| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 107 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 14-03-2556    อ่าน 1641
 ประมูล ที่ดิน สนง.ทรัพย์สินฯ 88 ไร่ พระรามสี่-วิทยุเจอโจทย์หิน คุมความสูง

ประมูล ที่ดิน สนง.ทรัพย์สินฯ 88 ไร่ พระรามสี่-วิทยุเจอโจทย์หิน คุมความสูงไม่เกิน 45 เมตร เอกชนคิดหนักนำเสนอรูปแบบพัฒนาโปรเจ็กต์ให้คุ้มทุน เผยบอร์ดผังเมืองชี้เปิดทางใช้ประโยชน์ที่ดินเต็มพิกัดแล้ว เมินผ่อนปรนข้อกำหนดให้ เผยเบื้องลึก "เซ็นทรัล" ถอดใจ พับ "เซ็นทรัล อิน เดอะ พาร์ค"

การเปิดประมูลที่ดิน 88 ไร่ บริเวณโรงเรียนเตรียมทหารเดิม โดยให้เช่าระยะยาว 30 ปีและต่ออายุสัญญาเช่าได้อีก 30 ปี ของบริษัททุนลดาวัลย์ ในเครือสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ได้รับความสนใจจากบริษัทพัฒนาที่ดินยักษ์ใหญ่หลายราย ทั้ง บมจ.แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ บจ.ซิตี้ เรียลตี้ ของตระกูลโสภณพนิช รวมทั้ง บจ.ที.ซี.ซี.แลนด์ ของตระกูลสิริวัฒนภักดี ขณะที่กลุ่มเซ็นทรัลซึ่งเคยได้สิทธิพัฒนาที่ดิน 40 ไร่ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่ดิน 88 ไร่ที่ถูกนำออกประมูลให้เอกชนยื่นข้อเสนอรูปแบบการพัฒนาใหม่อีกครั้งหนึ่ง ถูกจับตาว่าจะเข้าร่วมประมูลอีกหรือไม่

แหล่งข่าวจากสำนักงาน ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ที่ดินที่นำออกประมูลใหม่ 88 ไร่นั้น ได้รวมที่ดินเนื้อที่ 40 ไร่ ซึ่งเดิมเซ็นทรัลเคยได้สิทธิพัฒนาไว้ในแปลงเดียวกันด้วย สาเหตุที่นำออกประมูลใหม่เป็นเพราะสถานการณ์เปลี่ยนแปลงไป ก่อนหน้านี้สำนักงานทรัพย์สินฯพยายามส่งมอบที่ดินให้เซ็นทรัล แต่เนื่องจากติดปัญหามีการฟ้องร้องกับผู้เช่าเดิม คือ บจ.พี.คอน.

ดี เวลลอปเม้นท์ (ไทย) ผู้พัฒนาโครงการสวนลุมไนท์บาซาร์ กว่าจะได้รับมอบพื้นที่คืน เวลาก็ล่วงเลยมาเป็นเวลานาน ประกอบกับเซ็นทรัลขอยกเลิกข้อตกลง (MOU) ที่ทำไว้ร่วมกัน จึงนำที่ดินทั้งแปลงจำนวน 88 ไร่ ออกเปิดประมูลให้เช่าใหม่ อย่างไรก็ตามถ้ากลุ่มเซ็นทรัลยังต้องการได้ที่ดินผืนนี้ก็สามารถเข้าร่วม ประมูลได้อีก

เหตุผลลึก ๆ ที่เซ็นทรัลขอยกเลิก MOU มาจากการส่งมอบพื้นที่ล่าช้า ทำให้การพัฒนาที่ดิน 40 ไร่ไม่คืบหน้า ขณะเดียวกันก่อนหน้านี้ เซ็นทรัลได้ทุ่มเม็ดเงิน 3 พันล้านบาท ประมูลซื้อที่ดิน 9 ไร่ของ

สถานทูตอังกฤษ พัฒนาศูนย์การค้าระดับไฮเอนด์แบรนด์ใหม่ เซ็นทรัล เอ็มบาสซี มูลค่าลงทุนรวมสูงถึง 1 หมื่นล้านบาท อาจมีส่วนสำคัญทำให้ความต้องการพัฒนาโครงการดังกล่าวลดน้อยลง ประกอบกับปัจจุบันที่ดินบริเวณโรงเรียนเตรียมทหารเดิม ยังติดข้อกำหนดผังเมืองที่กำหนดให้ก่อสร้างอาคารสูงได้ไม่เกิน 45 เมตร ขณะที่เดิมเซ็นทรัลวางแผนพัฒนาโครงการในที่ดินโรงเรียนเตรียมทหารเดิมมีขนาด ความสูงอาคารสูงถึง 76 ชั้น หรือกว่า 200 เมตร ตั้งเป้าให้เป็นอาคารที่สูงที่สุดในประเทศไทย ภายใต้ชื่อโครงการ Central In The Park ทั้งนี้ ประเด็นข้อกำหนดผังเมืองควบคุมความสูงในการก่อสร้างอาคาร จะทำให้ผู้ประกอบการที่ต้องการประมูลเช่าที่ดินผืนดังกล่าวครั้งใหม่ ต้องวางแผนพัฒนาให้สอดคล้องกับผังเมืองรวม กทม.ด้วย มิฉะนั้นอาจประสบปัญหา

