| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 88 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 13-05-2556    อ่าน 1566
 ชง "ฟลัดเวย์" ยักษ์ 400 กม. 2 บิ๊กก่อสร้างชิงดำ ปากน้ำโพ-แม่กลอง

เปิดโมเดลฟลัดเวย์ 2 บิ๊กคู่ชิงเค้ก 1.53 แสนล้าน "อิตาเลียนไทย" ขีดแนวผันน้ำฝั่ง ตต. 400 กม. เวนคืน 4-5 หมื่นไร่ ขุดคลองใหม่ 120 ม. ถนน 4 เลนจาก "นครสวรรค์-อ่าวไทย" 1.2 แสนล้าน ปิ๊งพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว-เมืองใหม่ "เค.วอเตอร์" ยึดแนวกรมชลฯ ปั้นแหล่งอุตฯ-ท่องเที่ยว โลจิสติกส์เหนือ-ใต้



ผู้สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" รายงานว่า แผนงานประมูลทั้ง 9 โมดูลที่อยู่ในโครงการเพื่อออกแบบและก่อสร้างระบบบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืนและระบบแก้ไขปัญหาอุทกภัยของประเทศไทยมูลค่า 3 แสนล้านบาท ซึ่งคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย (กบอ.) กำลังพิจาณารายละเอียดเอกสารที่เอกชนเสนอแบบประมูล เมื่อ 3 พฤษภาคมที่ผ่านมา น่าจะแล้วเสร็จตามกำหนดช่วงปลายเดือนนี้

โดยเฉพาะโมดูล A5 การจัดทำทางผันน้ำ (Flood Diversion Channel) ขนาด 1,500 ลูกบาศก์เมตร/วินาที ด้านฝั่งตะวันออกและตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา รวมทั้งการก่อสร้างถนนเพื่อรองรับการคมนาคมในฝั่งตะวันตก ซึ่งมีมูลค่าสูงที่สุดในจำนวนแผนงานออกแบบและก่อสร้างระบบบริหารจัดการน้ำทั้ง 9 โมดูล วงเงิน 153,000 ล้านบาท กบอ.กำลังเร่งพิจารณาและให้ความสำคัญเป็นพิเศษ

ขณะเดียวกัน 2 กลุ่มยื่นประมูลออกแบบก่อสร้างทางผันน้ำหรือฟลัดเวย์ คือกลุ่มกิจการร่วมค้าอิตาเลียนไทย-เพาเวอร์ไชน่า และบริษัท โคเรีย วอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น (เค.วอเตอร์) กำลังถูกจับตามองว่ากลุ่มไหนจะคว้างานโครงการนี้ รวมถึงรูปแบบโมเดลการออกแบบจะเป็นรูปแบบใด เนื่องจากเป็นไฮไลต์ของโครงการทั้งหมด และเป็นหัวใจสำคัญที่จะใช้ป้องกันแก้ไขปัญหาน้ำท่วมได้อย่างยั่งยืน

เปิดรายละเอียดทีโออาร์

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าในพื้นที่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ทีโออาร์กำหนดให้ปรับปรุงระบบชลประทานช่วงชัยนาท-ป่าสักให้เต็มแนวเขตคลองเดิม โดยปรับปรุงขุดขยายคลองระพีพัฒน์ คลองสิบสาม คลองรังสิตใต้ คลองพระองค์ไชยานุชิต และคลองอื่น ๆ ที่จำเป็น พร้อมทั้งก่อสร้างอาคารบังคับน้ำให้มีบานระบายน้ำกว้างเท่ากับความกว้างของคลอง เพื่อให้สามารถระบายน้ำจากคลองชัยนาท-ป่าสักลงสู่อ่าวไทยได้ในอัตราการไหลที่ 300-400 ลูกบาศ์กเมตร/วินาที กำหนดให้แล้วเสร็จใน 3 ปี

สำหรับฝั่งตะวันตก กำหนดรับน้ำจากแม่น้ำปิงอยู่เหนือ จ.นครสวรรค์ ลงสู่อ่าวไทย โดยให้ขุดคลองผันน้ำขนาดไม่น้อยกว่า 1,200 ลูกบาศก์เมตร/วินาที ให้แล้วเสร็จใน 5 ปี แบ่งเป็น 2 ช่วง คือช่วงแรก เริ่มจากบริเวณจุดเหนือ จ.นครสรรค์ ไปลงเหนือเขื่อนแม่กลอง ที่ อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี

