| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 78 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 02-07-2556    อ่าน 1531
 ครบ2ปีร.ฟ.ท.เล็งรื้อตลาดนัดจตุจักรอีกรอบ รีโนเวตเน้นสะอาด-ทันสมัยจ้องขึ้นค่าเช่า27โซน10,000แผงค้า

การรถไฟฯเร่งปรับโฉมตลาดนัดจตุจักรใหม่ หลังใกล้ครบวาระ 2 ปีที่รับมาบริหารเอง เฟสแรกทุ่ม 97 ล้าน รื้อท่อระบายน้ำ-ปูกระเบื้องถนนภายในภายนอกโครงการ ดีเดย์ ก.ค.นี้ เปิดประมูลหา ผู้รับเหมา ส่วนเฟสที่ 2 เทเพิ่ม 120 ล้าน รีโนเวตใหญ่หลังคา เน้นสูงโปร่งโล่ง ติดตั้งพัดลมไอน้ำระบายอากาศ ควบคู่เสนอบอร์ดปรับค่าเช่าแผงอีก 157 บาท เล็งตั้งบริษัทลูกบริหารกิจการตลาด เผยมี 4 โมเดล การรถไฟฯถือหุ้น 100% หรือดึงเอกชนร่วมลงทุน เตรียมสรุปเสนอ ครม.ปูอนุมัติปี"57

นายจรัสพันธ์ วัชโรทัย ผู้อำนวยการฝ่ายเดินรถ การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ในฐานะผู้อำนวยการตลาดนัดสวนจตุจักร เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ตามที่การรถไฟฯมีแผนจะพัฒนาและปรับปรุงตลาดนัดสวนจตุจักรใหม่ด้วยงบประมาณกว่า 200 ล้านบาท ขณะนี้ได้ออกแบบรูปแบบโครงการปรับปรุงตลาดนัดจตุจักรโฉมใหม่เสร็จแล้ว

เฟสแรก-ปรับเล็ก 97 ล้าน

ในระยะแรกเป็นการปรับปรุงระบบสาธารณูปโภคและระบบโครงสร้างพื้นฐานภายในโครงการ คาดว่าจะใช้งบประมาณ 97 ล้านบาท ซึ่งได้ปรับลดลงมาจากเดิมที่ตั้งไว้ 114 ล้านบาท แต่หลังจากออกแบบเสร็จแล้ว ทำให้วงเงินก่อสร้างลดลงมาได้ โดยจะประกาศเปิดประมูลด้วยระบบอีออกชั่นภายในเดือนกรกฎาคมนี้ ตามแผนคาดว่าเริ่มดำเนินการภายในเดือนกันยายนเป็นต้นไป หลังจากได้ผู้รับเหมาก่อสร้างแล้ว มีกำหนดให้แล้วเสร็จใน 90 วัน หรือประมาณต้นปี 2557





"เวลาปรับปรุงจะไม่ปิดตลาด จะมีระบบท่อระบายน้ำไม่ให้น้ำท่วมเวลาฝนตกหนัก ระบบระบายอากาศ ปูพื้นถนนโดยรอบตลาดและภายในซอยโครงการด้วยกระเบื้อง มีลวดลายตรงบริเวณทางเดินทั้งหมดให้เกิดความสวยงาม มีสีสันน่าเดินมากขึ้น รวมทั้งติดตั้งป้ายบอกทางตามร้านค้าโซนต่าง ๆ ด้วยสีและสัญลักษณ์ให้ชัดเจนและจดจำง่าย เพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยว"

เฟสสอง-ปรับใหญ่ 120 ล้าน

นายจรัสพันธ์กล่าวอีกว่า หลังจากนั้นในปี 2557 มีแผนปรับปรุงตลาดเฟสที่ 2 ได้รับงบประมาณแล้ววงเงิน 120 ล้านบาท โดยจะปรับปรุงประตูทางเข้าใหม่ 3 ด้าน ได้แก่ ด้านถนนกำแพงเพชร 2 ถนนกำแพงเพชร 3 และถนนพหลโยธิน ให้เป็นแลนด์มาร์ก เพื่อให้หาง่ายขึ้น

นอกจากนี้จะปรับปรุงพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอาคาร ทั้งโครงสร้างหลังคาให้ดูโปร่งโล่ง ไม่ทึบอับเหมือนเดิมที่โครงสร้างหลังคาจะเตี้ย ติดตั้งพัดลมไอน้ำเพื่อระบายอากาศภายในแต่ละโครงการไม่ให้อากาศร้อนอบอ้าว พร้อมทั้งปรับปรุงระบบสายไฟฟ้าและรั้วใหม่ทั้งหมด คาดว่าจะใช้เวลาดำเนินการประมาณ 6 เดือน น่าจะเริ่มได้ประมาณกลางปีหน้า เนื่องจากปัจจุบันยังไม่ได้จ้างที่ปรึกษามาออกแบบและเปิดประมูลก่อสร้าง

"เหตุผลที่ต้องปรับปรุงเพราะอาคารและโครงสร้างทรุดโทรมมาก ผ่านการใช้งานมาร่วม 30 ปี แต่เราจะยังคงคอนเซ็ปต์ตลาดเป็นตลาดโอเพ่นแอร์และเป็นอาคารชั้นเดียวเหมือนเดิม เพราะนี่คือเสน่ห์ของตลาดนัดสวนจตุจักรที่คนรู้จักไปทั่วโลก แต่เราจะพยายามปรับปรุงให้ดูดีขึ้น เพิ่มความสะดวกสบายให้กับผู้ค้าและผู้มาเดินซื้อของ โดยจะไม่มีการรื้อและสร้างเป็นตึกสูงแน่นอน"

