| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 56 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 01-04-2556    อ่าน 1620
 เบิ่งอสังหาฯเวียงจันทน์ เขตปลอดคอนโด...ทุนนอกบานสะพรั่ง

ช่วงเวลานับถอยหลังสู่การเปิด "เออีซี-ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน" ในปี 2558 ดูเหมือนว่าเส้นทางการทางลงทุนหลายสายกำลังมุ่งมาที่นี่ หากจิ้มไปใน 10 ประเทศอาเซียน "สปป.ลาว" เป็นหนึ่งในประเทศกำลังโตที่น่าสนใจ โดย สปป.ลาว มีประชากรประมาณ 6.7 ล้านคน ในจำนวนนี้ประมาณ 5 แสนคนอยู่ในเมืองหลวง "เวียงจันทน์"

แบตเตอรี่แห่งเอเชีย

ตัวอย่างการลงทุนในแวดวงอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง สปป.ลาว เมื่อเร็ว ๆ นี้

"ดิ เอ็มเพอเร่อร์ เฮ้าส์" บริษัทรับสร้างหรูเพิ่งร่วมทุนกับ "อินทรีกรุ๊ป" นักธุรกิจชาวลาว รุกธุรกิจออกแบบและสร้างบ้าน "เอสซีจี"มีโรงงานผลิตกระเบื้องหลังคาคอนกรีต โรงงานคอนกรีตผสมเสร็จ

ในเวลาเดียวกัน สปป.ลาวได้รับขนานนามว่าเป็น "แบตเตอรี่แห่งเอเชีย" เพราะทรัพยากรธรรมชาติยังสมบูรณ์อยู่มาก

โดยเฉพาะศักยภาพในการผลิตกระแสไฟฟ้าพลังน้ำ ซึ่งทาง "ช.การช่าง" ยักษ์รับเหมาไทยได้รับสัมปทานก่อสร้างเขื่อนน้ำงึม และผลิตกระแสไฟฟ้าส่งกลับมายังผู้ใช้คนไทย

จึงเป็นประเด็นคำถามน่าสนใจว่า ขุมทรัพย์การลงทุน สปป.ลาวน่าสนใจอย่างไร !

ล่าสุด เมื่อเร็ว ๆ นี้ทีมข่าวอสังหาริมทรัพย์ประชาชาติธุรกิจมีโอกาสข้ามฝั่งโขงไปเยือนเมืองเวียงจันทน์ตามคำเชิญของ บมจ.เอเชี่ยน พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์(เอพี) ที่เปิดตัวคอนโดมิเนียมแอสปาย อุดรธานี เจาะกลุ่มลูกค้าไทยและคนลาว

ทุนนอกยึดอสังหาฯเวียงจันทน์

ข้อมูลที่ได้รับจากไกด์สาวชาวลาว "KAYKHAM KHAYKHAMPHITHOUNE" และ "PHAYDAVANH SOMPONGPHANH" ระบุว่า ช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ชาวต่างชาติที่เข้ามาลงทุนเป็นหลัก ได้แก่ นักลงทุนจีน เวียดนาม ไทย เกาหลีใต้ ส่วนใหญ่เข้ามาในธุรกิจที่อยู่อาศัย โรงแรม สถานศึกษา และสร้างเขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้า

ปัจจุบันมีโครงการลงทุนในเวียงจันทน์ที่อยู่ระหว่างดำเนินการ อาทิ โครงการ "โลกใหม่ดอนจันทน์" ของนักลงทุนจากประเทศจีน เท่าที่ทราบมีทั้งห้าง โรงแรม อพาร์ตเมนต์, โครงการ "เวียงจันทน์เมกะมอลล์" เป็นโครงการร่วมทุนของกลุ่มทุนจีน-สิงคโปร์ จะเป็นห้างขนาดใหญ่อยู่ใกล้กับสนามบิน ฯลฯ

