินการใหม่ เพื่อให้การพิจารณาอนุมัติเกิดความรวดเร็วมากขึ้น

คอนโดฯขอ EIA 400 โครงการ

เนื่องจากปัจจุบันมีคอนโดมิเนียมยื่นขออีไอเอจำนวนมาก จากเดิมปีละ 170 โครงการ ปัจจุบันสถิติอยู่ที่ปีละ 300-400 โครงการ แนวทางใหม่คือจะกระจายอำนาจการอนุมัติอีไอเอไปยังคณะกรรมการระดับจังหวัดเป็นผู้พิจารณาอนุมัติ ทั้งโครงการโลว์ไรส์ สูงไม่เกิน 8 ชั้น รวมถึงอาคารขนาดใหญ่และขนาดใหญ่พิเศษพื้นที่เกิน 10,000 ตารางเมตรขึ้นไป ไม่ให้การขออนุมัติอีไอเอกระจุกตัวอยู่ที่กรุงเทพฯอย่างเดียว

มี 2 แนวทางเสนอให้บอร์ดพิจารณา 1.ทำคู่มือประกอบการพิจารณาอีไอเอให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ทั้งฝ่ายผู้ประกอบการและคณะกรรมการผู้ชำนาญการฯ (คชก.) ซึ่งมี 40-50 ข้อที่คณะกรรมการส่วนกลางในกรุงเทพฯเคยใช้อนุมัติ ใช้เป็นแนวทางให้หน่วยงานอนุญาตก่อสร้างโครงการ เช่น สำนักงานเขต หน่วยงานท้องถิ่น นำไปพิจารณา หากเอกชนเสนอมาครบตามรายการที่ระบุไว้ในคู่มือก็สามารถอนุมัติได้



ชง "ผู้ว่าฯ" นั่งประธานจังหวัด

2. เสนอขอให้กระจายอำนาจอนุมัติโครงการให้คณะกรรมการผู้ชำนาญการฯทุกจังหวัดพิจารณาอนุมัติ มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน พร้อมแนบคู่มือนี้ไปด้วยเพื่อเป็นแนวทางหรือไกด์ไลน์การพิจารณาต่อไป เนื่องจากปัจจุบันมีโครงการตกค้างอยู่ในการพิจารณาของ สผ.จำนวนมาก ให้การพิจารณาอนุมัติเร็วขึ้น

"การอนุมัติจะอยู่ภายใต้กรอบเวลา 105 วันเหมือนเดิม หรืออาจเร็วขึ้นกว่านี้ก็ได้ หากเอกชนจัดทำรายงานครบสมบูรณ์ก็อาจจะร่นเวลาได้เร็วขึ้นเหลือ 75 วัน ถ้าทำรายงานแล้วผ่านในรอบแรกโดยไม่ต้องปรับแก้ไขเลย เพราะโครงการของเอกชนมีกำหนดเวลาชัดเจน ไม่เหมือนกับโครงการรัฐ เพียงแต่เราปรับวิธีการทำงานให้รวดเร็วขึ้น กระจายอำนาจให้ท้องถิ่นมาช่วยพิจารณา เพราะต่อไปถ้าโครงการ 2 ล้านล้านบาทออกมา จะทำให้งาน สผ.ยิ่งมากขึ้นอีก"

จัดทำ "คู่มือมาตรฐาน"

นายสันติกล่าวต่อว่า ทาง สผ.จะทำ "คู่มือมาตรฐาน" เป็นแนวทางพิจารณาให้ทางท้องถิ่นดูเป็นต้นแบบ เนื่องจากการจัดทำรายงานจะมีลักษณะคล้าย ๆ กัน ส่วนใหญ่เป็นมาตรการที่ระบุไว้ในเงื่อนไขที่จะต้องทำอีไอเอ และตามความเห็นของคณะกรรมการผู้ชำนาญการฯที่เคยผ่านการอนุมัติมาก่อนหน้านี้อยู่แล้ว เช่น การจัดทำวิเคราะห์ผลกระทบด้านอากาศ เสียง การบำบัดน้ำเสีย การจราจร การจัดเก็บขยะ ที่จอดรถ พื้นที่สีเขียว เป็นต้น

"จะทำเป็นข้อ ๆ ให้ท้องถิ่นนำไปใช้เป็นแนวทาง หากโครงการไหนทำครบตามที่กำหนดไว้ก็อนุมัติได้เลย แต่อยู่ที่ดุลพินิจจังหวัดด้วยว่าจะให้เพิ่มเติมอะไรหรือไม่ แต่มั่นใจว่าทำให้การพิจารณาเร็วขึ้น"

นายสันติกล่าวอีกว่า เมื่อบอร์ดสิ่งแวดล้อมเห็นชอบแล้ว สามารถออกเป็นประกาศแนบท้ายในกฎกระทรวง ไม่ต้องไปแก้ไขกฎกระทรวงเพิ่มเติมแต่อย่างใด

