| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 104 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 11-06-2556    อ่าน 1496
 เวนคืน3พันล้านสร้างด่วนใหม่ เชื่อมดาวคะนอง-บางขุนเทียน

กทพ.ทุ่ม 1.8 หมื่นล้าน ตัดด่วนสายใหม่ลงภาคใต้ ระยะทาง 9 กม. ขนาด 6 เลน สูง 20 เมตร จากเกาะกลางถนนพระรามที่ 2 เชื่อมด่วน "ดาวคะนอง-วงแหวนตะวันตก" รับการเติบโตกรุงเทพฯ โซนตะวันตก เวนคืน 7 จุด จ่ายค่าชดเชยกว่า 2.7 พันล้าน คาดเริ่มสร้างในปีྲྀ เล็งขยายด่วนบางนา-ชลบุรี ถึงพัทยาใต้อีก 57 กม.รับนักท่องเที่ยวเสริมโลจิสติกส์ท่าเรือแหลมฉบัง

นายอัยยณัฐ ถินอภัย ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ในปี 2557 นี้ จะเสนอแผนการก่อสร้างทางด่วนใหม่สายดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพฯด้านตะวันตก ให้คณะกรรมการ (บอร์ด) กทพ. และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมพิจารณาอนุมัติโครงการต่อไป หลังจากที่ กทพ.ได้ดำเนินการศึกษาโครงการเสร็จเรียบร้อยแล้ว

"ตอนนี้ที่ปรึกษากำลังสรุปภาพรวมโครงการ จะแล้วเสร็จปลายปีนี้ จากนั้นก็จะสามารถนำเสนอให้บอร์ดพิจารณาได้ หากได้รับอนุมัติคาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ในปี 2558 เป็นต้นไป จะใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 2-3 ปี"

นายอัยยณัฐกล่าวอีกว่า สำหรับแนวของทางด่วนสายดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอกตะวันตก จะสร้างเป็นทางยกระดับสูงจากระดับพื้นประมาณ 16-20 เมตร ขนาด 6 ช่องจราจร (ไป-กลับ) ตลอดเส้นทาง

9.35 กิโลเมตร โดยซ้อนทับอยู่บนเกาะกลางถนนพระรามที่ 2 มีจุดเริ่มต้นโครงการอยู่บริเวณจุดเชื่อมต่อกับทางด่วนขั้นที่ 1 (เฉลิมมหานคร) บริเวณดาวคะนอง จากนั้นจะตรงไปตามแนวถนนพระรามที่ 2 จนสิ้นสุดที่ทางแยกต่างระดับบางขุนเทียน (ถนนวงแหวนรอบนอกตะวันตก)

"จะใช้เงินลงทุนประมาณ 18,646 ล้านบาท แยกเป็นก่อสร้าง 15,869 ล้านบาท และค่าเวนคืนที่ดิน 2,776 ล้านบาท ซึ่งจะมีเวนคืนที่ดินบริเวณที่จะต้องก่อสร้างทางแยกต่างระดับ 2 แห่ง และทางขึ้น-ลงบนถนนพระรามที่ 2 อีกจำนวน 5 แห่ง"



นายอัยยณัฐกล่าวอีกว่า ทางด่วนเส้นนี้จะเป็นโครงข่ายแก้ปัญหาการจราจรติดขัดเส้นทางที่จะลงสู่ภาคใต้ โดยเฉพาะบนถนนพระรามที่ 2 ที่ปัจจุบันค่อนข้างหนาแน่น เนื่องจากเมืองมีการขยายตัวเพิ่มมากขึ้น ซึ่งโครงการนี้จะให้อัตราผลตอบแทนด้านเศรษฐกิจของโครงการ (EIRR) อยู่ที่ 19.49% นับว่าคุ้มค่าที่จะลงทุนก่อสร้าง

อีกทั้งทำให้ กทพ.มีรายได้เพิ่มจากการจัดเก็บค่าผ่านทางในช่วงปีแรกของการเปิดให้บริการ จากโครงการนี้ประมาณ 344.24 ล้านบาท จากนั้นจะเพิ่มขึ้นทุกปีตามอัตราการเพิ่มขึ้นของปริมาณจราจรที่จะเข้ามาใช้บริการ ส่วนเงินลงทุนอยู่ที่นโยบายกระทรวงจะให้ กทพ.ดำเนินการเองโดยกู้เงินมาก่อสร้าง หรือจะหาเอกชนร่วมลงทุน

นายอัยยณัฐกล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ในปีนี้ กทพ.จะศึกษาความเหมาะสมโครงการต่อขยายทางด่วนสายบางนา-ชลบุรี (บูรพาวิถี) ไปถึงพัทยา เพื่อรองรับการเดินทางในภาคตะวันออกและหัวเมืองท่องเที่ยว ปัจจุบันได้จัดจ้างบริษัทที่ปรึกษามาดำเนินการศึกษาด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจ การเงินและสิ่งแวดล้อมแล้ว เริ่มงานตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2556 นี้เป็นต้นไป จะใช้เวลาดำเนินการทั้งหมด 15 เดือน

สำหรับแนวเส้นทางโครงการจะสร้างเป็นทางด่วนระดับพื้นดินขนาด 6 ช่องจราจร มีจุดเริ่มต้นบริเวณด่านชลบุรี แล้วมุ่งหน้าไปทางทิศใต้ตามแนวถนนสุขุมวิท ผ่าน อ.เมืองชลบุรี อ.ศรีราชา แหลมฉบัง

เพื่อเชื่อมกับท่าเรือแหลมฉบัง จากนั้นจะผ่าน อ.บางละมุง มาบรรจบกับทางหลวงหมายเลข 3 (ถนนสุขุมวิท) บริเวณถนนพัทยาใต้ รวมระยะทาง 57 กิโลเมตร

เนื่องจากปัจจุบันการเดินทางและขนส่งสินค้าระหว่างกรุงเทพฯและพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกมีแนวโน้มสูงขึ้นมาก เนื่องจากเป็นแหล่งที่ตั้งของนิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่หลายแห่ง รวมทั้งมีท่าเรือแหลมฉบังที่เป็นประตูการนำเข้าและส่งออกสินค้าหลักของประเทศ โดยการขนส่งสินค้าเข้าออกท่าเรือแหลมฉบังในปัจจุบันจะใช้รูปแบบรถยนต์เป็นหลักถึง 89% จำเป็นต้องเพิ่มโครงข่ายการขนส่งทางถนนมารองรับ
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 11-06-2556 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.