| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 126 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 16-05-2556    อ่าน 1584
 วัสดุขึ้นยกแผงคอนกรีต-เสาเข็มอ่วม! ตลาดวัสดุ ปูนซีเมนต์ดอดขึ้นราคาสองรอบ

จับกระแสตลาดวัสดุ ปูนซีเมนต์ดอดขึ้นราคาสองรอบรวม 400 บาท/ตัน ตั้งแต่ช่วงเมษายน-พฤษภาคม ส่วน "หิน-ทราย-ลวดอัดแรง" แห่ปรับราคาตามยกแผง กลุ่มคอนกรีต-เสาเข็มอั้นไม่อยู่ขยับราคาเป็นลูกโซ่ ชี้ราคาเหล็กก่อสร้างยังทรงตัว

นายชัยฤทธิ์ วศินสมบัติ นายกสมาคมอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์คอนกรีตไทย เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า แนวโน้มความต้องการใช้วัสดุก่อสร้างสำหรับโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐและการลงทุนพัฒนาโครงการของผู้ประกอบการเอกชนในช่วงที่ผ่านมา ทำให้สินค้าวัสดุหลักอย่างน้อย 4 รายการ นำโดยปูนซีเมนต์ ลวดอัดแรง หิน ทราย ทยอยขอปรับราคา โดยปรับขึ้นราคาไปแล้วประมาณ 10%

ปูนซีเมนต์จุดพลุขึ้นราคา

เริ่มจากสินค้าปูนซีเมนต์เป็นตัวจุดประกาย โดยทางผู้ผลิตเกือบทุกรายได้ขอปรับราคาขายเพิ่มรอบแรกเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา จากราคา 2,000 บาท/ตัน เพิ่ม 200 บาทเป็น 2,200 บาท/ตัน และจะขอปรับราคาอีกรอบในเดือนพฤษภาคมนี้ โดยจะเพิ่มอีก 200 บาท/ตัน ถ้าหากปรับได้ตามที่แจ้งมาเท่ากับปูนซีเมนต์จะมีราคา 2,400 บาท/ตัน

"ปูนเป็นสินค้าควบคุม แต่ราคาเพดานของกรมการค้าภายในตันละ 2,590 บาท ทุกวันนี้ยังต่ำกว่าราคาควบคุม ดังนั้นวิธีการขึ้นราคาปูนก็คือดึงส่วนลดที่ให้เอเย่นต์กลับคืนไป ทำให้ราคาขยับเข้าไปใกล้ราคาควบคุมมากขึ้น"

นายชัยฤทธิ์กล่าวว่า ผลกระทบจากปูนขึ้นราคา ทำให้วัสดุก่อสร้างเกี่ยวเนื่องอื่น ๆ อีก 3 รายการทยอยปรับราคาตาม ได้แก่

1) ลวดอัดแรง เพิ่มจาก 32,000 บาท/ตันเป็น 33,000 บาท/ตัน เนื่องจากปัจจุบันมีผู้ผลิตเพียงรายเดียวในประเทศไทย ทำให้สินค้ามีไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด

ลวด-หิน-ทรายขยับตาม

2) หิน วัตถุดิบในกระบวนการผลิตคอนกรีตและเสาเข็มเริ่มขาดแคลนอย่างหนัก ส่วนหนึ่งเป็นเพราะดีมานด์สูงแต่โรงโม่เริ่มผลิตไม่ทัน ปัจจุบันราคาขายเพิ่มขึ้น 10-15% แล้วแต่ช่วง โดยราคาขายเพิ่มขึ้นจากตันละ 220 บาท เป็น 250 บาท

3) ทราย เริ่มขาดแคลนตั้งแต่น้ำท่วมปลายปี 2554 เป็นต้นมา ทำให้ผู้ขายปรับราคาขึ้นจาก 200 บาท/ตัน เป็น 220 บาท/ตัน

"สถานการณ์วัสดุก่อสร้างในขณะนี้คือดีมานด์ซัพพลายไม่สมดุล ทำให้ผู้ผลิตถือโอกาสปรับราคาเพิ่ม และกระทบต่อธุรกิจปลายน้ำคือรับเหมาก่อสร้าง ทำให้ต้นทุนเพิ่มอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะต้องเผชิญกับปัญหาวัสดุก่อสร้างขาดแคลนและมีราคาแพง"

