| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 129 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 01-05-2556    อ่าน 1507
 สมาคมคอนโด-ตำรวจ...เปิดเวทีผ่าทางตัน วิกฤตแรงงานขาด-ต่างด้าวปัญหาเยอะ

วิกฤตแรงงานก่อสร้างขาดแคลนยังคงเป็นปัญหาใหญ่ของผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ มีแนวโน้มจะพัฒนาเป็นปัญหาเรื้อรัง โจทย์หลักของบริษัทอสังหาฯจึงไม่ใช่แค่ "ขายได้" แต่ต้องหา "แรงงานก่อสร้าง" ให้ได้ด้วย

ล่าสุดสมาคมอาคารชุดไทยได้เป็นโต้โผจัดสัมมนา "วิกฤตแรงงานขาดแคลน ผลกระทบต่ออสังหาริมทรัพย์" เพื่อหาทางออกร่วมกัน โดยมีตัวแทนภาครัฐและตัวแทนตำรวจจากสำนักงานตำรวจตรวจคนเข้าเมืองเข้าร่วม ส่วนในฝั่งผู้ประกอบการมี "อธิป พีชานนท์" นายกกิตติมศักดิ์และที่ปรึกษาสมาคมอาคารชุดไทย ที่เพิ่งรับตำแหน่งนายกสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรรคนใหม่หมาด ๆ

นำเข้าแรงงานบังกลาเทศ

เริ่มต้นจากสภาพปัญหาวิกฤตแรงงานขณะนี้ "สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์" ปลัดกระทรวงแรงงาน ระบุว่า สาเหตุหลักคือ 1) โครงสร้างประชากรที่มีประชากรเกิดใหม่ลดลง 2) การลงทุนอินฟราสตรักเจอร์

ภาครัฐ 3) คนมุ่งทำงานอาชีพอิสระมากขึ้น แต่กระทรวงแรงงานก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ ได้จัดตั้ง "คณะกรรมการจัดการปัญหาขาดแคลนแรงงาน" เพื่อหาแรงงานต่างด้าวถูกกฎหมายเข้าสู่ระบบ

ก่อนหน้านี้กระทรวงแรงงานจึงเปิดให้ผู้ประกอบการแจ้งโควตาความต้องการแรงงานต่างด้าว ปรากฏว่ามีการแจ้งความจำนงไว้ 1.6 ล้านคน นำมาสู่การทำบันทึกข้อตกลง (MOU) ร่วมกับ 3 ประเทศ คือ สหภาพเมียนมาร์ กัมพูชา และ สปป.ลาว เพื่อจัดส่งแรงงานอย่างถูกต้องตามกฎหมายให้กับไทย ซึ่งจะต้อง "เร็ว+ไม่แพง" แต่ในทางปฏิบัติคงมีเพียงสหภาพเมียนมาร์ที่มีความพร้อมจัดส่งแรงงานให้

ล่าสุดจึงได้เชิญ "ทูตบังกลาเทศ" ประจำประเทศไทย เพื่อหารือการนำเข้าแรงงาน อยู่ระหว่างร่างบันทึกข้อตกลงในรูปแบบการเจรจา "จี ทู จี" (รัฐต่อรัฐ) คาดว่าจะลงนามได้ 2-3 เดือนข้างหน้า เพื่อให้

จัดหาแรงงานลอตแรก 50,000 คน แต่เมื่อเข้ามาทำงานแล้วจะต้องทำงานกับนายจ้างคนเดิมเท่านั้น

แก้กฎหมายทำงานข้ามเขต

ส่วนปัญหาแรงงานต่างด้าวที่ลักลอบทำงานโดยผิดกฎหมาย กระทรวงแรงงานได้จัดตั้งศูนย์บริการวันสต็อปเซอร์วิส โดยมีเจ้าหน้าที่จากสถานทูตบริการออกพาสปอร์ตให้กับแรงงาน มีเจ้าหน้าที่จาก ตม.