เล็งตั้งบริษัทลูกบริหารตลาด

นายจรัสพันธ์กล่าวอีกว่า หลังจากที่ปรับโฉมตลาดใหม่เสร็จแล้ว การรถไฟฯมีแผนจัดตั้งบริษัทลูกมาบริหารกิจการตลาดนัดสวนจตุจักรแทนการรถไฟฯ โดยได้จ้างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศึกษารายละเอียดโครงการ และมีข้อเสนอจัดตั้ง 4 โมเดล เช่น การรถไฟฯถือหุ้น 100% เหมือนโครงการแอร์พอร์ตลิงก์ หรือถือหุ้นร่วมกับเอกชน เป็นต้น ส่วนจะเลือกโมเดลไหนต้องพิจารณาหลายองค์ประกอบ เช่น แผนการเงิน แผนธุรกิจ อัตราค่าเช่า ผลตอบแทนต่าง ๆ

"บอร์ดการรถไฟฯได้อนุมัติในหลักการแล้ว ส่วนโมเดลไหนจะมีความเป็นไปได้มากที่สุด คาดว่าจะได้ข้อสรุปภายในปี 2557 นี้ เพื่อนำเสนอให้สภาพัฒน์ กระทรวงการคลัง กระทรวงคมนาคม และคณะรัฐมนตรี พิจารณาอนุมัติต่อไป"

นายจรัสพันธ์กล่าวถึงผลการดำเนินงานด้วยว่า การรถไฟฯสามารถทำรายได้จากการบริหารตลาดได้มากกว่า กทม.ที่เคยบริหารมาก่อนหน้านี้ โดยสามารถจัดเก็บรายได้เฉลี่ย 40 ล้านบาทต่อเดือน หรือปีละกว่า 400 ล้านบาท ขณะที่ กทม.จ่ายค่าเช่าให้การรถไฟฯเพียงปีละ 24 ล้านบาทเท่านั้น

อย่างไรก็ตามยังมีค่าใช้จ่ายต่าง ๆ อีกประมาณ 13 ล้านบาท เป็นค่าจ้างบริษัทภายนอกมาดำเนินการ โดยทำสัญญาจ้างระยะสั้น เช่น พนักงานทำความสะอาด พนักงานรักษาความปลอดภัย และการจัดการจราจร เป็นต้น ที่ผ่านมาได้ดูแลความปลอดภัยลูกค้าและผู้ค้าในตลาด โดยได้ติดตั้งระบบกล้องวงจรปิด (CCTV) จำนวน 80 ตัว ตามจุดต่าง ๆ เพื่อป้องกันมิจฉาชีพ

ชงบอร์ดขึ้นค่าเช่า 157 บาท

นายจรัสพันธ์กล่าวอีกว่า หลังจากปรับปรุงตลาดเสร็จและในเดือนมีนาคม 2557 จะครบ 2 ปีที่การรถไฟฯได้เข้ามาบริหารจัดการตลาดต่อจากกรุงเทพมหานคร (กทม.) ทางการรถไฟฯจะมีการพิจารณาปรับอัตราค่าเช่าแผงค้ากว่า 10,000 แผงค้าใหม่ แยกเป็นแผงค้ามีเลขทะเบียนประมาณ 8,780 แผงค้า จากทั้งหมด 27 โซน ส่วนที่เหลือเป็นแผงค้าที่ไม่มีเลขทะเบียน คาดว่าจะเสนอคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟฯพิจารณาในเดือนกรกฎาคมนี้

นอกจากนี้จะมีการปรับระยะเวลาการทำสัญญาเช่าใหม่จากเดิม 2 ปี ขยายเวลาเป็น 3-5 ปี เพื่อให้ผู้ค้าเกิดความมั่นใจมากขึ้น ทั้งนี้มั่นใจว่าค่าเช่าที่ปรับใหม่ยังถูกกว่าราคาที่เจ้าของแผงค้านำไปปล่อยเช่าที่ปัจจุบันเฉลี่ยอยู่ที่ 8,000-20,000 บาทต่อแผงต่อเดือน ขึ้นอยู่กับทำเล

แหล่งข่าวจากการรถไฟฯกล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันการรถไฟฯเก็บค่าเช่าแผงอยู่ที่ 3,157 บาทต่อแผงต่อเดือน ไม่รวมภาษีโรงเรือนอัตรา 12.5% ต่อปี สำหรับอัตราค่าเช่าใหม่ของตลาดนัดสวนจตุจักรที่จะเสนอให้บอร์ดการรถไฟฯพิจารณาในเดือนกรกฎาคมนี้ จะมีทั้งยึดอัตราเดิมที่ 3,157 บาทต่อแผงต่อเดือน เพื่อลดผลกระทบต่อผู้ค้าในตลาด กับอัตราใหม่ที่ปรับขึ้นโดยใช้ฐานราคาเดิมเป็นตัวตั้ง

โดยจะปรับขึ้นขั้นต่ำอยู่ที่ 5% เป็นไปตามระเบียบของการรถไฟฯที่ต้องปรับทุก ๆ 3 ปี หากเป็นไปตามนี้อัตราค่าเช่าแผงค้าใหม่จะเพิ่มขึ้นประมาณ 157 บาท จากปัจจุบัน 3,157 บาทต่อแผงต่อเดือน ค่าเช่าใหม่จะเพิ่มเป็น 3,314 บาทต่อแผงค้าต่อเดือน
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 02-07-2556 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.