ชี้รอเหงือกแห้ง 6-10 เดือน

นายพิเชษฐ ศุภกิจจานุสันติ์ กรรมการบริหาร บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเม้นท์จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ถือเป็นเรื่องดีที่ สผ.จะกระจายอำนาจพิจารณารายงานอีไอเอให้จังหวัด แต่มีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมคือ

1) อยากเห็นการปรับลดกระบวนการพิจารณาให้สั้นลง ปัจจุบันกฎหมายกำหนดใช้เวลารวมไม่เกิน 105 วัน แต่ที่ผ่านมาพบว่ามีโครงการที่ไม่ต้องปรับปรุงอะไรเลยน้อยมาก ส่วนใหญ่ต้องกลับมาแก้ไข 1-2 ครั้ง บางโครงการ 3-4 ครั้ง กินเวลา 8-10 เดือนกว่าได้รับอนุมัติ 2) ให้ สผ.เข้มงวดติดตามผลว่าผู้ประกอบการนำรายละเอียดในรายงานอีไอเอไปปฏิบัติด้วยหรือไม่

แหล่งข่าวจากกลุ่มบริษัท ควอลิตี้ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ปัจจุบันบริษัทใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 6 เดือนกว่าจะได้รับอนุมัติรายงานอีไอเอ ถือว่าค่อนข้างนาน ปัญหาที่พบหลังจากแก้ไขรายงานอีไอเอรอบแรกแล้วส่งกลับไปพิจารณารอบที่ 2 บางครั้งมีเรื่องที่ต้องแก้ไขเพิ่มเติมจากครั้งแรก รวมถึงบางเรื่องที่ถูกคอมเมนต์ก็สุดวิสัย เช่น บดบังแสงแดด-ทิศทางลมอาคารข้างเคียง เป็นต้น

ปัจจุบันบริษัทมีโครงการอยู่ระหว่างพิจารณาอีไอเอ 2 โครงการ เตรียมเปิดตัวครึ่งปีหลังคือ เดอะทรัสต์ คอนโด นครปฐม และเดอะทรัสต์ คอนโด อมตะ จ.ชลบุรี แก้ไขรอบแรกแล้ว รอพิจารณารอบ 2

ศุภาลัยดีใจรัฐเดินมาถูกทาง

นายไตรเตชะ ตั้งมติธรรม กรรมการบริหาร บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า หาก สผ.กระจายอำนาจให้แต่ละจังหวัดพิจารณารายงานอีไอเอคอนโดฯเอง มีความเป็นห่วงเรื่องการถ่ายทอดองค์ความรู้หลักเกณฑ์การพิจารณา เพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกันในทุกจังหวัด

หาก สผ.จัดทำคู่มือประกอบการพิจารณา เพื่อให้แต่ละจังหวัดนำไปใช้เป็นเครื่องมือเช็กลิสต์ เช่น เรื่องมาตรการบำบัดน้ำเสีย มาตรการลดเสียงรบกวน พื้นที่สีเขียวในโครงการ ฯลฯ ถือเป็นเรื่องดี เพราะเป็นสิ่งที่เรียกร้องขอความชัดเจนมาโดยตลอด

ทั้งนี้ครึ่งปีแรก ศุภาลัยเปิดตัวคอนโดฯในต่างจังหวัดที่หาดใหญ่และพัทยาแล้ว 2 โครงการ ส่วนครึ่งปีหลังจะเปิดตัวอีก 3 โครงการ ที่สรุปแล้วคือเชียงใหม่และภูเก็ต

แสนสิริเล็งแผนผุดคอนโดฯ

แหล่งข่าวจากบริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า เห็นด้วยที่ สผ.จะกระจายอำนาจให้แต่ละจังหวัดเป็นผู้พิจารณา เพราะที่ผ่านมามีปริมาณงานกระจุกตัวค่อนข้างเยอะ เฉพาะที่ต้องเข้าคิวเพื่อรอนำอีไอเอเข้าที่ประชุม คชก. ก็ใช้เวลาเฉลี่ย 30-45 วัน ถ้าคณะกรรมการมีมติให้กลับมาแก้ไข 1-2 ครั้ง เบ็ดเสร็จใช้เวลาเฉลี่ย 4-6 เดือน โดยเวลาที่เหมาะสมคือไม่เกิน 3 เดือน

"ถ้ารายงานอีไอเอพิจารณาได้เร็ว ก็คงมีผลต่อการวางแผนเปิดตัวคอนโดฯต่างจังหวัดในปีหน้าเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน"

แหล่งข่าวกล่าวด้วยว่า ปี 2556 แสนสิริเปิดตัวคอนโดฯ เฉพาะแบรนด์ดีคอนโดกว่า 10 โครงการ ในจำนวนนี้ประมาณ 50% อยู่ในต่างจังหวัด หากการพิจารณารายงานอีไอเอคอนโดฯในต่างจังหวัดเร็ว จะส่งผลให้บริษัทส่งมอบห้องชุดให้ลูกค้าได้เร็วขึ้นด้วย
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 22-07-2556 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.