| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 116 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 13-05-2556    อ่าน 1509
 ความเสียหายที่จะเกิดจากผังเมืองใหม่ กทม. พื้นที่ไหนเสี่ยง พื้นที่ไหนรอด?



นายโสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการบริหาร ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส ระบุว่า ตามผังเมืองรวมกรุงเทพมหานครฉบับใหม่เดือนพฤษภาคม 2556 จะสร้างความเสียหายมากมายแก่การพัฒนาเมือง กีดกันคนชั้นกลางและคนชั้นล่าง ไม่ให้อยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ต้องออกไปจังหวัดปริมณฑล ในอนาคตลูกหลานอาจต้องออกไปซื้อบ้านไกลถึงฉะเชิงเทรา ทำให้เมืองขยายตัวอย่างไร้ทิศผิดทาง ไม่สิ้นสุด กลายเป็นอัมพาตไปหมด
ในพื้นที่ใจกลางเมือง สมมติมีที่ดินขนาด 1 ไร่ (400 ตารางวา หรือ 1,600 ตารางเมตร) ในย่านสุขุมวิท ถ้าจะสร้างอาคารในเขตที่อยู่อาศัย ย.9 ได้สูงสุด 7 เท่า หรือ 11,200 ตารางเมตร แต่ทั้งนี้ต้องมีพื้นที่ว่างเท่ากับ 4.5% ของพื้นที่ก่อสร้าง หรือประมาณ 504 ตารางเมตรหรือ 126 ตารางวา ดังนั้นที่ดินประมาณ 31.5% ของ 1 ไร่ต้องเว้นว่างไว้ และโดยที่ครึ่งหนึ่งของ 126 ตารางวานี้ ต้องเป็นพื้นที่ที่น้ำซึมผ่านได้ จะเอามาทำถนน ลานซักล้างไม่ได้ ดังนั้นพื้นที่ของอาคารจริงจึงยิ่งเล็กลงไปใหญ่
แต่สิ่งที่ควรจะเป็นก็คือ เราควรให้ใจกลางเมืองสามารถให้สร้างอาคารขนาดใหญ่ๆ สูงๆ ได้ และให้สามารถเชื่อมต่อกันด้วยรถไฟฟ้าที่ให้คนใช้จ่ายเงินเอง (ไม่ได้เอาภาษีอากรของประชาชนในชนบทมาสร้าง) กลับไม่ให้สร้างอีกต่อไป ต่อไปในซอยสุขุมวิทและซอยอื่นๆ จะไม่อาจสร้างอาคารสูงได้ เมืองก็ลามไปทั่ว เราต้องอยู่กันอย่างแออัดในตึกเตี้ยๆ แทนที่จะขึ้นสูงแล้วเว้นโดยรอบเขียวๆ ในพื้นที่เขตต่อเมือง คือ ที่ดินบริเวณ ย.3 (พื้นที่ที่อยู่อาศัยหมายเลข 3) ที่เป็นสีเหลืองมีพื้นที่รวมถึง 427 ตารางกิโลเมตร คิดเป็น 5% ของพื้นที่อยู่อาศัยทั้งหมด กทม. (เหลือง+ส้ม+น้ำตาล) การสร้างอาคารอยู่อาศัยรวมขนาดพื้นที่ 1,000-1,999 ตารางเมตร ต้องติดถนนสาธารณะที่มีเขตทางกว้างไม่น้อยกว่า 30 เมตร ตามข้อกำหนดตามผังเมืองกทม. ที่ใช้อยู่ตั้งแต่ปี 2549 การสร้างที่อยู่อาศัยรวมที่ไม่ใช่อาคารใหญ่ขนาดพื้นที่ไม่เกิน 1,999 ตารางเมตร ให้แปลงที่ดินติดซอยหรือถนนที่มีเขตทางกว้างไม่น้อยกว่า 10 เมตรเท่านั้น โดยถ้าสร้างไม่เกิน 999 ตารางเมตร ติดถนนที่มีเขตทางกว้างเกิน 6.00 เมตรก็ได้ ในรายละเอียดจะพบว่าที่ดินในซอยต่างๆ ที่อยู่ในบริเวณบริเวณ ย.3 ซึ่งเป็นซอยที่แยกไปจากถนนใหญ่หลายสาย เช่น ถนนสายไหมและซอยแยกทั้งด้านเหนือและด้านใต้ ถนนรามอินทราฝั่งเหนือ สำหรับซอยฝั่งเหนือที่เข้าไป เกิน 1,000 เมตร จากถนนรามอินทรา, ถนนพระราม 9 ช่วงแยกศรีนครินทร์, ถนนซอยอ่อนนุชบางช่วง ถนนศรีนครินทร์บางช่วง ถนนกาญจนาภิเษก (ตะวันออก) ถนนหทัยราษฎร์ ถนนรัตนโกสินทร์สมโภชน์ (สุขาภิบาล 5) ถนนกาญจนาภิเษก (ตะวันตก) บางช่วง และถนนเลียบคลองภาษีเจริญ ตามผังเมืองรวมของกรุงเทพมหานครฉบับใหม่ ที่จะประกาศในเดือนพฤษภาคม 2556 นี้ ทำให้ไม่อาจสร้างอาคารอยู่อาศัยรวมขนาดเล็กพื้นที่ไม่เกิน 1,000-1,999 ตารางเมตรได้เลย เพราะไม่มีซอยใดที่แยกจากถนนดังกล่าวมาแล้วมีความกว้างเกินกว่า 30 เมตร ประชาชนระดับกลาง และระดับล่างล่าง จึงไม่มีโอกาสที่อยู่อาศัยในชานเมืองกรุงเทพมหานครได้ จะต้องเข้ามาซื้อที่อยู่อาศัยในตัวเมืองหรือใกล้สถานีรถไฟฟ้าซึ่งราคาขาย พื้นที่สูงกว่า 2 ถึง 3 เท่าตัว ในเขตชานเมือง ได้แก่ บริเวณ ย.2 (พื้นที่ที่อยู่อาศัย หมายเลข 2) ตามผังเมืองที่จะประกาศใช้ในเดือนพฤษภาคม 2556 ระบุว่า การจัดสรรที่ดินเพื่ออยู่อาศัยประเภทบ้านแถว (ทาวเฮ้าส์) ต้องตั้งอยู่ริมถนนสาธารณะที่เขตทางไม่น้อยกว่า 12 เมตร และที่ดินแปลงละไม่น้อยกว่า 20 ตารางวา การกำหนดนี้กำหนดหยุมหยิมเกินกว่ากฎหมายจัดสรรที่ดินที่กำหนดให้มีขนาด ที่ดินแปลงะ 16 ตารางวาเท่านั้น แสดงว่าประชาชนผู้มีรายได้น้อยหรือรายได้ปานกลางที่จะซื้อที่อยู่อาศัยใน ย่านชานเมือง จะต้องซื้อในราคาที่แพงขึ้น เพราะขนาดต้องใหญ่ขึ้น
แต่ที่สำคัญก็คือในซอยต่างๆ ในเขตชานเมืองนั้น เป็นซอยที่มีขนาดเล็กกว่า 12 เมตร การกำหนดให้ถนนกว้างเข้าไว้นี้ก็เท่ากับพยายามไม่ให้สร้างที่อยู่อาศัย สำหรับผู้มีรายได้น้อยและรายได้ปานกลาง เท่ากับเราสงวนกรุงเทพมหานครไว้สำหรับผู้มีรายได้สูง แล้วผู้มีรายได้น้อยและรายได้ปานกลางก็ต้องระเห็จออกไปอยู่จังหวัดปริมณฑล ทำให้เมืองขยายออกไปไม่สิ้นสุด ในความเป็นจริง ใจกลางเมืองควรให้สร้างสูง ถ้าสร้างอย่างเตี้ยๆ ในพื้นที่ 1 ไร่ (40 คูณ 40 เมตร) หากมีบ้านสลัม 15 หลังคาเรือนก็ถือว่าเป็นชุมชนแออัด แต่หากสร้างสูง เพิ่มความหนาแน่น แต่ลดความแออัด จะจุคนได้ถึง 50-100 ครัวเรือนก็ยังได้ เมืองจะได้ไม่ขยายออกไปรุกที่ชนบท ในเขตชานเมือง ถ้าเราจะสร้างศูนย์ชุมชนเมือง ประชาชนจะได้ไม่เข้ามาซื้อของในเขตใจกลางเมืองโดยไม่จำเป็น เราควรให้สร้างอาคารขนาดใหญ่พิเศษเช่นกัน แต่เรากลับไม่ให้สร้าง การวางผังเมืองที่ผิดเพี้ยนความจริงอย่างนี้ จะสร้างปัญหาอย่างใหญ่หลวงต่อกรุงเทพมหานครและประเทศชาติได้
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 13-05-2556 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.