โดยก่อนหน้านี้กลุ่มทุนจากจีนได้รับสัมปทานจากรัฐบาล สปป.ลาว เป็นผู้ก่อสร้างและพัฒนาโครงการที่พักอาศัยประมาณกว่า 50 หลังให้กับผู้เข้าร่วมประชุมอาเซม (ประชุมผู้นำเอเชีย-ยุโรป) เมื่อปลายปีที่ผ่านมา ในโอกาสที่ สปป.ลาวเป็นเจ้าภาพ

ที่ดินวาละ 1.5-2 แสนบาท

สำหรับที่ดินใน "เวียงจันทน์" เมืองหลวงของ สปป.ลาวจะตั้งราคาขายเป็น "ตารางเมตร" เหมือนในประเทศไทย หากเป็นที่ดินในย่านใจกลางเมือง ราคาแพงหน่อยจะอยู่ในละแวก "ประตูชัย" ที่เป็นแลนด์มาร์กของเมืองเวียงจันทน์ มีราคาซื้อขายประมาณคิดเป็นเงินไทยประมาณ 1.5-2 แสนบาทบวกลบ ใกล้เคียงกับราคาที่ดินตามแนวถนนจรัญสนิทวงศ์ที่อยู่ระหว่างก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน

ทั้งนี้ สปป.ลาว มีหมู่บ้านจัดสรรแต่ยังไม่มีคอนโดมิเนียม แน่นอนว่าหมู่บ้านจัดสรรถือเป็นที่อยู่อาศัยของคนที่มีฐานะดี

ส่วนคนที่ฐานะปานกลาง-ค่อนข้างดีจะอยู่ตึกแถว 3-4 ชั้น ราคาตึกแถวในเมืองเวียงจันทน์ขนาดประมาณ 18-20 ตารางวา

หากอยู่ในย่านชุมชนสามารถค้าขายได้ มีราคาซื้อขายอยู่ประมาณหลังละ 2-3 ล้านบาท

อาจเป็นเพราะในเมืองเวียงจันทน์มีกฎหมายควบคุมความสูงอาคาร หากเป็นเขตตัวเมืองห้ามก่อสร้างอาคารสูงเกินกว่า 7 ชั้น หรือสูงเกินกว่า "ประตูชัย" ส่วนพื้นที่นอกตัวเมืองห้ามก่อสร้างอาคารสูงเกินกว่า 14 ชั้น

ต่างชาติเช่าที่ดิน 60 ปี

สำหรับการลงทุนอสังหาฯในเวียงจันทน์ หากเป็นที่ดินของรัฐบาลจะต้องเช่าที่ดินและขอสัมปทานการลงทุนจากภาครัฐ เพราะกฎหมาย สปป.ลาวไม่อนุญาตให้ต่างชาติครอบครองกรรมสิทธิ์ที่ดิน

โดยสามารถเช่าที่ดินได้นานสูงสุด 60 ปี ส่วนถ้าเป็นที่ดินของเอกชนสามารถร่วมทุนทำโครงการได้โดยไม่ต้องขอสัมปทาน แต่จะต้องเสนอแผนพัฒนาโครงการเพื่อยื่นขออนุญาตก่อสร้างกับกระทรวงแถลงข่าวและวัฒนธรรม สปป.ลาว

จากผลสำรวจในตัวเมืองเวียงจันทน์ไม่ไกลจากย่านประตูชัย มีกลุ่มทุนสิงคโปร์ที่ได้รับสัมปทานพัฒนาโครงการ "ตลาดเช้ามอลล์" เป็นห้างเปิดใหม่ ส่วนใหญ่ขายสินค้าจำพวกเสื้อผ้าและสินค้าอิเล็กทรอนิกส์จากประเทศไทยและจีน โดยในความคิดของคน สปป.ลาว ถือว่าสินค้านำเข้าจากประเทศไทยเป็นสินค้าที่มีคุณภาพดีกว่าสินค้าจากจีนและเวียดนาม

ขณะเดียวกันก็มีราคาค่อนข้างสูง อาทิ วัสดุก่อสร้างนำเข้าจากประเทศไทย รถมอเตอร์ไซค์ที่ผลิตจากประเทศไทย ฯลฯ

