| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 82 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 24-05-2556    อ่าน 1582
 อ่านละเอียดที่นี่!! เปิดทุกโครงการลงทุน 2 ล้าน ล. พลิกโฉมไทยแลนด์ 2020

7 ปีนับจากนี้ (2556-2563) ประเทศไทยจะมีการลงทุนครั้งประวัติศาสตร์ด้านระบบโครงสร้างพื้นฐานภายใต้ พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท ที่ "รัฐบาลเพื่อไทย" กำลังเร่งผลักดันให้ผ่านสภาผู้แทนราษฎร

ภาพประกอบ thailand-realestate.com
โจทย์ใหญ่ไม่ใช่เพียงแค่ต้องการต่อยอดนโยบายหาเสียงของรัฐบาลเพื่อไทยให้กลายเป็นจริงโดยเร็วทั้งรถไฟฟ้า10สายรถไฟความเร็วสูง รถไฟทางคู่ ฯลฯ หากแต่เพื่อควบคุมต้นทุน "โลจิสติกส์" ที่นับวันยิ่งสูงขึ้น ตัวที่สูงสุดคือถนน มีต้นทุนอยู่ที่ 1.72 บาท/ตัน/กิโลเมตร สูงกว่ารถไฟ 0.93 บาท/ตัน/กิโลเมตร และขนส่งทางน้ำ 0.64 บาท/ตัน/กิโลเมตร

ไม่นับรวมต้นทุนด้านพลังงานที่สูญเสียไปถึง 700,000 ล้านบาทต่อปี จากราคาน้ำมันแพงขึ้นทุกวัน ทั้งยังเป็นการสร้างโอกาสและความเจริญสู่ท้องถิ่นทุ่มลงทุนระบบราง 1.65 ล้านล้าน

ไฮไลต์แผนลงทุนที่จะพลิกโฉมประเทศไทย รัฐบาลทุ่มเม็ดเงินไปกับ "ระบบราง" มากที่สุดถึง 82.94% หรือกว่า 1.658 ล้านล้านบาท รองลงมา "ด้านถนน" 14.47% กว่า 289,482 ล้านบาท ตามด้วย "ทางน้ำ" 29,819 ล้านบาท เมื่อจำแนกรายสาขาจะพบว่า "ระบบราง" ดังกล่าวเป็นโครงการรับผิดชอบของ 2 หน่วยงานหลัก "การรถไฟแห่งประเทศไทย" (ร.ฟ.ท.) และ "การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย" (รฟม.)

สำหรับ ร.ฟ.ท.ได้รับจัดสรรเงินลงทุนมากสุด 63.63% หรือประมาณ 1,272,669 ล้านบาท เริ่มจากงาน "แผนระยะเร่งด่วน" เงินลงทุนรวม 134,176 ล้านบาท ได้แก่ เสริมความมั่นคงโครงสร้าง 406 ล้านบาท เปลี่ยนหรือเสริมความมั่นคงสะพานชำรุด 11,388 ล้านบาท ติดตั้งรั้วสองข้างทางแนวรถไฟ 3,430 ล้านบาท ติดตั้งเครื่องกั้นถนนเสมอระดับ-ปรับปรุงเครื่องกั้น 4,368 ล้านบาท ปรับปรุงระบบอาณัติสัญญาณไฟสีทั่วประเทศ 7,281 ล้านบาท ติดตั้งระบบโครงข่ายโทรคมนาคม 2,152 ล้านบาท

ผุดรถไฟทางคู่ เฟสแรก 5 สาย

โครงการรถไฟ "ทางคู่" 5 สาย ได้แก่ สายลพบุรี-ปากน้ำโพ 148 กิโลเมตร วงเงิน 16,215 ล้านบาท สายมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ 132 กิโลเมตร 21,196 ล้านบาท สายถนนจิระ-ขอนแก่น 185 กิโลเมตร 29,221 ล้านบาท สายนครปฐม-หัวหิน 165 กิโลเมตร 20,833 ล้านบาท และสายประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร 167 กิโลเมตร 17,683 ล้านบาท