ออกวีซ่าและใบอนุญาตทำงาน รวมถึงมีเจ้าหน้าที่กระทรวงสาธารณสุขตรวจโรคให้อย่างไรก็ตาม กรณีที่เป็นแรงงานต่างด้าวประเภทชนกลุ่มน้อย (ชนเผ่ากะเหรี่ยง) ซึ่งไม่มีบัตรประจำตัวประชาชนมาตั้งแต่แรก ยอมรับว่าคงยากที่จะขึ้นทะเบียนได้

อีกประเด็นที่เป็นปัญหาคือการให้แรงงานก่อสร้าง สามารถทำงานข้ามเขตที่จดทะเบียน เนื่องจากต้องเปลี่ยนไซต์ก่อสร้างทำงานไปเรื่อย ๆ ปัจจุบันสามารถแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ออกใบอนุญาตว่ามีไซต์ก่อสร้างที่ใดบ้าง และสามารถแจ้งขอแรงงานให้เปลี่ยนไซต์ทำงานข้ามเขตได้

แต่จะต้องมีค่าใช้จ่ายบ้าง อย่างไรก็ตาม กระทรวงแรงงานเตรียมเสนอแก้ไขกฎกระทรวงเพื่อ "ปลดล็อก" ให้แรงงานก่อสร้างทำงานข้ามเขตในจังหวัดที่จดทะเบียนได้ 16 หน่วยงานบี้ไซต์ก่อสร้าง

"อธิป พีชานนท์" เปิดประเด็นว่า ที่ผ่านมาอสังหาฯเจอปัญหาถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจและเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานอื่น ๆ รวมแล้วประมาณ 14-16 หน่วยงาน มาตรวจสอบการจ้างแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย

ผลกระทบคือ ถึงแม้เป็นแรงงานที่ขึ้นทะเบียนถูกต้อง แต่เจ้าหน้าที่ก็จะจับกุมไปสอบสวนก่อนทั้งหมด หากขึ้นทะเบียนถูกต้องจึงค่อยปล่อยตัวกลับมา ทำให้เสียเวลาทำงานไปแล้วครึ่งวัน ประเมินว่า

ปัจจุบันมีสัดส่วนแรงงานต่างด้าวที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนประมาณ 30-40% ของแรงงานต่างด้าวทั้งหมด เนื่องจากมีบางส่วนไม่ต้องการขึ้นทะเบียนเพื่อสะดวกต่อการเปลี่ยนนายจ้าง ข้อเรียกร้องจากภาคอสังหาฯ คือ ขอให้รัฐบาลช่วยจัดหาแรงงานต่างด้าวให้พอเพียง และขอให้ปลดล็อกแรงงานก่อสร้างสามารถทำงานข้ามเขตภายในจังหวัด รวมถึงขอให้กรมพัฒนาฝีมือแรงงานเร่งพัฒนาแรงงานฝีมือโดยผู้ควบคุมรถเครนตอกปั้นจั่นเสาเข็มค่อนข้างขาดแคลน

ชนกลุ่มน้อยขึ้นทะเบียนไม่ได้

"พ.ต.อ.เชิงรณ ริมผดี" ผู้กำกับการฝ่ายยุทธศาสตร์ สำนักงานตำรวจตรวจคนเข้าเมือง (สตม.) ระบุว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นมีแรงงานต่างด้าวบางส่วนยอมทำงานแบบผิดกฎหมายโดยไม่ขึ้นทะเบียน ตัวอย่างเช่น แรงงานกัมพูชาเท่าที่สำรวจควรจะต้องมาลงทะเบียน 9 หมื่นคน แต่มาติดต่อขอออกวีซ่าจริง ๆ เพียง 560 คน ฯลฯ เพราะถ้าจดทะเบียนถูกต้องจะต้องเสียค่าใช้จ่ายและถูกหักเงินใช้หนี้ ส่วนหนึ่งจึงยอมลักลอบทำงานแบบผิดกฎหมาย ทำให้จำนวนแรงงานลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายยังเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ไม่มีหมด

นอกจากนี้ปัญหา "ชนกลุ่มน้อย" ซึ่งรัฐบาลกัมพูชาไม่ออกพาสปอร์ตให้ เนื่องจากเป็นชนกลุ่มน้อยที่ออกนอกประเทศอย่างผิดกฎหมาย ทำให้นายจ้างมีปัญหาในการนำมาขึ้นทะเบียน ผลที่ตามมาคือ ตกเป็นเป้าของการตรวจสอบจับกุมเพื่อป้องกันไม่ให้คนลักลอบเข้าเมืองมาก่อเหตุอาชญากรรมในประเทศ

อย่างไรก็ตาม เพื่อป้องกันผู้แอบอ้างเป็นตำรวจจับกุม แนะนำว่าหากเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจมาตรวจสอบจะต้องแต่งกายในเครื่องแบบ ติดบัตรเจ้าหน้าที่ตำรวจ และมีหมายค้นเท่านั้น อย่าได้หลงเชื่อพวกแอบอ้าง
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 01-05-2556 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.