| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 67 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 14-03-2556    อ่าน 1750
 ที่ดินเช่า "อุเทนถวาย" 21 ไร่ เผือกร้อนก้อนโตในมือ "จุฬาฯ"

ไม่ บ่อยครั้งนักที่สำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย "เอาไม่อยู่" ในการเจรจากับคู่สัญญาเช่าที่ดิน ล่าสุดเป็นคิวของแปลงสัญญาเช่า "มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตอุเทนถวาย" เดือดร้อนไปถึงเจ้าสำนัก "ศ.น.พ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล" อธิการบดี จุฬาฯ ต้องเปิดห้องประชุมในรั้วจามจุรีเพื่อเคลียร์ปัญหานี้ด้วยตนเอง

ร่วมด้วย "รศ.นอ.น.พ.เพิ่มยศ โกศลพันธุ์" รองอธิการบดี กำกับดูแลสำนักงานจัดการทรัพย์สิน และ "ผศ.ดร.พงศ์ศักดิ์ วัฒนสินธุ์" คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ที่เป็นผู้รับผิดชอบโปรเจ็กต์โครงการที่จะพัฒนาที่ดินประมาณ 21 ไร่ ที่จะเกิดขึ้นหลังจากอุเทนถวายได้ย้ายออกไปแล้ว

จุฬาฯกำลังคิดอะไร ? จะทำอะไร ? และทำไมต้องเป็นแปลงที่ดินอุเทนถวาย ? ทั้งหมดนี้คือสิ่งที่สังคมกำลังติดตาม

เปิดพอร์ตที่ดินจุฬาฯ 1,153 ไร่

กล่าว ถึงจุฬาฯ ถือเป็นแลนด์ลอร์ดที่ได้รับพระราชทานที่ดินจากองค์รัชกาลที่ 5 และ 6 ปัจจุบันถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดินในเขตปทุมวันรวม 1,153 ไร่ ในจำนวนนี้แบ่งการใช้งานเป็น 3 ส่วน ได้แก่ 1) เขตพื้นที่การศึกษา (จุฬาฯ และสาธิตจุฬาฯ) สัดส่วน 52% โดยมีการขยายตัวตามการเติบโตของมหาวิทยาลัย อย่างพื้นที่ของศศินทร์และคณะเภสัชศาสตร์ เดิมเมื่อปี 2512 ก็เคยเป็นพื้นที่บ้านเช่ามาก่อน

2) เขตพื้นที่พาณิชย์ (ปล่อยเช่าเอกชน) ประมาณ 30% ของพื้นที่ทั้งหมด เช่น สยามสแควร์ มาบุญครอง ตึกแถวสวนหลวง-สามย่าน บริเวณถนนบรรทัดทอง บริเวณสวนหลวง-สามย่าน ฯลฯ

และ 3) เขตพื้นที่ราชการ (ให้ราชการเช่าราคาพิเศษและยืมใช้)

อีก ประมาณ 18% อาทิ ม.อุเทนถวาย, โรงเรียนปทุมวัน, สน.ปทุมวัน, ศูนย์สาธารณสุข กทม., สนามกีฬาแห่งชาติ (สนามศุภฯ), โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา, โรงเรียนสาธิตปทุมวัน ฯลฯ

กรณีแปลงที่ดิน ม.อุเทนถวาย ถูกจัดอยู่ใน "เขตพื้นที่ราชการ" มีเนื้อที่ประมาณ 21 ไร่ ตั้งอยู่ติดถนนพญาไท ระหว่างซอยจุฬาฯ 62 กับอาคารภาควิชาออกแบบอุตสาหกรรม คณะสถาปัตย์ จุฬาฯ

"การ จัดที่ดินเพื่อประโยชน์ของส่วนราชการและบริการสาธารณะ เราให้เช่าในอัตราพิเศษ เฉลี่ยจัดเก็บต่ำกว่าราคาตลาดประมาณ 30% คิดเป็นเม็ดเงินต่อปี 800-900 ล้านบาท" คำอธิบายจาก รศ.นอ.น.พ.เพิ่มยศ โกศลพันธุ์

ย้อนรอยสัญญาเช่ามาราธอน 78 ปี

ย้อนรอย ประวัติศาสตร์การเช่าที่ดินระหว่าง "จุฬาฯ-อุเทนถวาย" มีมายาวนาน โดยม.อุเทนถวายเช่าที่ดินแปลงนี้จากจุฬาฯ ตั้งแต่ปี 2478 หรือ 78 ปีก่อน สัญญาเช่าสิ้นสุดตั้งแต่ปี 2546 ระหว่างทางนับแต่ปี 2518 จุฬาฯเจรจาขอคืนพื้นที่มาเป็นระยะ ๆ