ช่วงที่ 2 เลือกการขุดคลองผันน้ำด้านฝั่งขวาขนานไปกับคลองส่งน้ำสายใหญ่ฝั่งขวา ลงสู่อ่าวไทยบริเวณ ต.บ้านแหลม อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี โดยทำจุดเชื่อมเพื่อระบายน้ำไปลงที่แม่น้ำท่าจีน หรืออาจพิจารณาแนวทางผันน้ำ โดยระบายน้ำผ่านแม่น้ำแม่กลอง และแม่น้ำท่าจีนลงสู่อ่าวไทย ด้วยการขยายปรับปรุงลำน้ำที่จะใช้ในการระบายน้ำให้สามารถระบายน้ำจากเหนือ จ.นครสวรรค์ ลงอ่าวไทยได้

โดยขุดคลองลัด 3 แห่ง ได้แก่ 1.คลองลัดงิ้วราย ออกวัดไทยาวาส อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม ความยาว 2.5 กิโลเมตร 2.คลองลัดอีแท่น บริเวณวัดหอมเกล็ด ออกท่าตลาด อ.สามพราน จ.นครปฐม ความยาวประมาณ 1.8 กิโลเมตร และ 3.คลองลัดท่าข้าม บริเวณปากคลองข้างวัดท่าข้าม อ.สามพราน จ.นครปฐม ความยาวประมาณ 2.2 กิโลเมตร โดยคลองทั้ง 3 แห่ง ต้องแล้วเสร็จใน 3 ปี

ITD ขีดแนวฝั่ง ตต. 400 กม.

นายเปรมชัย กรรณสูต ประธานบริหารบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า รูปแบบแนวฟลัดเวย์ที่กลุ่มบริษัทออกแบบเป็นไปตามข้อกำหนดในทีโออาร์ และอยู่ในงบฯ 1.53 แสนล้านบาท ที่จะเป็นค่าก่อสร้างและเวนคืนที่ดินทั้งฝั่งตะวันตกและตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา แต่การลงทุนฝั่งตะวันตกจะมีมูลค่ามากกว่าฝั่งตะวันออก เนื่องจากเป็นการตัดแนวใหม่

โดยแนวฝั่งตะวันตกที่บริษัทออกแบบ จะขุดคลองใหม่ขนาดความกว้าง 120 เมตร มีถนนขนาด 4 ช่องจราจรขนาบอยู่ 2 ข้าง ความยาวประมาณ 400 กิโลเมตร ต้องเวนคืนพื้นที่ประมาณ 40,000-50,000 ไร่ ส่วนใหญ่ตัดผ่านที่นา และจำเป็นต้องรื้อย้ายบ้านเรือนเล็กน้อยกระจายตามจุดต่าง ๆ โดยเส้นทางจะรับน้ำจากพื้นที่เหนือ จ.นครสวรรค์ ไล่ลงมาพาดผ่าน จ.อุทัยธานี ชัยนาท สุพรรณบุรี อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี มาออกแม่น้ำแม่กลอง จ.สมุทรสาคร และลงอ่าวไทย

"แนวเราจะคล้าย ๆ กับแนวที่กรม ชลประทานกำลังศึกษาอยู่ แต่แนวที่เราเสนอเป็นการศึกษาและลงพื้นที่เอง ในโมเดลที่เสนอจะมีการพัฒนาที่ดินตลอดสองข้างทางด้วย เพราะมีถนนเกาะไปกับแนวคลอง หลายจุดสามารถพัฒนาเป็นจุดท่องเที่ยว เช่น จุดพักรถ เมืองใหม่ ส่วนการเวนคืนที่ดิน เราเสนอการประเมินราคาเวนคืนและรื้อย้ายพร้อมกับการบริหารจัดการด้วย เช่น จัดที่อยู่ใหม่ให้ เพื่อให้เป็นที่พอใจกันทั้งสองฝ่าย" นายเปรมชัยกล่าวและว่า

ส่วนแนวตะวันออก จะเป็นการขยายคลองเดิมเพื่อให้รับน้ำได้ 300-400 ลูกบาศก์เมตร/วินาที จะรื้อย้ายผู้บุกรุกตามริมคลอง โดยให้ย้ายไปอยู่ในพื้นที่จัดหาให้ ซึ่งได้เสนอไปในแผนงานด้วยเช่นกัน

รื้อ 1 พันหลังเคลียร์แนว ตอ.

