| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 44 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 20-03-2556    อ่าน 1628
 แอร์พอร์ตลิงก์อ่วม-2ปียังขาดทุนบานเบอะ เงินเกลี้ยงกระเป๋าขอ215ล้าน/ปีต่อลมหายใจพนักงาน400ชีวิต

ครบ 2 ปี "แอร์พอร์ตลิงก์" ใต้ปีกการรถไฟฯ ปัญหายังวนอยู่ในอ่าง-ขาดสภาพคล่อง รถ 9 ขบวนถึงคิวซ่อมใหญ่ หลังวิ่งครบ 1 ล้านกิโลเมตร คาดใช้เงินอีกหลาย 100 ล้าน ชงบอร์ดขอจ่ายค่าจ้างเดินรถรายปี 215 ล้านบาท เป็นเงินทุนหมุนเวียน-จ่ายเงินเดือนพนักงานกว่า 400 ชีวิต จี้เจรจาคลังขอเงิน 5 พันล้าน ซื้อรถใหม่เพิ่ม 7 ขบวน รับผู้โดยสารเพิ่มขึ้นปีละ 5-10%



นายจำรูญ ตั้งไพศาลกิจ ประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.จำกัด ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าเชื่อมสนามบินสุวรรรณภูมิ หรือแอร์พอร์ตเรลลิงก์ เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์เปิดให้บริการครบ 2 ปีแล้ว ผลดำเนินงานของบริษัทดีพอสมควร ปัจจุบันปริมาณผู้โดยสารเพิ่มขึ้นประมาณ 7% อยู่ที่ 40,000-50,000 เที่ยวคน/วัน สัดส่วน 95% เป็นผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าสายธรรมดา (City Line) อีก 5% เป็นสายรถด่วน (Express Line) คิดเป็นรายได้ประมาณ 40 ล้านบาท/เดือน ปีนี้คาดว่าจะเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 5-10%



ขอค่าจ้างเดินรถปีละ 215 ล้าน

"ปัญหาที่ผ่านมาของแอร์พอร์ตลิงก์ไม่มีความคล่องตัว เพราะทุกอย่างขึ้นอยู่กับการรถไฟฯ ซึ่งเป็นบริษัทแม่ ไม่ว่าจะเป็นการจัดซื้อจัดจ้าง รายได้จากค่าโดยสาร ค่าพัฒนาเชิงพาณิชย์บนสถานีและป้ายโฆษณา



แอร์พอร์ตลิงก์เป็นเพียงผู้รับจ้างเดินรถไฟฟ้าได้ค่าจ้างเป็นรายเดือนเท่านั้น ประมาณ 14.5 ล้านบาท สำหรับนำมาจ่ายเงินเดือนพนักงานกว่า 400 คน ค่าน้ำ ค่าไฟ ซึ่งเราก็พออยู่ได้"



นายจำรูญกล่าวว่า จากคาดการณ์ยอดผู้ใช้บริการจะเพิ่มขึ้น ทำให้บริษัทต้องเร่งสะสางปัญหาอีกหลายประเด็นให้เสร็จโดยเร็ว โดยเฉพาะการเพิ่มสภาพคล่องบริษัท เนื่องจากปัจจุบันขาดกระแสเงินสดหมุนเวียน เนื่องจากเงินทุนหมุนเวียน 140 ล้านบาท นำมาเป็นค่าใช้จ่ายภายในบริษัทหมดแล้ว โดยอยู่ระหว่างจะขออนุมัติจากคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟแห่งประเทศไทย เพื่ออนุมัติค่าจ้างเดินรถเป็นรายปี เฉลี่ยปีละ 215 ล้านบาท เพื่อให้เกิดความคล่องตัว จากเดิมการรถไฟฯจ่ายค่าจ้างให้บริษัทเป็นรายเดือน เฉลี่ย 14.5 ล้านบาท/เดือน กว่าจะเบิกเงินมาใช้จ่ายได้แต่ละเดือน จะต้องผ่านกระบวนการหลายขั้นตอนและใช้เวลานาน



รถ 9 ขบวนวิ่งครบ 1 ล้าน กม.