นายชัยฤทธ์กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับคอนกรีตผสมและเสาเข็ม เมื่อต้นทุนสูงขึ้นจึงจำเป็นต้องปรับราคาเพิ่มสะท้อนต้นทุนที่แท้จริงในรูปแบบการดึงส่วนลดจากลูกค้าคืนเช่นกัน โดยธุรกิจคอนกรีตผสมเสร็จมีการดึงส่วนลดกลับประมาณ 10% จากที่เคยให้ส่วนลด 30-50% ของราคาตั้งขาย ขณะที่ธุรกิจเสาเข็มมีการดึงส่วนลดกลับ 10-15%

เอเย่นต์แบยอดขายลดลง

นายอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ กรรมการผู้จัดการบริษัทในเครือวงษ์พิทักษ์ ตัวแทนจำหน่ายปูนตราลูกโลก และวัสดุก่อสร้างรายใหญ่ในภาคตะวันตก 8 จังหวัด กล่าวว่า เมื่อวันที่ 5 เมษายนที่ผ่านมา ผู้ผลิตปูนซีเมนต์เกือบทุกรายได้แจ้งซัพพลาย เออร์ขอดึงส่วนลดราคาขายหน้าโรงงานเพิ่มเป็น 200 บาท/ตัน และจะขอปรับราคาอีกภายในเดือนพฤษภาคมนี้ 200 บาท/ตัน หรือ 10 บาท/ถุง แต่การดึงส่วนลดในครั้งที่ 2 ยังไม่สามารถทำได้ เนื่องจากการขึ้นราคารอบแรกทำให้ยอดขายตกลงมา หากขึ้นอีกระลอกเชื่อว่าจะทำให้ผู้บริโภคไม่สามารถรับไหวอย่างแน่นอน

นายอัครเดชกล่าวด้วยว่า ยอดจำหน่ายปูนถุงหรือปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ในช่วงที่ผ่านมาลดลง 10-15% เป็นผลมาจากผู้รับเหมาและผู้บริโภคนิยมหันไปใช้คอนกรีตผสมเสร็จเพิ่มมากขึ้น เพื่อแก้ปัญหาแรงงานขาดแคลน ส่งผลให้ตลาดคอนกรีตผสมเสร็จเติบโตไม่ต่ำกว่า 30% ในขณะนี้

ราคาเหล็กยังไม่ฟื้นตัว

ด้านนายเสนอ ตระกูลสุข กรรมการผู้จัดการ บริษัท ตระกูลสุขค้าวัสดุก่อสร้าง จำกัด เอเย่นต์รายใหญ่ย่านกรุงเทพฯ ตะวันออก กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ถึงสถานการณ์เหล็กเส้นในขณะนี้ว่า ราคาโดยรวมถือว่าไม่ได้ฟื้นตัวตามวัสดุประเภทอื่น ๆ ตรงกันข้าม มีความเป็นไปได้สูงที่ราคาขายในประเทศจะปรับตัวลดลงได้อีก จากราคาเหล็กเส้นมาตรฐาน 19,500 บาท/ตัน ลดลงจากช่วงต้นปี 500 บาท จากเดิมที่มีราคาขาย 21,000 บาท/ตัน

คาดว่ามาจากหลายปัจจัย 1) ความต้องการใช้เหล็กในตลาดโลกยังทรงตัว 2) เงินบาทแข็งค่า เป็นตัวกดดันไม่ให้สามารถปรับราคาขายขึ้นได้ เพราะบริษัทผู้รับเหมาชะลอการสั่งซื้อเนื่องจากมองว่าราคาเหล็กโดยรวมน่าจะปรับตัวลดลงอีก

"งานก่อสร้างในประเทศเยอะมาก แต่ราคาเหล็กไม่ขยับเลย ช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาถือเป็นช่วงตกต่ำที่สุดในประวัติศาสตร์วงการเหล็กก่อสร้างไทย ต้องประเมินสถานการณ์อีกครั้งในช่วงเดือนมิถุนายน"

นายเสนอกล่าวเพิ่มเติมว่า ตัวแปรที่อาจจะส่งผลกระทบต่อวงการเหล็กในประเทศคือการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) เพราะจะทำให้สินค้าจากมาเลเซียและอินโดนีเซียเข้ามาตีตลาดในประเทศ ขณะเดียวกันเวียดนามเองก็กำลังมีการก่อสร้างโรงงานถลุงเหล็กขนาดใหญ่ นอกจากนี้ทาง สปป.ลาวอยู่ระหว่างศึกษาเปิดโรงงานถลุงแร่เหล็กและถ่านหินโดยเป็นการลงทุนจากจีนอีกด้วย
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 16-05-2556 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.