ต่อมาเป็นโครงการ "ทางรถไฟสายใหม่" 3 สาย วงเงินรวม 123,927 ล้านบาท คือ สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ระยะทาง 326 กิโลเมตร วงเงิน 77,275 ล้านบาท สายบ้านไผ่-นครพนม ระยะทาง 347 กิโลเมตร วงเงิน 42,106 ล้านบาท และสายบ้านภาชี-อ.นครหลวง ระยะทาง 23 กิโลเมตร วงเงิน 4,546 ล้านบาท

นอกจากนี้มีรถไฟทางคู่ระยะที่ 2 มี 6 สาย วงเงินรวม 144,110 ล้านบาท ได้แก่ สายหัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ 90 กิโลเมตร วงเงิน 9,555 ล้านบาท สายชุมพร-สุราษฎร์ธานี 167 กิโลเมตร 17,640 ล้านบาท สายสุราษฎร์ธานี-ปาดังเบซาร์ 339 กิโลเมตร 35,700 ล้านบาทสายปากน้ำโพ-เด่นชัย ระยะทาง 285 กิโลเมตร วงเงิน 30,070 ล้านบาท สายขอนแก่น-หนองคาย 174 กิโลเมตร วงเงิน 18,585 ล้านบาท และสายจิระ-อุบลราชธานี 309 กิโลเมตร วงเงิน 32,560 ล้านบาท ไฮสปีดเทรน 7.8 แสนล้าน

ถัดมาเป็นโครงการ "รถไฟความเร็วสูง" 4 สายทาง วงเงินลงทุนรวม 783,229 ล้านบาท ประกอบด้วย 1.สายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระยะทาง 745 กิโลเมตร วงเงิน 387,821 ล้านบาท เฟสแรกช่วงกรุงเทพฯ-พิษณุโลก 382 กิโลเมตร วงเงิน 204,221 ล้านบาท และช่วงพิษณุโลก-เชียงใหม่ 363 กิโลเมตร 183,600 ล้านบาท 2.สายกรุงเทพฯ-หนองคาย ระยะทาง 615 กิโลเมตร ลงทุน 170,450 ล้านบาท เฟสแรกกรุงเทพฯ-นครราชสีมา 256 กิโลเมตร 140,855 ล้านบาท

3.สายกรุงเทพฯ-ปาดังเบซาร์ 982 กิโลเมตร 124,327 ล้านบาท เฟสแรกหัวหิน ระยะทาง 225 กิโลเมตร 123,798 ล้านบาท วงเงินที่เหลือเป็นค่าศึกษาโครงการต่อขยายจากหัวหิน-ปาดังเบซาร์ และ 4.สายต่อขยายจากสนามบินสุวรรณภูมิ (แอร์พอร์ตลิงก์) ไปชลบุรี-พัทยา-ระยอง ระยะทาง 221 กิโลเมตร วงเงิน 100,631 ล้านบาทต่อสายสีแดง-เชื่อม 2 สนามบิน

ขณะที่โครงการรถไฟฟ้าในส่วนของ ร.ฟ.ท. ได้แก่ สายสีแดงอ่อน ช่วง "บางซื่อ-มักกะสัน-หัวหมากและช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง" วงเงิน 38,469 ล้านบาท สายสีแดงเข้ม ช่วง "รังสิต-ธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต" วงเงิน 5,412 ล้านบาท

ส่วนต่อสายแอร์พอร์ตลิงก์จากพญาไท-บางซื่อ-ดอนเมือง 28,574 ล้านบาท สายสีแดงอ่อนช่วง "ตลิ่งชัน-ศิริราช" 7,527 ล้านบาท และจัดหาระบบรถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อนช่วง "บางซื่อ-ตลิ่งชัน" 6,243 ล้านบาท แถมด้วย "งานก่อสร้างโรงรถจักรแห่งใหม่ อ.แก่งคอย" วงเงิน 1,000 ล้านบาท
สานต่อรถไฟฟ้า 3.8 แสนล้าน(คลิกอ่านต่อกดด้านล่าง)
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 24-05-2556 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.