"เดิมคณะรัฐมนตรีอนุมัติเงินทุนหมุนเวียนให้บริษัท 2,000 กว่าล้านบาท มาใช้จ่ายภายใน 5 ปี โดยให้กระทรวงการคลังเป็นผู้จ่ายให้การรถไฟฯ และให้บริษัทมากู้ต่อ ที่ผ่านมาอนุมัติมาแล้วก้อนแรก 140 ล้านบาท ใกล้จะหมดแล้ว เหลืออีก 1,860 ล้านบาท ซึ่งบริษัทได้ยื่นขออนุมัติไป 420 ล้านบาท และเสนอให้บริษัทกู้กับกระทรวงการคลังได้โดยตรง แต่ต้องแบ่งแยกหนี้สินและทรัพย์สินกับการรถไฟฯให้ชัดเจนก่อน



ตอนนี้เรื่องคาราคาซังอยู่ ตรงนี้ทำให้บริษัทขาดเงินทุนหมุนเวียน ต้องให้การรถไฟฯจ่ายค่าจ้างเดินรถเป็นรายปีแทน เพราะได้เงินทั้งก้อนมาบริหารจัดการ"



นายจำรูญกล่าวอีกว่า นอกจากนี้ต้องเร่งจัดซื้ออะไหล่เพื่อมาซ่อมบำรุงขบวนรถไฟฟ้าทั้ง 9 ขบวนที่จะครบกำหนดซ่อมบำรุงครั้งใหญ่เมื่อวิ่งครบ 1 ล้านกิโลเมตร ล่าสุดอยู่ระหว่างประเมินค่าใช้จ่าย คาดว่าจะใช้เงินหลาย 100 ล้านบาท

"รถที่วิ่งให้บริการตอนนี้จะถึงคิวซ่อมใหญ่ทุกขบวน จะจัดเวลาวิ่งอย่างไร เพื่อไม่ให้กระทบการบริการได้ เพราะไม่มีรถสำรองเลยระหว่างซ่อม อาจจะมีการนำรถขบวน Express Line ที่วิ่งบริการอยู่



2 สาย คือพญาไท-สนามบินสุวรรณภูมิ กับมักกะสัน-สนามบินสุวรรณภูมิ อาจจะยกเลิกบริการ 1 สายทาง เพื่อมาวิ่งเสริมช่วงที่นำรถขบวนอื่น ๆ ซ่อมใหญ่"



โวยทุกอย่างคอขวดที่ "รถไฟฯ"

นายจำรูญกล่าวอีกว่า การจัดซื้อขบวนรถไฟฟ้าเพิ่มอีก 7 ขบวน วงเงินกว่า 5,000 ล้านบาท บริษัทจะต้องเร่งให้การรถไฟฯดำเนินการโดยเร็วเช่นกัน เพื่อให้เพียงพอกับผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้น เป็นการแก้ปัญหาเรื่องความถี่การให้บริการทำได้เร็วขึ้นกว่าเดิมที่อาจจะใช้เวลาประมาณ 15-20 นาที เนื่องจากจำนวนรถมีไม่เพียงพอ จึงทำให้ความถี่ค่อนข้างนาน เมื่อเทียบกับรถไฟฟ้าบีทีเอสและรถไฟฟ้าใต้ดิน



"การซื้อรถใหม่อีก 7 ขบวน บริษัทจะซื้อเองก็ได้ แต่ต้องเคลียร์ทรัพย์สินและหนี้สินกับการรถไฟฯให้จบก่อน ถ้ายังไม่ยุติ การรถไฟฯจะต้องเป็นผู้จัดซื้อให้แทน ล่าสุดรอบอร์ดการรถไฟฯเจรจากับกระทรวงการคลัง เพื่อขอกู้เงินมาซื้อรถไฟฟ้าขบวนใหม่"



นายจำรูญกล่าวอีกว่า ในส่วนที่ทำได้ทันที คือเร่งปรับปรุงระบบฟีดเดอร์ เพื่อให้เข้าถึงแต่ละสถานีได้ง่ายขึ้น ทั้งหมดจะแล้วเสร็จภายในสิ้นปีนี้ เช่น สถานีมักกะสันในเร็ว ๆ นี้จะเปิดให้เข้า-ออกบริเวณถนนจตุรทิศได้ ปัจจุบันอยู่ระหว่างขออนุญาตกรุงเทพมหานคร (กทม.) เพื่อเชื่อมทางเข้าด้วยกัน รวมถึงแลมป์ที่จะเชื่อมสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินเข้าสถานีมักกะสัน เป็นต้น



"ที่ผ่านมามีปัญหาล่าช้า เนื่องจากทุกอย่างต้องอยู่ภายใต้การดูแลของการรถไฟฯทั้งหมด ทำให้ต้องใช้เวลาดำเนินการนาน เพราะมีขั้นตอนและระเบียบมากมาย" นายจำรูญกล่าวย้ำ
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 20-03-2556 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.