"ดิ เอ็มเพอเร่อร์" รุกสร้างบ้าน

ในด้านสภาพสังคมและสภาพความเป็นอยู่ของคนเวียงจันทน์ มีคำกล่าวว่า คนลาวที่รวย ๆ ก็รวยมาก ส่วนคนจนก็มีจำนวนไม่น้อย โดยมีข้อมูลว่าคนรวย

ใน สปป.ลาวส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มคนที่มีสายสัมพันธ์ดีกับรัฐบาลจึงได้รับสัมปทานทำธุรกิจ เช่น สัมปทานลอตเตอรี่ สัมปทานรับเหมาก่อสร้าง ฯลฯ

ด้านความเคลื่อนไหวการลงทุน เมื่อเร็ว ๆ นี้บริษัทรับสร้างบ้านหรูของไทย แบรนด์ "ดิ เอ็มเพอเร่อร์ เฮ้าส์" ได้ร่วมทุนกับ "อินทรีกรุ๊ป" ผู้ประกอบธุรกิจรับเหมาก่อสร้างใน สปป.ลาว เข้าไปรุกตลาดรับออกแบบและก่อสร้างบ้านหรูใน สปป.ลาว

ก่อนหน้านี้ ดิ เอ็มเพอเร่อร์ เฮ้าส์ เพิ่งจะรับงานออกแบบและควบคุมงานก่อสร้างบ้านหรู คิดเป็นมูลค่างานประมาณ 5 ล้านบาท โดยเมื่อนำไปก่อสร้างบ้านจะมีราคาประมาณ 70 ล้านบาท รวมถึงได้รับงานออกแบบบ้านเศรษฐีลาวหลังหนึ่งในเมืองจำปาศักดิ์ วงเงินค่าก่อสร้างประมาณ 50-60 ล้านบาท

ลาวปรับเพิ่ม "รัฐสวัสดิการ"

"มโนธรรม เพชรแสงศิริ" รองกรรมการผู้จัดการ "อินทรีกรุ๊ป" ในฐานะผู้ร่วมทุนกับ บจ.ดิ เอ็มเพอเร่อร์ เฮ้าส์ ระบุว่า ขณะนี้รัฐบาล สปป.ลาวมีนโยบายปรับขึ้นเงินเดือนข้าราชการ ทำให้ประชากรมีรายได้ดีขึ้น โดยข้าราชการปริญญาตรีจบใหม่จะมีเงินเดือนประมาณ 8,000 บาท ไม่รวมสวัสดิการอื่น ๆ ทำให้เศรษฐกิจดีลาวดีขึ้น

ขณะเดียวกันก็มีชาวต่างชาติสนใจเข้ามาลงทุนต่อเนื่อง เช่น ธุรกิจธนาคาร ทำให้เกิดการขอสินเชื่อกู้เงิน จากเดิมที่ซื้อขายด้วยเงินสดทั้งหมด ฯลฯ

"หมู่บ้านจัดสรรใน สปป.ลาวก็มี ถ้าเป็นบ้านระดับไฮเอนด์ คิดเป็นเงินไทยก็เริ่มต้น 10 ล้านบาทขึ้นไป ส่วนคนที่รวยจริง ๆ มักจะปลูกสร้างบ้านเอง และนิยมบ้านสไตล์คลาสสิกเหมือนที่ดิ

เอ็มเพอเร่อร์ เฮ้าส์ ชำนาญ ขณะนี้มีลูกค้าชาวลาวที่อยู่ระหว่างพูดคุยกัน ต้องการจะปลูกสร้างบ้านหลังใหญ่ขนาดประมาณ 2 พันตารางเมตร"

เป็นความเคลื่อนไหวของโอกาสการลงทุนใน สปป.ลาว แม้ว่าจำนวนประชากรไม่ได้มากเมื่อเทียบกับไทย แต่ก็เป็นประเทศที่เศรษฐกิจกำลังขยายตัวอย่างมีนัยสำคัญทีเดียว
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 01-04-2556 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.