กระทั่งปี 2547 จุฬาฯและอุเทนถวายได้ทำบันทึกข้อตกลงร่วมกันเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2547 ว่าทาง ม.อุเทนถวายจะย้ายออกพร้อมส่งมอบพื้นที่เช่าคืนให้กับจุฬาฯภายใน 30 กันยายน 2548 แต่กรณีมีความจำเป็นไม่สามารถย้ายออกได้ตามกำหนด ให้ผ่อนผันได้แต่ไม่เกิน 1 ปี ระหว่างขนย้ายจะต้องจ่ายค่าใช้

ผลประโยชน์ให้จุฬาฯ ปีละ 1.1409 ล้านบาท

ปรากฏ ว่าบทสรุปที่จุฬาฯยืนยันคือ...อุเทนถวายไม่ได้ย้ายออก ไม่ได้คืนพื้นที่ตามบันทึกข้อตกลง ขณะเดียวกันได้ยื่นทูลเกล้าฯ ถวายฎีการวม 2 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2547 และ 9 กรกฎาคม 2552

ต่อ มาเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2554 สำนักราชเลขาธิการได้มีหนังสือแจ้งให้ ม.อุเทนถวายขนย้ายทรัพย์สินและคืนพื้นที่+ค่าเสียหายให้จุฬาฯ พร้อมทั้งเสนอข้อสังเกตต่อคณะรัฐมนตรีว่า ควรมอบหมายส่วนราชการที่เกี่ยวข้องขอใช้ที่ราชพัสดุและงบประมาณ

แต่เรื่องทั้งหมดก็ยังคาราคาซังมาจนถึงทุกวันนี้ พัฒนากลายมาเป็นความเห็นที่ไม่ตรงกันระหว่างคนที่ต้อง "อยู่ต่อ" กับ "ขอคืน"อย่างอุเทนถวายกับจุฬาฯ

ขอคืนพื้นที่สร้างศูนย์นวัตกรรมฯ 2 พันล้าน

ประเด็นที่ถูกตั้งคำถามคือ...จุฬาฯจะขอคืนพื้นที่จากอุเทนถวายเพื่อทำอะไร ?

คำ ชี้แจงจาก "อธิการบดีจุฬาฯ" ระบุว่า การพัฒนาพื้นที่เป็นไปตาม "ผังแม่บท" ที่จัดทำมานานแล้วในการเปลี่ยนที่ดินเช่าของ ม.อุเทนถวายจากเขตพื้นที่ราชการ เป็นเขตพื้นที่การศึกษา

เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์เรียกว่า "โครงการศูนย์นวัตกรรมงานสร้างสรรค์เพื่อชุมชนอย่างยั่งยืน"

ภาย ในโครงการจะประกอบด้วย 5 หน่วยงาน 1 พิพิธภัณฑ์ และ 1 คณะเทคโนโลยีอาหาร ในอนาคตเมื่อแล้วเสร็จจะเปิดกว้างให้คนทั่วไปเข้ามาใช้งานได้ โดยเฉพาะธุรกิจเอสเอ็มอีที่ต้องการพัฒนานวัตกรรม ตั้งเป้าไม่ต่ำกว่าปีละ 50 ราย

และสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ไม่ต่ำกว่าปีละ 75 รายการ

เบ็ดเสร็จโครงการนี้ใช้งบฯคร่าว ๆ 2,000 ล้านบาท ใช้เวลาก่อสร้าง 2 ปี แต่ทว่าโครงการนี้จะเริ่มต้นนับหนึ่งได้ ต้องเริ่มจากได้รับคืนพื้นที่จาก ม.อุเทนถวายเสียก่อน

ใจกว้าง พร้อมเปิดโต๊ะเจรจา

จุดยืนของจุฬาฯ ชัดเจนตรงไปตรงมาว่าจะเดินหน้าพัฒนาศูนย์นวัตกรรมฯ ไปตามผังแม่บท แต่ก็ไม่ได้ปิดช่องในการตั้งโต๊ะเจรจาแต่อย่างใด

"ผม เห็นใจและเข้าใจว่าตราบใดที่อุเทนถวายยังไม่ได้รับอนุมัติงบฯสนับสนุนจาก รัฐบาลและที่ดินก่อสร้างมหาวิทยาลัยแห่งใหม่ ก็คงไม่พร้อมจะย้ายไปไหน ส่วนจะพบกันครึ่งทางได้หรือไม่ต้องมาพูดคุยกันก่อน" อธิการบดีจุฬาฯระบุ