แหล่งข่าวจากกลุ่มอิตาเลียนไทย-เพาเวอร์ไชน่าเปิดเผยเพิ่มเติมว่า ทางกลุ่มตั้งความหวังกับโมดูลนี้มาก เพราะเป็นงานใหญ่ที่สุด และได้ลงพื้นที่สำรวจจริงแนวฝั่งตะวันตกแล้ว เนื่องจากเป็นการสร้าง

เส้นทางใหม่ ระยะทางยาวเกือบ 400 กิโลเมตร ใช้เงินก่อสร้างและเวนคืนสูงกว่า 120,000 ล้านบาท แต่เนื่องจากวงเงินมีจำกัด จึงต้องปรับแบบเล็กน้อย ทั้งนี้ ทุกขั้นตอนต้องทำตามเงื่อนไขทีโออาร์

ขณะที่แนวฝั่งตะวันออก เป็นการปรับปรุงขยายคลองเดิม แต่จะมีปัญหาการรื้อย้ายชุมชนที่รุกล้ำลำคลอง ตั้งแต่ช่วงคลองระพีพัฒน์ คลองสิบสามลงมา จากการลงพื้นที่พบว่ามีผู้บุกรุกอยู่กว่า 1,000 หลังคาเรือน บริษัทเสนอให้จัดหาที่ราชพัสดุเพื่อก่อสร้างเป็นแฟลตรองรับผู้บุกรุกดังกล่าว ซึ่งแนวตะวันออกนี้ทางกลุ่มเสนอราคาก่อสร้างและรื้อย้ายประมาณ 30,000 ล้านบาท

เค.วอเตอร์ยึดแนวกรมชลฯ

แหล่งข่าวจากบริษัทเค.วอเตอร์เปิดเผยว่า สำหรับแนวฟลัดเวย์ที่เค.วอเตอร์เสนอ จากที่บริษัทลงพื้นที่ในบางจุด จะขีดแนวจากแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศที่บริษัทซื้อข้อมูลมาประกอบการประเมินวงเงิน ซึ่งอยู่ในงบฯ 153,000 ล้านบาท

"ฝั่งตะวันออก บริษัทลงพื้นที่สำรวจตั้งแต่สนามบินสุวรรณภูมิไล่ขึ้นไปทางตอนเหนือ พบว่ามีผู้บุกรุกริมคลองอยู่จำนวนมาก เช่น คลองพระองค์เจ้าไชยานุชิต เป็นต้น ทั้งหมดเราใช้ข้อมูลเดิมของกรมชลประทานที่เคยศึกษาไว้"

ฝั่ง ตต. 320 กม.เวนคืนหมื่นไร่

แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า ในส่วนของพื้นที่ฝั่งตะวันตก แนวฟลัดเวย์จะใกล้เคียงกับของกรมชลประทานเช่นกัน โดยความยาวของคลองผันน้ำอยู่ที่ 320 กิโลเมตร เงินค่าก่อสร้างและเวนคืนสูงกว่า 100,000 ล้านบาท จะรับน้ำจากเหนือ จ.นครสวรรค์ ลงมายังอ่าวไทย ทั้งนี้ จากที่บริษัทส่งทีมงานลงพื้นที่บริเวณแม่กลอง เพื่อสำรวจและขีดแนวตามทีโออาร์ ได้เสนอเป็นออปชั่นให้ กบอ.เลือกหลายแนวทาง พร้อมให้รายละเอียดว่าแต่ละแนวต้องใช้วงเงินก่อสร้างเท่าใด

"บริษัทพยายามจะให้การเวนคืนที่ดินกระทบประชาชนน้อยที่สุดเพื่อลดแรงต้าน อย่างฝั่งตะวันตก จากการประเมินคร่าว ๆ ต้องเวนคืนประมาณ 10,000 ไร่ ขณะเดียวกันได้เสนอให้มีการพัฒนาพื้นที่โดยรอบแนวฟลัดเวย์ตลอดเส้นทาง ควบคู่การสร้างแนวคลองผันน้ำและถนนด้วย เช่น พัฒนาอุตสาหกรรม แหล่งท่องเที่ยว เส้นทางการคมนาคม และโลจิสติกส์แนวเหนือใต้ตามนโยบายของรัฐบาล โดย

รูปแบบการพัฒนาจะคล้ายกับการพัฒนาโครงการระบบบริหารจัดการน้ำในเกาหลี" แหล่งข่าวกล่าว
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 13-05-2556 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.