| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 85 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 16-05-2556    อ่าน 1511
 เร่งเวนคืนที่ดินรถไฟฟ้าสายสีเขียว"หมอชิต"

"ชัชชาติ" เร่งรถไฟฟ้าสายสีเขียว "หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต" ชง ครม.ปูไฟเขียว พ.ร.ฎ.เวนคืนที่ดินให้ทันในปีนี้ หลังดีเลย์มานาน เผยมูลค่าลงทุนเพิ่มทั้งค่าเวนคืนพุ่งจาก 2 พันล้าน เป็น 7.6 พันล้าน ตามราคาประเมินที่ดินใหม่ แถมต้นทุนวัตถุดิบ-ค่ารื้อย้ายสะพาน กทม. 3 แห่ง "รัชโยธิน-เสนา-ม.เกษตรฯ" บิ๊ก รฟม.เผยเคลียร์พื้นที่ทับซ้อนกับ กทม.เรียบร้อยแล้ว คาดปลายปี"56 ประกาศเปิดประมูล ตัดแบ่งงานโยธา วงเงินกว่า 2.9 หมื่น เป็น 4 สัญญา

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ได้นำร่างพระราชกฤษฎีกาเวนคืนที่ดินแนวโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยายช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ระยะทางประมาณ 19 กิโลเมตร เสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาอนุมัติออกประกาศในราชกิจจานุเบกษา เพื่อให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) มีอำนาจเข้าไปสำรวจพื้นที่ สำรวจผู้ถูกเวนคืนที่ดินโดยเร็ว

ล่าสุดมอบหมายให้ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) พิจารณารายละเอียดโครงการตามที่ รฟม.เสนอวงเงินลงทุนมา เนื่องจากมีค่าก่อสร้างและเวนคืนที่ดินเพิ่มขึ้นหลังมีการปรับเปลี่ยนจุดที่ตั้งศูนย์ซ่อมบำรุง (เดโป้) มาอยู่ถนนลำลูกกาคลอง 2 เบื้องต้นทราบว่า รฟม.เสนอค่าเวนคืนเพิ่มขึ้นจากเดิมกว่า 2,000 ล้านบาท เพิ่มเป็นกว่า 7,000 ล้านบาท

"ก่อนเสนอ ครม.อนุมัติ จะต้องมีข้อมูลรายละเอียดให้ครบถ้วนมาชี้แจงให้ที่ประชุมฟังว่าทำไมวงเงินถึงเพิ่มขึ้น" นายชัชชาติกล่าว

สารพัดเหตุผลงบฯบาน

นายยงสิทธิ์ โรจน์ศรีกุล ผู้ว่าการ รฟม. เปิดเผยว่า ขณะนี้ รฟม.รอกระทรวงคมนาคมนำโครงการนี้เสนอให้ที่ประชุม ครม.พิจารณา คาดว่าเร็ว ๆ นี้ โดย รฟม.ทำรายละเอียดชี้แจงข้อสงสัยต่าง ๆ ไปหมดแล้ว เนื่องจากวงเงินลงทุนเพิ่มขึ้นจากกว่า 40,000 ล้านบาท เป็นกว่า 58,590 ล้านบาท ประกอบด้วยค่าเวนคืนที่ดินเพิ่มขึ้น เนื่องจากกรมธนารักษ์ปรับราคาประเมินใหม่ กับมีการย้ายจุดสร้างเดโป้ ทำให้ค่าเวนคืนเพิ่มขึ้น

ส่วนค่าก่อสร้างก็เพิ่มขึ้นเนื่องจากราคาเดิมประเมินไว้เมื่อหลายปีก่อน ปัจจุบันมีหลายปัจจัยที่ส่งผลให้ราคาก่อสร้างเพิ่มขึ้น ทั้งราคาวัสดุก่อสร้างปรับตัวสูงขึ้นมาก ยังมีค่ารื้อย้ายงานก่อสร้างสะพานข้ามแยกรัชโยธินจากแนวถนนรัชดาภิเษกมาอยู่แนวถนนพหลโยธินแทน และมีโครงสร้างรถไฟฟ้าอยู่ข้างบน พร้อมก่อสร้างทางลอดใหม่บนแนวถนนรัชดาภิเษก