ที่ผ่านมา "กยพ-คณะกรรมการเพื่อพิจารณาชี้ขาดการยุติในการดำเนินคดีแพ่งของส่วนราชการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง" เคยให้กระทรวงศึกษาธิการจัดหางบประมาณ รวมถึงประสานกรมธนารักษ์เสนอที่ดินในย่านบางปิ้ง จ.สมุทรปราการ เพื่อพัฒนา ม.อุเทนถวายแห่งใหม่ รวมทั้งในปี 2545 รัฐเคยเสนองบฯสนับสนุนให้ 200 ล้านบาท แต่ตัวเลข ณ ปัจจุบันคงไม่อัพเดตแล้ว

ส่วนเรื่องการประเมิน ค่าเสียโอกาสจากการเข้าใช้ที่ดิน "...ต้องบอกว่าจุฬาฯไม่เคยประเมินเรื่องนี้ เพราะสถาบันการศึกษาด้วยกันก็มองว่าเหมือนเป็นพี่น้องกัน" คำกล่าวของอธิการบดีจุฬาฯ

ขอคืนพื้นที่-ปรับค่าเช่า

ปมเก่าคลาย...ปมใหม่เกิด

เป็น เหมือนวังวนของทรัพย์สินจุฬาฯ ในฐานะแลนด์ลอร์ดที่ดินรายใหญ่ใจกลางเมือง ที่ต้องทยอยเคลียร์เรื่องการขอคืนพื้นที่-ปรับค่าเช่ากับคู่สัญญาเช่าที่ดิน อยู่เนือง ๆ

"ประชาชาติธุรกิจ" สำรวจเฉพาะช่วงเวลานับจากเดือนมกราคม 2555 จุฬาฯต้องเคลียร์ปัญหาถึง 2 แปลงติด ๆ กัน โดยผู้เช่าเป็นหน่วยงานภาครัฐทั้งคู่

แปลงแรก "กรมพลศึกษา" เช่าที่ดินสนามศุภชลาศัย 87 ไร่ หมดสัญญาเมื่อ 30 กันยายน 2555 จุฬาฯขอคืนพื้นที่บางส่วน 11 ไร่ เพื่อนำพื้นที่มาพัฒนาการกีฬาของมหาวิทยาลัย กับขอขึ้นค่าเช่าจากปีละ 3 ล้านบาทเป็น 153.02 ล้านบาท คำนวณจากอัตรา 2% ของราคาประเมินที่ดิน (ตร.ว.ละ 2.5 แสนบาท)

ล่าสุด ที่ดินผืนนี้เพิ่งได้ข้อยุติที่จุฬาฯต่อสัญญาเช่าให้โดยยอมเก็บค่าเช่ารายปี ระหว่างปี"55-56 จำนวน 4 ล้านบาท ส่วนปีถัดไปจะพิจารณาจากงบประมาณที่กรมพลศึกษาจะได้รับ

แปลงสอง เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2556 ที่ดินเช่า "โรงเรียนปทุมวัน" ในสังกัด กทม.บริเวณจุฬาฯซอย 5 ตามแผนแม่บทจุฬาฯ จะนำพื้นที่ตรงนี้มาก่อสร้างโครงการ "อุทยาน 100 ปี" (จุฬาฯ อเวนิว) และศูนย์ราชการ กทม. รวมถึงจะขยายถนนจุฬาฯซอย 5 เป็น 30 เมตร และปลูกต้นไม้ร่มรื่นให้เป็นถนนตัวอย่าง

แต่ได้รับการต่อต้านโดยมี กลุ่มผู้ปกครองและนักเรียนประมาณ 100 คนมาชุมนุม คำชี้แจงของจุฬาฯ ระบุว่า อยู่ระหว่างหารือร่วมกับกทม.เพื่อจัดหาโรงเรียนอื่น ๆ ในสังกัด กทม. 7 แห่งไว้รองรับ

ส่วนที่ดินแปลงอื่น ๆ ที่มีราชการเป็นคู่สัญญา "อธิการบดีจุฬาฯ" ระบุว่า นับจากนี้ยังไม่มีแปลงไหนที่จะหมดสัญญา รวมถึงแปลงโรงเรียนเตรียมอุดมฯ กับสาธิตปทุมวัน ในผังแม่บทยังไม่มีแผนจะนำมาพัฒนาหรือปรับปรุงใหม่แต่อย่างใด

ขณะ ที่ฟากที่ดินสัญญาเช่ากับเอกชน สิ้นปี"56 จะมีโรงหนัง ลิโดและสกาล่าที่จะหมดสัญญาเช่า จุฬาฯมีแผนจะนำมาพัฒนาเป็นพื้นที่เชิงพาณิชย์ติดแนวรถไฟฟ้า ท่ามกลางกระแสไม่เห็นด้วยจากกลุ่มแฟนพันธุ์แท้ที่ต้องการให้คงบรรยากาศสไตล์ ดั้งเดิมของโรงหนัง 2 แห่งนี้ไว้
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 14-03-2556 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.