ด้าน แหล่งข่าวจากกรมโยธาธิการและผังเมืองเปิดเผยว่า ก่อนหน้าที่สำนักงานทรัพย์สินฯจะนำที่ดิน 88 ไร่ ่ออกประมูล ใหม่ได้ทำเรื่องถึงสำนักผังเมือง กรุงเทพมหานคร ขอปรับเปลี่ยนสีผังเมืองที่ดินบริเวณนี้ใหม่ ให้สอดรับกับสภาพพื้นที่ในปัจจุบัน โดยขอปรับปรุงผังเมืองรวมบริเวณนี้ทั้งบริเวณ มีอยู่ประมาณ 554 ไร่ ติดถนนวิทยุ และถนนพระรามที่ 4 ซึ่งรวมที่ดินโรงเรียนเตรียมทหารเดิมเนื้อที่ 127 ไร่ด้วย เป็นพื้นที่สีแดง หรือที่ดินประเภทพาณิชยกรรม "พ.5" ทั้ง 554 ไร่ จากที่ผังเมืองรวมฉบับปัจจุบันกำหนดเป็นพื้นที่สีแดง หรือที่ดินประเภทพาณิชยกรรม "พ.3" และพื้นที่สีน้ำตาล หรือที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก "ย.10" แต่คณะกรรมการผังเมืองแห่งชาติไม่ได้อนุมัติตามคำร้องขอ โดยให้คงใช้ข้อกำหนดตามผังเมืองรวมเดิม

นายเกรียงพล พัฒนรัฐ ผู้อำนวยการสำนักผังเมือง กทม. เปิดเผยว่า ที่ดินแปลงโรงเรียนเตรียมทหารเดิมในผังเมืองรวม กทม.ฉบับใหม่ ที่จะประกาศบังคับใช้ในวันที่ 15 พฤษภาคม 2556 นี้ ยังคงกำหนด

ให้ เป็นพื้นที่สีแดง หรือพาณิชยกรรม "พ.3" ในบริเวณห่างจากริมถนนพระรามที่ 4 เข้าไปประมาณ 200 เมตร และสีน้ำตาล หรือที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก "ย.10" ในบริเวณถัดจากพื้นที่ "พ.3" ไป

โดยพื้นที่ "พ.3" ในข้อกำหนดผังเมืองรวมฉบับใหม่นี้ ห้ามสร้างที่อยู่อาศัยรวม อาคารพาณิชยกรรม อาคารสำนักงาน มีพื้นที่เกิน 10,000 ตร.ม. ยกเว้นอยู่ในเขตทางกว้างไม่น้อยกว่า 30 เมตร หรืออยู่ในรัศมี 500 เมตรจากสถานีรถไฟฟ้า ส่วนโรงแรมห้ามสร้างเกิน 80 ห้อง ยกเว้นอยู่ในเขตทางกว้างไม่น้อยกว่า 16 เมตร หรือในรัศมี 500 เมตรจากสถานีรถไฟฟ้า และกำหนด FAR (อัตราส่วนพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดิน) ไว้ที่ 7:1 และ OSR (อัตราส่วนของที่ว่างต่อพื้นที่อาคารรวม) ร้อยละ 4.5

ส่วน พื้นที่ "ย.10" ห้ามสร้างอาคารพาณิชยกรรมพื้นที่ไม่เกิน 10,000 ตร.ม. หากจะสร้างเกินต้องอยู่ในเขตทางกว้างไม่น้อยกว่า 10 เมตร และ 12 เมตร และอยู่ในรัศมี 500 เมตรจากสถานีรถไฟฟ้า ส่วนอาคารสำนักงานห้ามเกิน 10,000 ตร.ม. และโรงแรมเกิน 80 ห้อง หากสร้างเกินต้องอยู่ในเขตทางกว้างไม่น้อยกว่า 10 เมตร หรืออยู่ในรัศมี 500 เมตรจากสถานีรถไฟฟ้า ขณะที่ FAR อยู่ที่ 8:1 และ OSR ที่ร้อยละ 4

ขณะที่ "พ.5" ที่สำนักงานทรัพย์สินฯร้องขอ จะไม่ต่างจากข้อกำหนดในผังเมืองรวมปัจจุบัน จะห้ามสร้างอาคารพาณิชยกรรมและอาคารสำนักงานเกิน 10,000 ตร.ม. เว้นอยู่ในเขตทางกว้างไม่น้อยกว่า 16 เมตร และรัศมี 500 เมตรจากสถานีรถไฟฟ้า ส่วนโรงแรมได้ไม่เกิน 80 ห้อง แต่สามารถได้สิทธิพัฒนาได้มากขึ้น โดยได้ FAR อยู่ที่ 10:1 และ OSR อยู่ที่ร้อยละ 3

"ที่ดินบริเวณนี้ติดเรื่องความสูงที่ห้ามสร้าง อาคารสูงเกิน 45 เมตร หรือไม่เกิน 15 ชั้น เพราะอยู่ในเขตพื้นที่โดยรอบสวนเบญจกิติ ซึ่ง กทม.อยู่ระหว่างปรับปรุงแก้ไขข้อบัญญัติฉบับนี้ จะยกเลิกคุมความสูงอยู่ระหว่างบรรจุเข้าสู่ที่ประชุมสภา กทม. ยังไม่ทราบว่าจะมีผลบังคับใช้ได้เมื่อไหร่ แต่ถึงจะยกเลิกคุมความสูงแล้ว แต่ยังมีกฎหมายผังเมืองและกฎหมายควบคุมอาคารที่คุมการก่อสร้างบริเวณนี้

อยู่เช่นกัน ไม่ได้ปล่อยให้สร้างได้เต็มที่เสียทีเดียว" ผู้อำนวยการสำนักผังเมืองกล่าว
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 14-03-2556 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.