นอกจากนี้มีการปรับลดระยะทางของสะพานข้ามแยกเกษตรและแยกเสนาด้วย เพื่อให้สร้างสถานีรถไฟฟ้าได้ ทั้งนี้ได้หารือร่วมกับกรุงเทพมหานคร (กทม.) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว และพร้อมจะดำเนินการได้ทันทีหลังจากที่ได้ตัวผู้รับเหมาก่อสร้าง

วางแผนเริ่มเวนคืนปีนี้

นายยงสิทธิ์กล่าวอีกว่า สำหรับรถไฟฟ้าสายสีเขียวช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต วงเงินลงทุนอยู่ใน พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท มีวงเงินลงทุนทั้งโครงการ 58,590 ล้านบาท แยกเป็นค่าจ้างที่ปรึกษา 1,703 ล้านบาท ค่าเวนคืนที่ดิน 7,606 ล้านบาท โดยคาดว่าจะมีผู้ถูกเวนคืนประมาณ 200 กว่าราย ค่าก่อสร้าง 29,225 ล้านบาท และค่างานระบบรถไฟฟ้า 20,055 ล้านบาท

ตามแผนงานจะเริ่มกระบวนการเวนคืนที่ดินปลายปีนี้ เปิดประมูลปลายปี 2556 เริ่มสร้างกลางปี 2557 เปิดบริการกลาง

ปี 2561 จัดหาระบบรถไฟฟ้าประมาณปี 2557 โดยโครงการจะเริ่มใช้เงินกู้ตาม พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท ตั้งแต่ปี 2557-2561

นายยงสิทธิ์กล่าวอีกว่า สำหรับการเปิดประมูลงานโยธา วงเงิน 29,225 ล้านบาท แยกออกเป็น 4 สัญญา มีงานโยธา 2 สัญญาคือ ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่ (รวมรื้อสะพานข้ามแยก 3 แห่ง) ระยะทาง 11.4 กิโลเมตร วงเงินกว่า 12,000 ล้านบาท และช่วงสะพานใหม่-คูคต ระยะทาง 7 กิโลเมตร วงเงินประมาณ 6,000-7,000 ล้านบาท งานระบบ 1 สัญญา และศูนย์ซ่อมบำรุง (เดโป้) 1 สัญญา

เปิดแนวเส้นทาง +16 สถานี

สำหรับแนวเส้นทางโครงการจะก่อสร้างเป็นโครงสร้างยกระดับตลอดเส้นทาง มีจุดเริ่มต้นจากจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอสที่สถานีหมอชิต วิ่งตรงไปตามแนวถนนพหลโยธิน ข้ามทางยกระดับดอนเมืองโทลล์เวย์บริเวณห้าแยกลาดพร้าว ผ่านแยกรัชโยธิน แยก ม.เกษตรศาสตร์

จากนั้นตรงไปจนถึงพหลโยธินซอย 66 แนวเส้นทางจะเบี่ยงออกไปด้านซ้ายไปจนถึงอนุสาวรีย์หลักสี่ จากนั้นถึงจะกลับมาอยู่บนเกาะกลางถนนพหลโยธิน จนสิ้นสุดเขตกองทัพอากาศ แล้วเลี้ยวขวาตัดเข้าถนนลำลูกกา และมาสุดปลายทางที่คูคต บริเวณลำลูกกาคลอง 2

มี 16 สถานี ประกอบด้วย สถานีห้าแยกลาดพร้าว สถานีพหลโยธิน 24 สถานีรัชโยธิน สถานีเสนานิคม สถานีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สถานีกรมป่าไม้ สถานีบางบัว สถานีกรมทหารราบที่ 11 สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ สถานีอนุสาวรีย์หลักสี่ สถานีสายหยุด สถานีสะพานใหม่ สถานีโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช สถานีพิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ สถานี กม.25 และสถานีคูคต
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 16-05-2556 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.